วิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาตอนปลาย การสืบพันธุ์ของพืชและสัตว์ (ตะลุยโจทย์) โดยครูบิ๊ก
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 11.8K views



การสืบพันธุ์ของพืชและสัตว์ (ตะลุยโจทย์)

- การสืบพันธุ์ มี 2 แบบ

1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ: ทำให้พันธุกรรมไม่เปลี่ยน เช่น การสร้างสปอร์ การเกิดหน่อของกล้วย รากมันสำปะหลังงอกเป็นต้นใหม่ได้ การปักชำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ: ทำให้เกิดการแปรผันของพันธุกรรม เช่น ในพืชดอก

 

- การปฏิสนธิของพืช เป็นการปฏิสนธิซ้อน (Double Fertilization)

นั่นคือ​    1 สเปิร์ม +  1 ไข่  ​    ​​              → ต้นอ่อน (embryo)
            1 สเปิร์ม +  1 โพลาร์นิวคลีอาย  ​→ อาหารเลี้ยงต้นอ่อน (endosperm)

ผลที่เกิดขึ้นจะมีได้ 3 แบบ

1. ผลเดี่ยว : 1 ดอก มี 1 รังไข่ เช่น มะม่วง ลำไย แตงโม มะละกอ องุ่น
2. ผลรวม : หลายดอกมีปลายหลอมรวมกัน เช่น ขนุน สัปปะรด ลูกยอ
3. ผลกลุ่ม : 1 ดอก แต่ ข้างในมีหลายรังไข่ เช่น จาก จำปี จำปา กระดังงา ฝักบัว สตอว์เบอร์รี น้อยหน่า

 

- ความต่างของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่ 

ส่วนต่าง ๆ ของพืช

ใบเลี้ยงเดี่ยว

ใบเลี้ยงคู

เมล็ด

มีใบเลี้ยงใบเดียว

มีใบเลี้ยงสองใบ

ใบ

ยาวรี

กลมกว้าง

ดอก

3 ใบ

4-5 ใบ

ลำต้น

เป็นข้อปล้อง

มีขนาดใหญ่

ราก

แขนง

แก้ว

 

การสืบพันธุ์ มี 2 แบบ

1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ: ไม่ทำให้พันธุกรรมเปลี่ยน เช่น

​แบ่งตัว :  อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา
​​แตกหน่อ : ไฮดรา ฟองน้ำ ปะการัง
​​การงอกใหม่ : พลานาเรีย ไส้เดือนดิน ดาวทะเล

2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ: ทำให้เกิดการแปรผันของพันธุกรรม

ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ = เซลล์ไข่ + เซลล์อสุจิ

 

การปฏิสนธิ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1. การปฏิสนธิภายใน คือ การที่เซลล์ไข่ + เซลล์อสุจิ ผสมกันในเพศเมีย เช่น คน นก งู จระเข้
2. การปฏิสนธิภายนอก คือ การที่เซลล์ไข่ + เซลล์อสุจิ ผสมกันภายนอกเพศเมีย เช่น กบ คางคก ปลา

 

เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์

1. การผสมเทียมในสัตว์ เช่น การนำน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่ดี ฉีดใส่ เพศเมียในระยะไข่สุก ที่เรียกว่า ช่วงเวลาเป็นสัด
2. การโคลน (Cloning) ดูดนิวเคลียสจากไข่ออกมา แล้วนำสารพันธุกรรมจากเซลล์ร่างกายที่ต้องการโคลนฉีดใส่ไข่

 

การเจริญเติบโตของสัตว์ สัตว์บางชนิด ระหว่างการเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นขั้น ๆ เรียกว่า เมตามอฟอซิส (Metamorphosis) โดยเมตามอฟอซิส ของแมลง มี 4 รูปแบบ

1. ไม่เปลี่ยนรูปร่าง เช่น แมลงหางดีด ตัวสองง่าม ตัวสามง่าม
2. ค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่าง เช่น ตั๊กแตน แมลงสาบ จิ้งหรีด ปลวก เหา จักจั่น เพลี้ย
3. เปลี่ยนรูปร่างแต่ไม่สมบูรณ์ เช่น แมลงปอ ชีปะขาว
4. เปลี่ยนรูปร่างสมบูรณ์ เช่น ยุง ผีเสื้อ แมลงหวี่ แมลงวัน ไหม มด ต่อ แตน