เพลงลาวครวญ
คำร้อง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ทำนอง ทำนองเก่า ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
ขับร้อง ณัฐวิภา มูลธรรมเกณฑ์
โอ้พระชนนีศรีแมนสรวง
จะโศกทรวงเสียวรู้สึกระลึกถึง
ไหนทุกข์ถึงบิตุรงค์ทรงรำพึง
ไหนโศกซึ้งถึงตูคู่หทัย
ร้อยชู้หรือจะสู้เนื้อเมียตน
เมียร้อยคนหรือจะเท่าพระแม่ได้
พระแม่อยู่เยือกเย็นไม่เห็นใคร
หรือกลับไปสู่นครก่อนจะดี
พี่เลี้ยงตรองพลางสนองพระดำรัส
เห็นชอบชัดเชิญคืนบุรีศรี
เฉลิมกรุงบำรุงประชาชี
เป็นที่เกษมสุขสืบไป
นายแก้วนายขวัญนำเสนอ
ใครจะเพ้อครหาว่าเสียหาย
หรือไปหน่อยจึงค่อยเอื้อนอุบาย
หมดฉินยินร้ายทุกท่าทาง
มากูจะเสี่ยงน้ำลองดู
ผิว่ากูรอดฤทธิ์ผีสาง
น้ำใสจงไหลอยู่ควั่งคว้าง
กูอับปางน้ำเฉนียนจงเวียนวน
(บทละครเรื่องพระลอ ตอน พระลอเสี่ยงน้ำ)
บทละครเรื่อง พระลอ ผู้แต่งได้แรงบันดาลใจจากวรรณคดี เรื่อง ลิลิตพระลอ สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้มีผู้นำมาแต่งเป็นบทละครเพื่อใช้ในการแสดง เช่น บทละครเรื่อง พระลอ ของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ และบทละครเรื่องพระลอ พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
บทร้องเพลงลาวครวญนี้มาจากบทละครเรื่องพระลอ พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตอน "พระลอเสี่ยงน้ำ" สืบเนื่องจากที่พระลอได้ฟังคำกล่าวสรรเสริญเยินยอถึงความงามของพระเพื่อน พระแพง สองพระราชธิดาเมืองสรองก็พอพระทัยประกอบกับต้องมนต์เสน่ห์ของสองนางจึงคลั่งไคล้หลงไหลจึงจำลาพระมารดาและพระมเหสีเสด็จจากเมืองสรวงไปหาสองนางที่เมืองสรอง พร้อมด้วยนายแก้วและนายขวัญพระพี่เลี้ยง
เมื่อเสด็จมาถึงแม่น้ำกาหลง พระลอคำนึงถึงพระมารดาและพระมเหสีด้วยความโศกเศร้า และได้ทรงเสี่ยงน้ำดูว่าการเสด็จฯไปครั้งนี้ หากน้ำไหลไปอย่างราบรื่น การเดินทางจะปลอดภัย หากจะประสบเคราะห์กรรมก็ขอให้น้ำที่ไหลอย่างสงบนิ่งบริเวณริมฝั่งนี้จงกลายเป็นน้ำวน
คำร้อง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ทำนอง ทำนองเก่า ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง
ขับร้อง ณัฐวิภา มูลธรรมเกณฑ์
โอ้พระชนนีศรีแมนสรวง
จะโศกทรวงเสียวรู้สึกระลึกถึง
ไหนทุกข์ถึงบิตุรงค์ทรงรำพึง
ไหนโศกซึ้งถึงตูคู่หทัย
ร้อยชู้หรือจะสู้เนื้อเมียตน
เมียร้อยคนหรือจะเท่าพระแม่ได้
พระแม่อยู่เยือกเย็นไม่เห็นใคร
หรือกลับไปสู่นครก่อนจะดี
พี่เลี้ยงตรองพลางสนองพระดำรัส
เห็นชอบชัดเชิญคืนบุรีศรี
เฉลิมกรุงบำรุงประชาชี
เป็นที่เกษมสุขสืบไป
นายแก้วนายขวัญนำเสนอ
ใครจะเพ้อครหาว่าเสียหาย
หรือไปหน่อยจึงค่อยเอื้อนอุบาย
หมดฉินยินร้ายทุกท่าทาง
มากูจะเสี่ยงน้ำลองดู
ผิว่ากูรอดฤทธิ์ผีสาง
น้ำใสจงไหลอยู่ควั่งคว้าง
กูอับปางน้ำเฉนียนจงเวียนวน
(บทละครเรื่องพระลอ ตอน พระลอเสี่ยงน้ำ)
บทละครเรื่อง พระลอ ผู้แต่งได้แรงบันดาลใจจากวรรณคดี เรื่อง ลิลิตพระลอ สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้มีผู้นำมาแต่งเป็นบทละครเพื่อใช้ในการแสดง เช่น บทละครเรื่อง พระลอ ของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ และบทละครเรื่องพระลอ พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
บทร้องเพลงลาวครวญนี้มาจากบทละครเรื่องพระลอ พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตอน "พระลอเสี่ยงน้ำ" สืบเนื่องจากที่พระลอได้ฟังคำกล่าวสรรเสริญเยินยอถึงความงามของพระเพื่อน พระแพง สองพระราชธิดาเมืองสรองก็พอพระทัยประกอบกับต้องมนต์เสน่ห์ของสองนางจึงคลั่งไคล้หลงไหลจึงจำลาพระมารดาและพระมเหสีเสด็จจากเมืองสรวงไปหาสองนางที่เมืองสรอง พร้อมด้วยนายแก้วและนายขวัญพระพี่เลี้ยง
เมื่อเสด็จมาถึงแม่น้ำกาหลง พระลอคำนึงถึงพระมารดาและพระมเหสีด้วยความโศกเศร้า และได้ทรงเสี่ยงน้ำดูว่าการเสด็จฯไปครั้งนี้ หากน้ำไหลไปอย่างราบรื่น การเดินทางจะปลอดภัย หากจะประสบเคราะห์กรรมก็ขอให้น้ำที่ไหลอย่างสงบนิ่งบริเวณริมฝั่งนี้จงกลายเป็นน้ำวน