ระบบอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์ แบ่งออกได้เป็นหลายระบบ แต่ละระบบมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป ระบบอวัยวะภายในร่างกาย ได้แก่
1. ระบบหมุนเวียนของเลือด
ศึกษาเกี่ยวกับหัวใจ, ปอด
ระบบหมุนเวียนของเลือด มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายประกอบด้วย หัวใจ ปอด หลอดเลือด เลือด
หัวใจ เป็นอวัยวะที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับของสมอง มีหน้าที่สูบฉีดเลือด ให้ไหลไปตามหลอดเลือด เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ปอด เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในระบบหายใจ โดยแยกเป็นปอดซ้ายและปอดขวา มีลักษณะคล้ายฟองน้ำขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ เป็นก๊าซออกจิเจน
การไหลของเลือด ขณะที่เรามีชีวิตอยู่ หัวใจจะสูบฉีดโลหิต อยู่ตลอดเวลา โดยหัวใจจะส่งเลือดดำไปยังปอด ปอดจะส่งเลือดแดงไปยังหัวใจ หัวใจส่งเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2. ระบบย่อยอาหาร
ศึกษาเกี่ยวกับกระเพาะ,หลอดอาหาร
ระบบย่อยอาหาร มีหน้าที่ย่อยอาหารให้ละเอียด และดูดซึมสารอาหารผ่านเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญคือ
2.1 ปาก
ปาก และอวัยวะภายในช่องปาก เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปในช่องปาก ฟันจะบดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็ก
2.2 หลอดอาหาร
2.3 กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหาร เมื่ออาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารผนังกระเพาะจะขับน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยอาหารพร้อมกับบีบรัดตัวให้อาหารผสมคลุกเคล้าผสมกับน้ำย่อย แล้วส่งต่อไปให้ลำไส้เล็ก
2.4 ลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะอยู่ต่อจากกระเพาะอาหารมีความยาว 6-8 เมตรผนังลำไส้ยืดหดได้ บีบรัดอาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำย่อย ทำให้อาหารถูกย่อยจนมีขนาดเล็กมากและสามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือด เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2.5 ลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่ อาหารที่ผ่นเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนมากจะอยู่ในรูปของกากอาหาร ในลำไส้ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหารอีก แต่จะมีการดูดซึมน้ำจากกากอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อร่างกาย ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ขับกากอาหารออกจากร่างกายผ่านทางทวารหนัก
การป้องกันและบำรุงรักษาอวัยวะในระบบย่อยอาหาร
1. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
2. รับประทานอาหารที่สะอาด สุกใหม่ ๆ มีประโยชน์และรสไม่จัด
3. เคี้ยวอาหารให้ละเอยด
4. ไม่ขบเคี้ยวหรือกัดอาหารที่แข็งเกินไป
5. หลังรับประทานอาหารควรทำความสะอาดปากและฟัน
6. ไม่ออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ ถ่ายอุจาระให้เป็นเวลา
7. ทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบาน ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป
8. ถ่ายอุจาระให้เป็นเวลา
3. ระบบขับถ่าย
ศึกษาเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่ ไต ทวารหนัก
ระบบขับถ่าย เป็นระบบที่ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสี่ยออกนอกร่างกาย คนเราจะขับถ่ายของเสียออกมานอกร่างกายใน 3 รูปแบบ ดังนี้
1. การขับถ่ายของเสียในรูปของแข็ง
2. การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว
3. การขับถ่ายของเสียในรูปก๊าซ
การขับถ่ายของเสียในรูปของแข็ง ระบบขับถ่ายอุจจาระ ทำหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยออจากร่างกาย ในรูปอุจจาระ อวัยวะสำคัญในระบบคือ
1. ลำไส้ใหญ่
2. ทวารหนัก
การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว ร่างกายของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียในรูปเหลวได้ 2 ทาง คือ
1. เหงื่อ
2. ปัสสาวะ
ระบบขับถ่ายเหงื่อ ระบบขับถ่ายเหงื่อ ทำหน้าที่สกัดน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายไม่ต้องการ ออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อ มีอวัยวะที่สำคัญคือ
1. ผิวหนัง
2. ต่อมเหงื่อ
ระบบขับถ่ายของเสียในรูปก๊าซ การหายใจของคนเรา เป็นการเผาผลาญอาหารเพื่อให้เกิดพลังงานซึ่งผลที่ได้รับจากการเผาผลาญคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ซึ่งร่างกายไม่ต้องการ ร่างกายจึงขับก๊าซนี้ออกมาทางลมหายใจ อวัยวะที่สำคัญ คือ ปอด
การป้องกันและดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย
1. ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ
2. ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะนาน ๆ
3. รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และรสไม่จัด
4. ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน
5. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมทุกวัน
4. ระบบหายใจ
ศึกษาเกี่ยวกับจมูก หลอดลม ปอด กระบังลม
ระบบหายใจ เป็นระบบแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ที่ร่างกาย ไม่ต้องการก๊าซออกซิเจนที่อยู่นอกร่างกาย ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็น
ระบบหายใจประกอบด้วย
1. จมูก เป็นทางผ่านของอากาศที่เข้าสู่ร่างกายขณะหายใจ มีขนจมูกไว้ช่วยกรองฝุ่นละอองจากอากาศที่ผ่านเข้าไป
2. หลอดลม คอหอย กล่องเสียง
เมื่ออากาศเข้าจมูก จะผ่านคอหอย กล่องเสียงและหลอดลมตามลำดับ อวัยวะเหล่านี้เป็นเพียงทางผ่านของลมหายใจไปยังส่วนอื่น ๆ
3. ปอด ขั้วปอด ถุงลม อวัยวะเหล่านี้เป็นเพียงทางผ่านของลมหายใจไปยังส่วนอื่น ๆ
4. กระบังลมและซี่โครง เป็นกลไกสำคัญในการหายใจ ทำให้กระบังลมหดตัวและซี่โครงเคลื่อนตัวสูงขึ้น ทำให้เกิดการหายใจเข้า ขณะที่กระบังลมขยายตัว ความดันอากาศในช่องท้องสูง ทำให้เกิดการหายใจออก
การป้องกันและบำรุงรักษาอวัยวะในระบบหายใจ
1. พยายามหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าไปในร่างกาย
2. ไม่หายใจเอาฝุ่นละออง ควัน เขม่า เข้าไปสู่ร่างกาย
3. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
4. นั่งหรือยืนตัวตรงเสมอจะช่วยให้ปอดทำงานได้สะดวก
5. ไม่สูบบุหรี่
6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ปอดแข็งแรง
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน