การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 211.5K views



พระพุทธศาสนานั้น ถือเป็นศาสนาประจำชาติของไทย วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น

วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา จึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ไปปฏิบัติศาสนพิธี ซึ่งแต่ละวันก็มีกิจกรรมแตกต่างกันไป แต่จะมีหลักปฏิบัติตนคล้ายๆ กัน

ภาพ : shutterstock.com

 

พิธีมาฆบูชา

ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันรำลึกเหตุการณ์ “จาตุรงคสันนิบาต” คือ การประชุมที่ประกอบด้วยองค์ 4 ได้แก่ หนึ่ง วันนั้นเป็นวันเพ็ญเต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์ สอง พระภิกษุสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย สาม พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาทั้งสิ้น และสี่ พระอรหันต์เหล่านั้น ล้วนเป็นผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง หรือเรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” ทั้งสิ้น

กิจกรรมในวันมาฆบูชา

1. ทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
2. ร่วมการเวียนเทียน
3. ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงขึ้นในโลก

พิธีวิสาขบูชา

ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

กิจกรรมในวันวิสาขบูชา

1. ทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธร

รมเทศนาตอนเช้า
2. ตอนค่ำร่วมการเวียนเทียน 3. ทำวัตรสวดมนต์ และฟังพระธรรมเทศนาต่อไปจนเสร็จพิธี

 

ภาพ : shutterstock.com

พิธีเข้าพรรษา และออกพรรษา

ประเพณีเข้าพรรษาในพระพุทธศาสนานั้น เกิดจากสมัยหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ พระภิกษุสงฆ์จึงนำเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูกาล แม้แต่ในฤดูฝนก็ยังเที่ยวสัญจรไปมา ทำให้ไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวเมืองจนเสียหาย ประชาชนพากันติเตียน พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่จำพรรษา 3 เดือน นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 โดยห้ามมิให้ไปพักค้าง ณ ที่อื่น ยกเว้นมีเหตุจำเป็น

 

กิจกรรมในวันเข้าพรรษา

1. ทำเทียนจำนำพรรษา
2. ถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร
3. ทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล

 

กิจกรรมในวันออกพรรษา

1. ทำบุญ ฟังพระธรรมเทศนา
2. ร่วมกิจกรรม “ตักบาตรเทโว” (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
3. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด

หลังวันออกพรรษาแล้ว จะมีพิธีทอดผ้ากฐิน โดยคำว่า “กฐิน” ก็คือ “สะดึง” หรือกรอบไม้สำหรับขึงผ้าให้ตึง เพื่อสะดวกแก่การเย็บผ้า หรือก็คือจีวรสำหรับนุ่งห่มของภิกษุ ดังนั้น การทอดผ้ากฐินก็คือ การวางผ้าจีวรที่เย็บแล้ว ถวายแด่พระสงฆ์นั่นเอง ซึ่งระยะเวลาในการอนุญาตให้ทอดกฐินได้ ตามพระวินัยบัญญัติคือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 รวมเป็นระยะเวลา 1 เดือน

 

การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นโอกาสดีที่พุทธศาสนิกชนจะได้สร้างบุญกุศล ปฏิบัติธรรม ชำระจิตใจให้ผ่องแผ้ว เพื่อการเตรียมจิต เตรียมใจ ก่อนจะเข้าร่วมประกอบศาสนพิธีในวันนั้นๆ ซึ่งมีแนวทางการปฏับัติดังนี้ 

- ละเว้นอบายมุขทุกประเภท
- ดูแลบิดามารดา
- ปฏิบัติกรรมฐาน
- บูชาพระรัตนตรัย

 

เรียบเรียงโดย : ถาปกรณ์ กำเนิดศิริ