การจัดกระบวนการเรียนรู้ “เขตการปกครองพิเศษ” 1/2
การจัดกระบวนการเรียนรู้ “เขตการปกครองพิเศษ” 2/2
การจัดกระบวนการเรียนรู้ “เขตการปกครองพิเศษ” (Special Administration District)
ปรากฏการณ์ ณ โรงเรียนราษฏร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
โรงเรียนราษฏร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ) ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๑ หมู่ ๑ ถนนประชาอุทิศ แขวงทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานศึกษากรุงเทพมหานคร จัดการเรียนรู้ในช่วงชั้นที่ ๑-๒ เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่มีการสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนเข้าสู่สังคมประชาธิปไตยให้ เป็นวิถีชีวิตด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ “เขตการปกครองพิเศษ” จนประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถี ชีวิตจริง ปฏิบัติได้ โดยมีผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลางของการจัดกิจกรรม
ข้อค้นพบ : ต้นคิดของแนวทางการพัฒนา
เนื่องจากโรงเรียนราษฏร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ) ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามพระราชบัญญัติการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๒๔ กำหนดให้กรุงเทพมหานครอยู่ในส่วนการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอำนาจในการบริหารการตัดสินใจในการดำเนินการต่าง ๆ โดยมีประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า โดยมีสมาชิกสภาเขต สมาชิกกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่บริหารกรุงเทพมหานครและตรวจสอบการทำ งานให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
ในอดีตแม้โรงเรียนจะส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริม การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีการเลือกตั้งประธานนักเรียน รองประธานนักเรียนก็ตามที แต่ในทางปฏิบัติบทบาทของผู้แทนนักเรียนยังขาดความชัดเจน ผู้แทนนักเรียน ผู้เรียนยังไม่มีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากนัก การเรียนรู้วิถีชีวิตประชาธิปไตยเกิดขึ้นในเฉพาะห้องเรียน ผู้เรียนมิได้นำไปสู่การปฏิบัติจริง ผู้แทนนักเรียนและผู้เรียนมีบทบาทในเรื่องต่าง ๆ น้อย บทบาทส่วนใหญ่อยู่ที่ครูเป็นสำคัญ
การพัฒนานวัตกรรม
ผู้บริหารของโรงเรียนและคณะครูได้ระดมพลังความคิดถึงแนวทางในการส่งเสริม ประชาธิปไตยในสถานศึกษาที่มีความเข้มแข็งเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญขอการพัฒนา สังคมไทยในอนาคต จึงได้คิดค้นนวัตกรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ “เขตการปกครองพิเศษ” เพื่อฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตยแบบเข้มขันให้สามารถเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี และสามารถนำไปใช้ในวิถีชีวิตประจำวันได้อย่างถาวร
การจัดทำนวัตกรรมดังกล่าวนี้ มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ได้แก่
- จัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิถีประชาธิปไตยในระดับ ประถมศึกษาทุกชั้นเรียน
- จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
- จัดกิจกรรมเลือกตั้งระบบใหม่ เลียนแบบการเลือกตั้งท้องถิ่น
- จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในกระบวนการเลือก ตั้ง
- จัดให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบดูแลโรงเรียนทุกด้าน
- จัดให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบดูแลโรงเรียนทุกด้าน
สำหรับ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมเขตการปกครองพิเศษ ทางโรงเรียนดำเนินการกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อเป็นแบบอย่างในทุกขั้นตอน ดังนี้
- โรงเรียนดำเนินกิจกรรมจัดกระบวนการ เรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
- ดำเนินการเลือกตั้งผู้ว่าการโรงเรียนราษฏร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ) ที่เลียนแบบการปกครองของกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่ามาจากการเลือกตั้ง มีขั้นตอนดังนี้
1. ประกาศรับสมัครผู้ ว่าการโรงเรียน ตามแบบ ผก.๑
2. ประกาศรับรองผู้ สมัครผ่าการโรงเรียนตามแบบ ผก.๒
3. ประกาศรายชื่อผู้ สมัครตามแบบ ผก.๓
4. แต่งตั้งกรรมการผู้ดำเนินการเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่คะแนน โดยใช้นักเรียนเป็นกรรมการตามแบบ ผก.๔
5. จัดทำบัตรเลือก ตั้งตามแบบ ผก.๕
6. จัดทำแบบกรอกคะแนน เป็นหน่วยเลือกตั้ง ตั้งแต่หน่วยที่ ๑ - หน่วยที่ ๕ ตามแบบ ผก.๖ และได้จัดกิจกรรมการเลือกตั้งผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษโรงเรียนราษฏร์บูรณะ โดยให้นักเรียนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลงมาใช้สิทธิ์ทีละห้องเรียน ในวัที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๗
หน่วย เลือกตั้งที่ ๑ นักเรียนที่มาใช้สิทธิ์คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ๒
หน่วย เลือกตั้งที่ ๒ นักเรียนที่มาใช้สิทธิ์คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ๓
หน่วย เลือกตั้งที่ ๓ นักเรียนที่มาใช้สิทธิ์คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ๔
หน่วย เลือกตั้งที่ ๔ นักเรียนที่มาใช้สิทธิ์คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ๕
หน่วย เลือกตั้งที่ ๕ นักเรียนที่มาใช้สิทธิ์คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ๖
7. จัดทำรายงานผลการ นับคะแนนตามแบบ ผก.๗
8. จัดทำแบบรายงานผล การเลือกตั้งตามแบบ ผก.๘
9. จัดทำแบบสรุปผลการ มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามแบบ ผก.๙
10. ทางโรงเรียนประกาศ แต่งตั้งผู้ว่าการโรงเรียนราษฏร์บูรณะ ฯ โดยมีผู้อำนวยการเป็นผู้รับรองตามแบบ ผก.๑๐
11. ผู้ว่าการโรงเรียน แต่งตั้งรองผู้ว่าการโรงเรียน ๔ ฝ่ายดังนี้
- ฝ่ายการศึกษา และวัฒนธรรม
- ฝ่ายรักษาความ สะอาดและสิ่งแวดล้อม
- ฝ่ายการปกครอง
- ฝ่ายสาธารณสุข
- รองผู้ว่าการ โรงเรียนฝ่ายต่าง ๆ แต่งตั้งคณะกรรมการและเสนอโครงการโดยมีครูเป็นที่ปรึกษา
- คณะกรรมการฝ่าย ต่าง ๆ พร้อมด้วยผู้ว่าการโรงเรียนและรองผู้ว่าดำเนินกิจกรรม ตามที่เสนอไว้
บทสรุปของความสำเร็จ
นวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ “เขตการปกครอพิเศษ” เป็นอีกหนึ่งต้นแบบความคดที่เป็นการจัดการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จริง ปฏิบัติจริง นำไปใช้ในวิถีชีวิตจรงิ ส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองเข้าสู่วิถีแบบประชาธิปไตย พฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดก็คือผู้เรียนมีลักษณะของความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี โดยเฉพาะการเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียนด้านต่าง ๆ ในการจัดทำกิจกรรม อาทิ
- กิจกรรมหน้าเสาธง
- กิจกรรมเสียงตามสาย
- กิจกรรมพัฒนา บำเพ็ญประโยชน์
- กิจกรรมดูแลห้องพยาบาล
- กิจกรรมพี่ช่วยน้อง
กิจกรรม ความสำเร็จของโรงเรียนได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางเป็นโรงเรียนเดียว ของกรุงเทพมหานครที่ได้รับคัดเลือกจากกลุ่มส่งเสริมเครือข่ายการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้เป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมของเด็กในการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ได้รับการคัดเลือก ให้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายการเรียนรู้ ผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ระหว่างวันที่ ๖-๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ ที่โรงแรมพาวีเลี่ยน ริมแควรีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
1. เด็กหญิงวรรณา จันทอง ผู้ว่าการโรงเรียน
2. เด็กหญิงรังสินี หล่อพิศาลชัย รองผู้วาการฝ่ายปกครอง
3. เด็กหญิงนาตาชา อามาตย์มนตรี รองผู้ว่าการฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรม
4. เด็กหญิงเพ็ญนภา ธีรัตถานนทร์ รองผู้ว่าการฝ่ายรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
บทสรุปความสำเร็จดังกล่าวเป็นอีกต้นแบบหนึ่งของการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อ พัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
ปรากฏการณ์ ณ โรงเรียนราษฏร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
โรงเรียนราษฏร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ) ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๑ หมู่ ๑ ถนนประชาอุทิศ แขวงทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานศึกษากรุงเทพมหานคร จัดการเรียนรู้ในช่วงชั้นที่ ๑-๒ เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่มีการสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนเข้าสู่สังคมประชาธิปไตยให้ เป็นวิถีชีวิตด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ “เขตการปกครองพิเศษ” จนประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถี ชีวิตจริง ปฏิบัติได้ โดยมีผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลางของการจัดกิจกรรม
ข้อค้นพบ : ต้นคิดของแนวทางการพัฒนา
เนื่องจากโรงเรียนราษฏร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ) ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งตามพระราชบัญญัติการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๒๔ กำหนดให้กรุงเทพมหานครอยู่ในส่วนการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอำนาจในการบริหารการตัดสินใจในการดำเนินการต่าง ๆ โดยมีประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า โดยมีสมาชิกสภาเขต สมาชิกกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่บริหารกรุงเทพมหานครและตรวจสอบการทำ งานให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
ในอดีตแม้โรงเรียนจะส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริม การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีการเลือกตั้งประธานนักเรียน รองประธานนักเรียนก็ตามที แต่ในทางปฏิบัติบทบาทของผู้แทนนักเรียนยังขาดความชัดเจน ผู้แทนนักเรียน ผู้เรียนยังไม่มีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากนัก การเรียนรู้วิถีชีวิตประชาธิปไตยเกิดขึ้นในเฉพาะห้องเรียน ผู้เรียนมิได้นำไปสู่การปฏิบัติจริง ผู้แทนนักเรียนและผู้เรียนมีบทบาทในเรื่องต่าง ๆ น้อย บทบาทส่วนใหญ่อยู่ที่ครูเป็นสำคัญ
การพัฒนานวัตกรรม
ผู้บริหารของโรงเรียนและคณะครูได้ระดมพลังความคิดถึงแนวทางในการส่งเสริม ประชาธิปไตยในสถานศึกษาที่มีความเข้มแข็งเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญขอการพัฒนา สังคมไทยในอนาคต จึงได้คิดค้นนวัตกรรม การจัดกระบวนการเรียนรู้ “เขตการปกครองพิเศษ” เพื่อฝึกวิถีชีวิตประชาธิปไตยแบบเข้มขันให้สามารถเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี และสามารถนำไปใช้ในวิถีชีวิตประจำวันได้อย่างถาวร
การจัดทำนวัตกรรมดังกล่าวนี้ มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ได้แก่
- จัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิถีประชาธิปไตยในระดับ ประถมศึกษาทุกชั้นเรียน
- จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
- จัดกิจกรรมเลือกตั้งระบบใหม่ เลียนแบบการเลือกตั้งท้องถิ่น
- จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในกระบวนการเลือก ตั้ง
- จัดให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบดูแลโรงเรียนทุกด้าน
- จัดให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบดูแลโรงเรียนทุกด้าน
สำหรับ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมเขตการปกครองพิเศษ ทางโรงเรียนดำเนินการกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อเป็นแบบอย่างในทุกขั้นตอน ดังนี้
- โรงเรียนดำเนินกิจกรรมจัดกระบวนการ เรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
- ดำเนินการเลือกตั้งผู้ว่าการโรงเรียนราษฏร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ) ที่เลียนแบบการปกครองของกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่ามาจากการเลือกตั้ง มีขั้นตอนดังนี้
1. ประกาศรับสมัครผู้ ว่าการโรงเรียน ตามแบบ ผก.๑
2. ประกาศรับรองผู้ สมัครผ่าการโรงเรียนตามแบบ ผก.๒
3. ประกาศรายชื่อผู้ สมัครตามแบบ ผก.๓
4. แต่งตั้งกรรมการผู้ดำเนินการเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่คะแนน โดยใช้นักเรียนเป็นกรรมการตามแบบ ผก.๔
5. จัดทำบัตรเลือก ตั้งตามแบบ ผก.๕
6. จัดทำแบบกรอกคะแนน เป็นหน่วยเลือกตั้ง ตั้งแต่หน่วยที่ ๑ - หน่วยที่ ๕ ตามแบบ ผก.๖ และได้จัดกิจกรรมการเลือกตั้งผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษโรงเรียนราษฏร์บูรณะ โดยให้นักเรียนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งลงมาใช้สิทธิ์ทีละห้องเรียน ในวัที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๗
หน่วย เลือกตั้งที่ ๑ นักเรียนที่มาใช้สิทธิ์คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ๒
หน่วย เลือกตั้งที่ ๒ นักเรียนที่มาใช้สิทธิ์คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ๓
หน่วย เลือกตั้งที่ ๓ นักเรียนที่มาใช้สิทธิ์คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ๔
หน่วย เลือกตั้งที่ ๔ นักเรียนที่มาใช้สิทธิ์คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ๕
หน่วย เลือกตั้งที่ ๕ นักเรียนที่มาใช้สิทธิ์คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ๖
7. จัดทำรายงานผลการ นับคะแนนตามแบบ ผก.๗
8. จัดทำแบบรายงานผล การเลือกตั้งตามแบบ ผก.๘
9. จัดทำแบบสรุปผลการ มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามแบบ ผก.๙
10. ทางโรงเรียนประกาศ แต่งตั้งผู้ว่าการโรงเรียนราษฏร์บูรณะ ฯ โดยมีผู้อำนวยการเป็นผู้รับรองตามแบบ ผก.๑๐
11. ผู้ว่าการโรงเรียน แต่งตั้งรองผู้ว่าการโรงเรียน ๔ ฝ่ายดังนี้
- ฝ่ายการศึกษา และวัฒนธรรม
- ฝ่ายรักษาความ สะอาดและสิ่งแวดล้อม
- ฝ่ายการปกครอง
- ฝ่ายสาธารณสุข
- รองผู้ว่าการ โรงเรียนฝ่ายต่าง ๆ แต่งตั้งคณะกรรมการและเสนอโครงการโดยมีครูเป็นที่ปรึกษา
- คณะกรรมการฝ่าย ต่าง ๆ พร้อมด้วยผู้ว่าการโรงเรียนและรองผู้ว่าดำเนินกิจกรรม ตามที่เสนอไว้
บทสรุปของความสำเร็จ
นวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ “เขตการปกครอพิเศษ” เป็นอีกหนึ่งต้นแบบความคดที่เป็นการจัดการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จริง ปฏิบัติจริง นำไปใช้ในวิถีชีวิตจรงิ ส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองเข้าสู่วิถีแบบประชาธิปไตย พฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดก็คือผู้เรียนมีลักษณะของความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี โดยเฉพาะการเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียนด้านต่าง ๆ ในการจัดทำกิจกรรม อาทิ
- กิจกรรมหน้าเสาธง
- กิจกรรมเสียงตามสาย
- กิจกรรมพัฒนา บำเพ็ญประโยชน์
- กิจกรรมดูแลห้องพยาบาล
- กิจกรรมพี่ช่วยน้อง
กิจกรรม ความสำเร็จของโรงเรียนได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางเป็นโรงเรียนเดียว ของกรุงเทพมหานครที่ได้รับคัดเลือกจากกลุ่มส่งเสริมเครือข่ายการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้เป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมของเด็กในการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ได้รับการคัดเลือก ให้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายการเรียนรู้ ผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ ระหว่างวันที่ ๖-๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ ที่โรงแรมพาวีเลี่ยน ริมแควรีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
1. เด็กหญิงวรรณา จันทอง ผู้ว่าการโรงเรียน
2. เด็กหญิงรังสินี หล่อพิศาลชัย รองผู้วาการฝ่ายปกครอง
3. เด็กหญิงนาตาชา อามาตย์มนตรี รองผู้ว่าการฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรม
4. เด็กหญิงเพ็ญนภา ธีรัตถานนทร์ รองผู้ว่าการฝ่ายรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
บทสรุปความสำเร็จดังกล่าวเป็นอีกต้นแบบหนึ่งของการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อ พัฒนาการศึกษาของประเทศไทย