ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
15 ก.ย. 67
 | 1.3K views



พอลิเมอร์ เป็นสารที่มีมวลโมเลกุลสูง เกิดจากโมเลกุลพื้นฐานที่เรียกว่า มอนอเมอร์ จำนวนมากต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ แบ่งตามการเกิดได้เป็น พอลิเมอร์ธรรมชาติ และพอลิเมอร์สังเคราะห์ แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบได้เป็น พอลิเมอร์เอกพันธุ์ และพอลิเมอร์ร่วม แต่หากแบ่งตามลักษณะการเกิดพอลิเมอร์ จะแบ่งได้เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติและพอลิเมอร์สังเคราะห์  โดยปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จะแบ่งออกเป็นปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่น และปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติม

 

มอนอเมอร์ (monomer) คือ หน่วยย่อย 1 หน่วยของพอลิเมอร์

พอลิเมอร์ (polymer) มาจากคำว่า poly แปลว่า จำนวนมาก + meros แปลว่า ส่วน จึงหมายถึง สารโมเลกุลขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วยมอนอเมอร์หลายส่วนมาทำปฏิกิริยากันเป็นสายยาว โดยแต่ละหน่วยจะเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์

 

ประเภทของพอลิเมอร์

แบ่งตามลักษณะการเกิดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. พอลิเมอร์ธรรมชาติ คือ พอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น โปรตีน แป้ง เซลลูโลส ไกลโคเจน กรดนิวคลีอิก และยางธรรมชาติ (พอลิไอโซพรีน)

2. พอลิเมอร์สังเคราะห์ คือ พอลิเมอร์ที่เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ไนลอน

 

แบ่งตามชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. พอลิเมอร์เอกพันธุ์ (Homopolymer) คือ พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น แป้งประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นกลูโคสทั้งหมด พีวีซีประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นเอทิลีนทั้งหมด

2. พอลิเมอร์ร่วม (Copolymer) คือ พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน เช่น พอลิเอสเทอร์ พอลิเอไมด์ โปรตีน ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ที่เป็นกรดอะมิโนต่างชนิดกัน หรือกรดนิวคลีอิก ที่เป็นพอลิเมอร์ของกรดนิวคลีโอไทด์หลายชนิดมารวมกัน เป็นต้น

 

หากพิจารณาตามลักษณะการเกิดสามารถแบ่งพอลิเมอร์ออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. พอลิเมอร์ธรรมชาติ (natural polymer) เป็นพอเลิเมอร์ที่พบตามธรรมชาติ เช่น ไหม เซลลูโลส แป้ง ไกลโคลเจน โปรตีน

2. พอลิเมอร์สังเคราะห์ (synthetic polymer) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ เช่น พอลิเอทิลีน พอลิไวนิลคลอไรด์ ไนลอน ซิลิโคน

 

ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ เรียกว่า ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน (polymerization reaction) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบควบแน่น (condensation polymerization reaction) เกิดจากมอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมู่ ทำปฏิกิริยากันได้พอลิเมอร์และสารโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น น้ำ แก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ แอมโมเนีย หรือเมทานอลเป็นผลพลอยได้

2. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม (addition polymerization reaction) เกิดจากมอนอเมอร์ที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน เช่น เอทิลีน โพรพิลีน ไวนิลคลอไรด์ เกิดปฏิกิริยาการเติมที่ตำแหน่งพันธะคู่ได้พอลิเมอร์เป็นผลิตภัณฑ์ โดยไม่มีสารโมเลกุลเล็กเกิดขึ้น