โปรแกรมระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย 1/2
โปรแกรมระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย 2/2
โปรแกรมระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย (LCCT LMS : Learning Management System)
ปรากฏการณ์ ณ โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี
โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๑๗๓ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สังกัดกรมอาชีวศึกษา มี นางสาววรพี มโนวงศ์ เป็นผู้อำนวยการคณะบริหารธุรกิจ พัฒนานวัตกรรมโปรแกรมระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายจนประสบความสำเร็จ สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนานวัตกรรมของโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อค้นพบ : ต้นคิดของแนวทางการพัฒนา
เมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๐ โรงเรียนได้นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโรงเรียนไปสู่นโยบายที่กำหนดให้เป็นโรงเรียน E-School ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอนนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้นการเรียนการสอน เป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ทันกับเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ในครั้งนั้นคณะครู อาจารย์ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้ สามารถพัฒนาเว็บเพจของตนเองได้ และพัฒนารายวิชาที่ทำการสอนผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ แต่การพัฒนาก็ยังอยู่ในระดับเริ่มต้นที่ยังจะต้องมีการพัฒนาต่อไปเพื่อให้เป็นโรงเรียน E-School ที่สมบูรณ์
การพัฒนานวัตกรรม
การเป็นโรงเรียน E-School ที่สมบูรณ์ มิใช่เพียงแค่ครูอาจารย์ทำเว็บเพจของรายวิชาและให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น หากแต่จะต้องให้มีการลงทะเบียนเพื่อเข้าเรียน ซึ่งจะทำให้ครู อาจารย์ สามารถติดตามผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน ติดตามการส่งงาน ส่งแบบฝึกหัด รวมไปถึงการวัดผลประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้การพัฒนา E-School เป็นไปด้วยความสมบูรณ์ทางโรงเรียนจึงได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาพัฒนาระบบ E-Learning เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยมาตรฐานในระดับสากล
หน่วยงาน E-Learning จึงพัฒนานวัตกรรมโปรแกรมระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่มีชื่อเรียกว่า LCCT LMS (Learning Management System) เพื่อการให้กับอาจารย์ผู้สอนภายในโรงเรียน และสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบัน เพราะการบริหารงานต่าง ๆ ผ่านระบบจะกระทำบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งหมด โดยการทำงานของระบบจะเป็นการพัฒนามาจากระบบการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และควบคู่กับการทำวิจัยจึงทำให้เราสามารถพูดได้ว่า “การเรียนรู้ผ่านระบบ LCCT LMS สามารถสร้างสภาพแวดล้อมเปรียบเสมือนกับการเรียนในห้องเรียนปกติ”
นวัตกรรม LCCT LMS ที่จัดทำขึ้นเป็นระบบที่สมบูรณ์ประกอบไปด้วยเครื่องมือเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนี้
• ส่วนของผู้ดูแลระบบ
- กำหนดรายวิชาที่จะเปิดทำการสอนผ่านระบบ
- กำหนดรายวิชาที่จะเปิดทำการสอนในแต่ละภาคเรียน
- กำหนดอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชา
- ดูแลระบบการเรียนการสอนผ่านระบบทั้งหมด
• ส่วนของอาจารย์ผู้สอน
- กำหนดวันเริ่มต้น – สิ้นสุดในการเรียนการสอนผ่านระบบ
- กำหนดวันเริ่มทะเบียน
- กำหนดห้องเรียน (นักเรียน) หรือนักเรียนที่ต้องการเรียนซ้ำ (Re-Grade) ที่สามารถเข้าลงทะเบียนเรียน
- พัฒนาเว็บเพจโดยสามารถพัฒนาได้ โดยใช้ LCCT Editor ซึ่งจะรวมอยู่ใน LCCT LMS หรือจะสร้างจากโปรแกรมที่สร้างเว็บเพจอื่น ๆ แล้วอัพโหลดผ่านระบบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยอาจารย์ผู้สอน
- สร้างแบบทดสอบซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ปรนัย อัตนัย ถูก-ผิด โดยจะเก็บในฐานะข้อมูลของรายวิชา
- กำหนดเวลาสอบตามที่ต้องการซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ สอบก่อนเรียน สอบเก็บคะแนน สอบแก้ตัว โดยสามารถกำหนดเวลาในการทำข้อสอบได้
- การสอบจะเป็นลักษณะสุ่ม และมีระดับความยากง่ายของข้อสอบ ข้อสอบปรนัย และถูก-ผิด โปรแกรมระบบจะทำการตรวจคำตอบหลังจากส่งคำตอบแล้ว
- คะแนนการสอบจะเก็บในฐานะ ข้อมูลของแต่ละรายวิชา ซึ่งสามารถเรียกดูได้ตามที่ต้องการ
- กำหนดแบบฝึกหัดให้นักเรียนทำผ่านระบบได้
- สามารถตรวจสอบไขล็อกอิน และรหัสผ่านของนักเรียนได้
- สามารถติดตามสถิติการเข้าเรียนของนักเรียนทำให้สามารถควบคุมการเรียนของนักเรียนได้
- สามารถกำหนดช่วงคะแนนการวัดผลได้ตามต้องการ
- หลังจากสิ้นสุดการเรียนโปรแกรมระบบจะทำการตัดเกรดโดยอัตโนมัติ
- มีปฏิทินนัดหมายกับนักเรียน ซึ่งสามารถแจ้งข่าวสาร-นัดหมายกับนักเรียนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ
- สามารถกำหนดภาษาของเมนูสำหรับใช้ในการเรียนการสอน (ไทย-อังกฤษ) ได้
- สามารถกำหนดให้มีการสำรวจความคิดเห็นต่อการเรียนผ่านระบบได้ตลอดเวลา ซึ่งแบบสำรวจเป็นแบบสำรวจกลางที่ออกโดยสำนักงานมาตรฐานของโรงเรียน ซึ่งทำให้สามารถประเมินความสำเร็จ ความสนใจ และประสิทธิภาพต่าง ๆ ได้
• ส่วนของนักเรียน
- สามารถลงทะเบียนในรายวิชาที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดให้มีสิทธิในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งสามารถกำหนดล็อกอิน และรหัสผ่านได้เองตามที่ต้องการ
- สามารถล็อกอินเข้าไปเรียน ทบทวนเนื้อหาที่เรียนทำแบบทดสอบทุกเวลา โดยไม่จำกัดแค่ในสถานศึกษา
- สามารถติดตามสถิติและคะแนนต่าง ๆ ซึ่งมีสมุดบันทึกสาระการเรียนรู้เป็นต้นแบบ
- สามารถเปลี่ยนแปลงล็อกอิน รหัสผ่านได้ทุกเวลา
- สามารถกำหนดเลือกภาษาเมนูได้ตามต้องการ (ไทย/อังกฤษ)
- สามารถติดต่อนัดหมายกับผู้เรียนด้วยกัน อาจารย์ผู้สอนตลอดเวลา ซึ่งทำให้การเรียนรู้ดำเนินไปโดยไม่จำกัดเรื่องเวลาและสถานที่
• ส่วนทั่วไป
- มีกระดานข่าวสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้
- มีแชทสำหรับสนทนาพูดคุยกันตามต้องการ
- มีลิงค์แว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถเพิ่มเว็บสำหรับแนะนำผู้อื่นได้
- มีรายงานต่าง ๆ เช่น สถิติการเข้าเรียนของนักเรียน ผลสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน ฯ
บทสรุปของความสำเร็จ
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานวัตกรรมโปรแกรมระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย ก็คือ ผู้เรียนมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนาตนเองในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่เต็มศักยภาพ ครู อาจารย์เองก็ได้พัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน
ปรากฏการณ์ ณ โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี
โรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๑๗๓ ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สังกัดกรมอาชีวศึกษา มี นางสาววรพี มโนวงศ์ เป็นผู้อำนวยการคณะบริหารธุรกิจ พัฒนานวัตกรรมโปรแกรมระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายจนประสบความสำเร็จ สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนานวัตกรรมของโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อค้นพบ : ต้นคิดของแนวทางการพัฒนา
เมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๐ โรงเรียนได้นำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโรงเรียนไปสู่นโยบายที่กำหนดให้เป็นโรงเรียน E-School ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอนนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้นการเรียนการสอน เป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ทันกับเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ในครั้งนั้นคณะครู อาจารย์ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้ สามารถพัฒนาเว็บเพจของตนเองได้ และพัฒนารายวิชาที่ทำการสอนผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ แต่การพัฒนาก็ยังอยู่ในระดับเริ่มต้นที่ยังจะต้องมีการพัฒนาต่อไปเพื่อให้เป็นโรงเรียน E-School ที่สมบูรณ์
การพัฒนานวัตกรรม
การเป็นโรงเรียน E-School ที่สมบูรณ์ มิใช่เพียงแค่ครูอาจารย์ทำเว็บเพจของรายวิชาและให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น หากแต่จะต้องให้มีการลงทะเบียนเพื่อเข้าเรียน ซึ่งจะทำให้ครู อาจารย์ สามารถติดตามผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน ติดตามการส่งงาน ส่งแบบฝึกหัด รวมไปถึงการวัดผลประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้การพัฒนา E-School เป็นไปด้วยความสมบูรณ์ทางโรงเรียนจึงได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาพัฒนาระบบ E-Learning เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยมาตรฐานในระดับสากล
หน่วยงาน E-Learning จึงพัฒนานวัตกรรมโปรแกรมระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่มีชื่อเรียกว่า LCCT LMS (Learning Management System) เพื่อการให้กับอาจารย์ผู้สอนภายในโรงเรียน และสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบัน เพราะการบริหารงานต่าง ๆ ผ่านระบบจะกระทำบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งหมด โดยการทำงานของระบบจะเป็นการพัฒนามาจากระบบการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และควบคู่กับการทำวิจัยจึงทำให้เราสามารถพูดได้ว่า “การเรียนรู้ผ่านระบบ LCCT LMS สามารถสร้างสภาพแวดล้อมเปรียบเสมือนกับการเรียนในห้องเรียนปกติ”
นวัตกรรม LCCT LMS ที่จัดทำขึ้นเป็นระบบที่สมบูรณ์ประกอบไปด้วยเครื่องมือเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนี้
• ส่วนของผู้ดูแลระบบ
- กำหนดรายวิชาที่จะเปิดทำการสอนผ่านระบบ
- กำหนดรายวิชาที่จะเปิดทำการสอนในแต่ละภาคเรียน
- กำหนดอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชา
- ดูแลระบบการเรียนการสอนผ่านระบบทั้งหมด
• ส่วนของอาจารย์ผู้สอน
- กำหนดวันเริ่มต้น – สิ้นสุดในการเรียนการสอนผ่านระบบ
- กำหนดวันเริ่มทะเบียน
- กำหนดห้องเรียน (นักเรียน) หรือนักเรียนที่ต้องการเรียนซ้ำ (Re-Grade) ที่สามารถเข้าลงทะเบียนเรียน
- พัฒนาเว็บเพจโดยสามารถพัฒนาได้ โดยใช้ LCCT Editor ซึ่งจะรวมอยู่ใน LCCT LMS หรือจะสร้างจากโปรแกรมที่สร้างเว็บเพจอื่น ๆ แล้วอัพโหลดผ่านระบบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยอาจารย์ผู้สอน
- สร้างแบบทดสอบซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ปรนัย อัตนัย ถูก-ผิด โดยจะเก็บในฐานะข้อมูลของรายวิชา
- กำหนดเวลาสอบตามที่ต้องการซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ สอบก่อนเรียน สอบเก็บคะแนน สอบแก้ตัว โดยสามารถกำหนดเวลาในการทำข้อสอบได้
- การสอบจะเป็นลักษณะสุ่ม และมีระดับความยากง่ายของข้อสอบ ข้อสอบปรนัย และถูก-ผิด โปรแกรมระบบจะทำการตรวจคำตอบหลังจากส่งคำตอบแล้ว
- คะแนนการสอบจะเก็บในฐานะ ข้อมูลของแต่ละรายวิชา ซึ่งสามารถเรียกดูได้ตามที่ต้องการ
- กำหนดแบบฝึกหัดให้นักเรียนทำผ่านระบบได้
- สามารถตรวจสอบไขล็อกอิน และรหัสผ่านของนักเรียนได้
- สามารถติดตามสถิติการเข้าเรียนของนักเรียนทำให้สามารถควบคุมการเรียนของนักเรียนได้
- สามารถกำหนดช่วงคะแนนการวัดผลได้ตามต้องการ
- หลังจากสิ้นสุดการเรียนโปรแกรมระบบจะทำการตัดเกรดโดยอัตโนมัติ
- มีปฏิทินนัดหมายกับนักเรียน ซึ่งสามารถแจ้งข่าวสาร-นัดหมายกับนักเรียนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ
- สามารถกำหนดภาษาของเมนูสำหรับใช้ในการเรียนการสอน (ไทย-อังกฤษ) ได้
- สามารถกำหนดให้มีการสำรวจความคิดเห็นต่อการเรียนผ่านระบบได้ตลอดเวลา ซึ่งแบบสำรวจเป็นแบบสำรวจกลางที่ออกโดยสำนักงานมาตรฐานของโรงเรียน ซึ่งทำให้สามารถประเมินความสำเร็จ ความสนใจ และประสิทธิภาพต่าง ๆ ได้
• ส่วนของนักเรียน
- สามารถลงทะเบียนในรายวิชาที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดให้มีสิทธิในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งสามารถกำหนดล็อกอิน และรหัสผ่านได้เองตามที่ต้องการ
- สามารถล็อกอินเข้าไปเรียน ทบทวนเนื้อหาที่เรียนทำแบบทดสอบทุกเวลา โดยไม่จำกัดแค่ในสถานศึกษา
- สามารถติดตามสถิติและคะแนนต่าง ๆ ซึ่งมีสมุดบันทึกสาระการเรียนรู้เป็นต้นแบบ
- สามารถเปลี่ยนแปลงล็อกอิน รหัสผ่านได้ทุกเวลา
- สามารถกำหนดเลือกภาษาเมนูได้ตามต้องการ (ไทย/อังกฤษ)
- สามารถติดต่อนัดหมายกับผู้เรียนด้วยกัน อาจารย์ผู้สอนตลอดเวลา ซึ่งทำให้การเรียนรู้ดำเนินไปโดยไม่จำกัดเรื่องเวลาและสถานที่
• ส่วนทั่วไป
- มีกระดานข่าวสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้
- มีแชทสำหรับสนทนาพูดคุยกันตามต้องการ
- มีลิงค์แว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถเพิ่มเว็บสำหรับแนะนำผู้อื่นได้
- มีรายงานต่าง ๆ เช่น สถิติการเข้าเรียนของนักเรียน ผลสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน ฯ
บทสรุปของความสำเร็จ
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนานวัตกรรมโปรแกรมระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย ก็คือ ผู้เรียนมีรูปแบบการเรียนรู้ที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนาตนเองในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่เต็มศักยภาพ ครู อาจารย์เองก็ได้พัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน