อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส
สภาพภูมิศาสตร์และการสร้างอารยธรรม
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส หรืออารยธรรมเมโสโปเตเมียอยู่ในประเทสอิรักปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส ในทุกๆ ปี บริเวณตอนล่างของแม่น้ำทั้งสองสายจะมีน้ำท่วม ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทะเลทราย ในแต่ละปีมีฝนตกเพียงเล็กน้อย และเนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและร้อนจัด บางครั้งน้ำท่วมรุนแรง มีพายุฝน รวมทั้งเกิดการละลายของหิมะที่เทือกเขา ทำให้ประชาชนต้องพัฒนาระบบการชลประทานขึ้น เช่น สร้างคลองระบายน้ำ เขื่อนกั้นน้ำ ประตูน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมและเก็บกักน้ำ รวมทั้งขุดคลองเล็กเพื่อชักน้ำไปยังที่ดินของตนทำให้เกษตรได้ผลดี นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร สังคมขยายตัวมากขึ้น มีการจัดระบบการปกครอง การแบ่งชนชั้นของคนในสังคม เกิดสังคมแบบชุมชนเมือง เกิดผู้นำทางสังคม ได้แก่ ผู้นำทางศาสนา และต่อมาคือผู้นำทางทหารและกษัตริย์
พัฒนาการทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
1) การปกครองแบบนครรัฐ
ชาวสุเมเรียนเป็นชนกลุ่มแรกที่สร้างสรรค์อารยธรรมในดินแดนนี้เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยปกครองแบบนครรัฐที่เป็นอิสระต่อกัน แต่ละนครรัฐถูกล้อมรอบด้วยกำแพงเมืองและป้อมปราการ อาคารบ้านเรือน และศาสนสถานสร้างด้วยอิฐ มีศาสนสถานขนาดใหญ่ เรียกว่า "ซิกกูแรต" สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่เทพเจ้าของเมือง นักบวชจึงเป็นกลุ่มที่มีอำนาจและมั่งคั่งมากในยุคนี้
วัดได้กลายเป็นศูนย์กลางของเมือง เมื่อเวลาผ่านไปอำนาจการปกครองกลายเป็นของกษัตริย์ เพราะชาวสุเมเรียนเชื่อว่า กษัตริย์กำเนิดมาจากเทพเจ้า เป็นตัวแทนพระเจ้าในการปกครองบ้านเมือง และเป็นผู้นำในการทำสงครามและควบคุมกิจการต่าง ๆ เช่น งานก่อสร้าง งานชลประทาน
2) สมัยอาณาจักรต่าง ๆ
เมื่อนครรัฐต่างๆ ของชาวสุเมเรียนเติบโตขึ้นและเกิดการต่อสู้กันเพื่อแย่งกันควบคุมที่ดินและน้ำ ทำให้อ่อนแอลงและ ถูกบุกรุกจากชนเผ่าอินโดยูโรเปียนทางตอนเหนือและพวกเซมิติกทางตอนใต้หลาย ครั้ง โดยพระเจ้าฮัมมูราบีแห่งอาณาจักรบาบิโลเนียได้เข้าปกครองระหว่าง 1,792 - 1,750 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอัสซีเรียนได้ตั้งอาณาจักรอัสซีเรียนปกครองในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช และพวกแคลเดียนได้ก่อตั้งอาณาจักรบาบิโลเนียใหม่เข้าปกครองเมื่อ 612 ปีก่อนคริสต์ศักราช ก่อนจะถุกยึดครองและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย นับเป็นการสิ้นสุดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
เศรษฐกิจหลักของนครรัฐต่างๆ ขึ้นอยู่กับการเกษตร แต่การค้าและอุตสาหกรรมก็มีความสำคัญ ชาวสุเมเรียนรู้จักผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจาอทองแดง สำริด เหล็ก ผลิตผ้าขนสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา สินค้าที่ชาวสุเมเรียนนำไปขาย ได้แก่ ปลาแห้ง ขนสัตว์ ข้าวบาเลย์ ข้าวสาลี และเครื่องเหล็ก ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ ทองแดง ดีบุก และไม้ซุง
ประชาชนชามสุเมเรียนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ชนชั้นปกครอง สามัญชน และทาส ชนชั้นปกครอง คือ เจ้านาย ขุนนาง นักบวชและครอบครัว สามัญชนกลุ่มอรก คือ ผู้ที่เป็นแรงงานของชนชั้นปกครอง ทำงานในที่ดินของวังและวัด กับสามัญชนที่เป็นอิสระประกอบอาชีพชาวนา ชาวประมง พ่อค้า และช่างฝีมือ ส่วนทาสเป็นทรัพย์สินของชนชั้นปกครอง ทำงานก่อสร้างให้ทางการ
ภาพนูนต่ำรูปสิงโต เป็นผลงานศิลปะที่ประณีตของชาวบาบิโลเนียน ช่วยสะท้อนว่าจักรวรรดิบาบิโลนน่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองมาก
3) มรกดทางอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
3.1) ความเชื่อทางศาสนาชาวเมโสโปเตเมียเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติจึงนับถือเทพเจ้าหลายองค์ที่เกี่ยว ข้องกับทุกส่วนของจักรวาลและโลก เช่น เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า เทพเจ้าแห่งลม เทพเจ้าแห่งดิน ภูเขา และพืชพันธุ์ ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้นักบวชเข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมเมโสโปเตเมียมาก
3.2) ความเจริญทางศิลปวิทยาการชาวสุเมเรียนเป็นชนกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มเมื่อ ประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช การคิดตัวอักษรมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์งานประพันธ์ต่าง ๆ วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงงานหนึ่งของชาวสุเมเรียน คือ มหากาพย์กิลกาเมช
อักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มที่ชาวสุเมเรียนประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
นอกจากนี้ยังมีการจัดทำประมวลกฏหมายฮัมมูราบีแห่งจักรวรรดิบาบิโลเนียที่มีบทลงโทษรุนแรงเพื่อสร้างความเป็นระเบียบและยุติธรรม มีการแกะสลักนูนต่ำที่แสดงชีวิตประจำวันของชาวอัสซีเรียน หรือในสมัยจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ได้มีการสร้างสวนขนาดใหญ่ เรียกว่า "สวนลอยแห่งบาบิโลน" ตลอดจนมีความก้าวหน้าทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ เช่น ชาวสุเมเรียนรู้จักแบ่งตัวเลขโดยใช้ฐาน 60 แบ่งวันออกเป็น 24 ชั่วโมง แบ่ง 1 ชั่วโมงออกเป็น 60 นาที ทำปฏิทินแบบจันทรคติโดยกำหนดให้ 1 ปีมี 12 เดือน ชาวแคลเดียนแบ่ง 1 สัปดาห์ออกเป็น 7 วัน รวมทั้งคำนวณเวลาการเกิดสุริยุปราคาได้ถูกต้อง เป็นต้น