การวิเคราะห์วรรณกรรม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 15.4K views



วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรม หรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี คือมีทั้งสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ ดังนั้น เพื่อให้สามารถวิเคราะห์วรรณกรรมเพื่อประเมินข้อดี ข้อเสียได้เอง จึงควรรู้จักหลักการวิเคราะห์งานวรรณกรรม ซึ่งประกอบด้วย ความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ องค์ประกอบ และแก่นของเรื่อง

ภาพ : shutterstock.com

 

การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาอย่างละเอียด การวิเคราะห์วรรณกรรม จึงเป็นการแยกแยะและประเมินค่าเนื้อหาที่ได้อ่าน ว่าเขียนดีหรือไม่ เนื้อหามีประโยชน์ หรือคุณค่าอย่างไร ต่อใครบ้าง สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งมีหลักเกณฑ์กว้างๆ หรือแนวทางการวิเคราะห์ดังนี้

1. ความเป็นมา คือ ประวัติของหนังสือ และผู้แต่ง เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่นๆ ได้ดีขึ้น

2. ลักษณะคำประพันธ์ คือ ดูว่าเนื้อเรื่องที่อ่านเป็นคำประพันธ์ชนิดใด ร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์

3. องค์ประกอบของเรื่อง คือ พิจารณาว่าเนื้อหา หรือพฤติกรรมตัวละคร ว่ามีความสอดคล้อง หรือขัดแย้งกัน รวมถึงการใช้ภาษา รูปแบบคำประพันธ์ ว่าเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง และระดับผู้อ่านหรือไม่

4. แก่นของเรื่อง คือ สิ่งที่ผู้แต่งต้องการนำเสนอ ว่าจะสื่อเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร มีจุดยืน รสนิยม และค่านิยมอย่างไร ผู้อ่านสามารถนำคุณค่าที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

การวิเคราะห์นั้น ควรมองทั้งด้านดี และด้านลบ ไม่ใช่มุ่งวิเคราะห์เพื่อติ แต่ต้องทำทำอย่างสร้างสรรค์ ด้วยใจที่เป็นกลาง 

 

เรียบเรียงโดย : อลงกรณ์ พลอยแก้ว