ประเพณีวัฒนธรรมไทย..ภาคอีสาน
จังหวัด นครพนม
ช่วงเวลา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ (ประมาณเดือนตุลาคม)
ความสำคัญ
- เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย
- เพื่อบูชาท้าวผกาพรหม
- เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก
- เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ
พิธีกรรม
นําเรือไปลอยในแม่น้ำ ก่อนลอยให้กล่าวคำบูชาดังนี้
อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชิง อภิปูเชนิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ที่ฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตคะตุ" แปลว่า ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระมุนีเจ้าอันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่งแม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ
จังหวัด เลย
ช่วงเวลา ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี
ความสำคัญ
การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านได้ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย แสดงในงาน "บุญหลวง" ซึ่งเป็นการรวมเอาบุญผะเหวดและบุญบั้งไฟเป็นบุญเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าในอดีต
พิธีกรรม
มีการจัดทำพิธี ๒ วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้วัดเป็นเมือง สำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด ๓ รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อย ๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์
จังหวัด ยโสธร
ช่วงเวลา เดือนพฤษภาคม
ความสำคัญ
ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
พิธีกรรม
๑. การเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทอง และอาหารการกิน เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดทำบั้งไฟและเป็นเสบียงสำหรับผู้จัดทำบั้งไฟ
๒. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้)
๓. การประกวดขบวนรำเซิ้ง
๔. การประกวดธิดาบั้งไฟโก้
๕. การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
๖. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง)
๗. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง