คำวิเศษณ์ที่ใช้บ่อยและเคล็ดลับบางประการ
副词
คำวิเศษณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในทุก ๆ ภาษา โดยหน้าที่หลักของคำวิเศษณ์คือการขยายความภาคแสดงของประโยค ซึ่งอาจจะเป็นภาคแสดงที่เป็นคำคุณศัพท์หรือเป็นกริยาก็ได้ เช่น
我们 都 很舒服。(ต.我們 都 很舒服。)
wǒ men dōu hěn shū fú。
พวกเราล้วนแต่สบายดี (ภาคแสดงเป็นคำคุณศัพท์)
我们 都 学烹调。(ต.我們 都 學烹調。)
wǒ men dōu xué pēng tiáo。
พวกเราล้วนแต่เรียนการทำอาหาร (ภาคแสดงเป็นกริยา)
ฉะนั้นโครงสร้างโดยทั่วไปของคำวิเศษณ์ที่นักเรียนควรจะสังเกตก็คือ คำวิเศษณ์จะต้องอยู่ระหว่างภาคประธานภาคแสดงของประโยค หลายครั้งที่ข้อสอบวัดความเข้าใจเกี่ยวกับคำวิเศษณ์โดยออกข้อสอบให้นักเรียนเติมคำวิเศษณ์ลงในตำแหน่งที่ถูกต้อง เช่น
ตัวอย่างข้อสอบ เดือนมีนาคม 2545 ข้อ17, 19, 22 และ 24
17) 这些_1_朋友_2_爱好_3_起 太极拳_4_来了。
(ต. 這些__1__朋友__2__愛好__3__起太極拳__4__來 了。)
〔都〕
เฉลย ตอบข้อ 2 เพราะคำวิเศษณ์ต้องวางไว้หลังประธานและหน้าภาคแสดง
โจทย์บอกว่า เพื่อนเหล่านั้น(ภาคประธาน) ล้วนแต่ เกิดความชื่นชอบในวิชาหมัดไทเก๊กขึ้น
19) 他__1__安全__2__开车十多__3__年__4__了。
(ต.他__1__安 全__2__開 車 十 多__3__年__4__了。 )
〔已经〕
เฉลย ตอบข้อ 1 เพราะ เพราะคำวิเศษณ์ต้องวางไว้หลังประธาน(他)และหน้าภาคแสดง ( …安全开车十多年了。)
22) 你__1__不__2__努力__3__学习,恐怕就__4__跟不上了。
(ต.你_1_不_2_努力_3_學習, 恐怕就_4_跟不上了。 )
〔再〕
เฉลย ตอบข้อ 1 เพราะ เพราะคำวิเศษณ์〔再...อีก〕ต้องวางไว้หลังประธานและหน้าภาคแสดง ( 不努力学习…) โจทย์กล่าวว่าหากคุณยังไม่พยายามเรียนอีก เกรงว่าก็จะตามไม่ทันแล้วล่ะ
*恐怕kǒngpà = เกรงว่า
24) 他_1_喜欢安静,_2_可是_3_我_4_喜欢热闹。
(ต. 他_1_喜歡安靜,_2_可是 _3_我_4_喜歡熱鬧。 )
〔却〕
เฉลย ตอบข้อ 4 เพราะ ประการแรก คำวิเศษณ์ต้องวางอยู่หลังประธานเสมอ ซึ่งในโจทย์แบ่งเป็นประโยคย่อยสองประโยค และมีประธานสองตัว ฉะนั้นช่องว่างที่เติมได้ก็น่าจะได้แก่ ช่องว่างที่ 1 และ 4 (2และ3ตัดทิ้ง) ประการต่อมา คำว่า却แปลว่า กลับจะ...ใช้สำหรับแย้งความคิดเห็น(ประโยคหลังแย้งประโยคหน้า) เช่น ในโจทย์บอกว่า เขาชอบความเงียบสงบ แต่ผมกลับจะชอบความครึกครื้น ฉะนั้นคำตอบที่ถูกต้องคือวางไว้ที่ตำแหน่งที่ 4
จากตัวอย่างทั้งสี่ข้อ นักเรียนจะพบว่า ทั้งสี่ข้อสามารถตัดสินใจตอบโดยการมองหาประธานของประโยคให้เจอเท่านั้นเอง ส่วนภาคแสดงจะกล่าวถึงอะไรนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกคำตอบของโจทย์ประเภทนี้เลย นั่นแสดงว่าในบางครั้งเราสามารถตอบข้อสอบเกี่ยวกับคำวิเศษณ์ได้โดยที่เราอาจจะแปลคำศัพท์ในโจทย์ได้ไม่หมด ขอเพียงเราหาประธานให้เจอเราก็จะตอบได้
อีกประการต่อมาคือ ข้อสอบลักษณะนี้นักเรียนที่เข้าใจไวยากรณ์จะทำได้เร็วกว่าและแม่นยำกว่านักเรียนที่ทำโจทย์โดยอาศัยทักษะการท่องจำและแปลอย่างไม่ลืมหูลืมตา หลายครั้งที่นักเรียนที่รู้คำศัพท์มาก ท่องศัพท์ได้เยอะทำข้อสอบช้า เพราะลืมไปว่าโจทย์บางข้อไม่ได้วัดความรู้การแปล แต่จงใจวัดความเข้าใจในแง่ของไวยากรณ์ต่างหาก เช่น สมมติผมออกข้อสอบข้อหนึ่งที่มีคำศัพท์ที่ยากตามตัวอย่างที่แสดงต่อไปนี้
ตัวอย่าง
_1_ 非政组织人员 _2_前往 _3_地中海贫血症研究所 _4_进行20天的正式访问。
(ต. _1_ 非 政 組 織 人 員 _2_前 往 _3_地中 海 貧 血 症 硏 究 所 _4_進 行20天 的 正 式 訪 問。 )
[ 曾经 ]
ข้อสอบลักษณะนี้ประกอบด้วยคำศัพท์ที่ยาก หากทำโจทย์โดยการแปลคงจะต้องเสียเวลาและอาจจะเหนื่อยเปล่า เพราะ 1 คะแนนที่ได้มาอาจจะต้องแลกกับเวลาหลายนาทีที่เสียไป (อย่าลืมว่าภายในเวลา 2 ชั่วโมงในการสอบ นักเรียนมีเวลาทำข้อสอบเฉลี่ยแล้วเท่ากับข้อละหนึ่งนาทีกว่าเท่านั้น)
คำศัพท์และเนื้อหาของข้อนี้มีใจความว่า เจ้าหน้าที่องค์กรเอกชน(NGO)ครั้งหนึ่งเคย (曾经)เดินทางมายังสถาบันวิจัยโรคธาลัสซีเมียเพื่อดำเนินการเยือนอย่างเป็นทางการเป็นเวลายี่สิบวัน คำศัพท์ที่เป็นอุปสรรคต่อการแปลความหมายได้แก่
非政组织 (ต.非政組織) fēizhèngzǔzhī องค์กรเอกชน(NGO)
地中海贫血症 (ต.地中海貧血症) dìzhōnghǎipínxiězhèng โรคธาลัสซีเมีย
研究所(ต.硏究所) yánjiūsuǒ ศูนย์วิจัย
正式访问 (ต.正式訪問) zhèngshìfǎngwèn เยือนอย่างเป็นทางการ
เฉลย สำหรับนักเรียนที่เข้าใจไวยากรณ์ของคำวิเศษณ์จะทำข้อนี้ได้ไม่ยากเลย เพราะคนออกข้อสอบจงใจให้คำนามซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานมาค่อนข้างง่ายคือคำว่า 人员(เจ้าหน้าที่) และให้คำกริยามาค่อนข้างง่ายเช่นกันคือคำว่า 前往 (เดินทางมายัง...) เมื่อพบประธานของประโยค นักเรียนก็จะตัดสินใจได้ไม่ยากว่าคำตอบที่ถูกต้องคือเติมลงในช่องว่างที่ 2 นั้นเอง เห็นไหมครับว่าบางครั้งความยากของคำศัพท์ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำโจทย์เลยถ้าเราเข้าใจจุดประสงค์ของคนออกข้อสอบว่า จริง ๆ แล้วเขาต้องการวัดความรู้เรื่องการใช้คำวิเศษณ์ของนักเรียนเท่านั้นเอง
สำหรับบทเรียนเตรียมสอบและคำแนะนำเคล็ดลับเกี่ยวกับคำวิเศษณ์นี้ เรื่องที่ผมเน้นที่สุดคือการวางตำแหน่งของคำวิเศษณ์อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีเรื่องสำคัญอีกสองเรื่องคือ คำวิเศษณ์ที่ปรากฏบ่อยในข้อสอบและข้อยกเว้นและข้อควรจำในคำวิเศษณ์ที่นักเรียนมักสับสน เช่น คำว่า都 บางครั้งแปลว่า ล้วนแต่.../หมดเลย... แต่บางครั้งกลับแปลว่า ...เรียบร้อยแล้ว (เหมือนคำว่า已经) ; คำว่า 才บางครั้งแปลว่า ถึงจะ.... แต่บางครั้งแปลว่า แค่... ; ความแตกต่างระหว่าง 又และ 再 ; ความแตกต่างระหว่าง 都 ;一共 และ 全部 ฯลฯ
1. คำวิเศษณ์ที่มักใช้บ่อย แบ่งเป็นประเภทในการใช้ได้ดังต่อไปนี้
1.1 ใช้แสดงจังหวะเวลาของการกระทำ
1.2 ใช้แสดงขอบเขตของการกระทำ
1.3 ใช้แสดงระดับของความรู้สึก
1.4 ใช้แสดงความถี่ของการกระทำ
1.5 ใช้แสดงน้ำหนักและอารมณ์ของประโยค
1.6 ใช้แสดงสถานการณ์หรือสภาพของการกระทำ
1.1 ใช้แสดงจังหวะเวลาของการกระทำ
คำวิเศษณ์ที่เราพบเห็นบ่อยได้แก่คำเหล่านี้
刚刚 (ต.剛剛) gāng gāng เพิ่งจะ...
已经 (ต.已經) yǐ jīng ได้...เรียบร้อยแล้ว
曾经 (ต.曾經) céng jīng ครั้งหนึ่งเคย...
正在 zhèng zài กำลัง...อยู่พอดี
赶快 (ต.趕快) gǎn kuài รีบ...
马上 (ต.馬上) mǎ shàng ...ทันที
立刻 ... lì kè ทันที (เดี๋ยวนั้น)
尽快 (ต.儘快) jìn kuài รีบ...เท่าที่สามารถ
一直yī zhí ...ตลอด
永远 (ต.永遠) yǒng yuǎn...ตลอดกาล
时时 (ต.時時) shí shí ...ตลอดเวลา
随时 (ต.隨時) suí shí ...ทุกเมื่อที่สะดวก
偶尔 (ต.偶爾) ǒu ěr บังเอิญ...
忽然 hū rán ทันใดนั้น...
一时 (ต.一時) yī shí...ชั่วขณะ
顿时 (ต.頓時) dùn shí ...ในทันใด
ข้อควรจำและข้อสังเกตต่าง ๆ
1. ความแตกต่างระหว่าง刚刚กับ 刚才
刚刚แปลว่า เพิ่งจะ... เป็นคำวิเศษณ์ ใช้เป็นประธานไม่ได้ แต่คำว่า刚才แปลว่าเมื่อครู่ เป็นนามแทนเวลา วางอยู่หน้าหรือหลังของประธานก็ได้ ดูตัวอย่าง
张老师刚刚来到课室。
(ต.張老師剛剛來到課室。 )
zhāng lǎo shī gāng gāng lái dào kè shì。
อาจารย์จางเพิ่งจะมาถึงห้องเรียน
刚才我没有看到张老师。
(ต.剛才我沒有看到張老師。 )
gāng cái wǒ méi yǒu kàn dào zhāng lǎo shī。
เมื่อครู่ผมไม่เห็นอาจารย์จาง (คำว่า เมื่อครู่ ขยายอยู่หน้าประธาน)
2. ความแตกต่างระหว่าง曾经และ已经
曾经 แปลว่า ครั้งหนึ่งเคย... ในรูปประโยคไม่จำเป็นต้องลงท้ายด้วย 了 ส่วน已经ต้องลงท้ายด้วย 了 แต่ทั้งสองคำสามารถเสริมด้วยคำว่า 过 (เคย) ในประโยค ดูตัวอย่าง
我曾经看过仔仔的电视剧。
(ต.我曾經看過仔仔的電視劇。 )
wǒ céng jīng kàn guò zǐ zǐ de diàn shì jù。
ผมครั้งหนึ่งเคยดูละครโทรทัศน์ของไจ่ไจ๋
我已经看过仔仔的电视剧了。
(ต.我已經看過仔仔的電視劇了。 )
wǒ yǐ jīng kàn guò zǐ zǐ de diàn shì jù le。
ผมได้ดูละครโทรทัศน์ของไจ่เจ๋ไปแล้ว (ดูเรียบร้อยไปแล้ว)
3. ความแตกต่างระหว่าง赶快 ; 马上 ; 立刻
ดูจากความหมายของคำแปล 赶快รีบ... ; 马上...ทันที /รีบ... ; 立刻 ...ทันที (เดี๋ยวนั้น) เราจะพบว่า 立刻หมายถึงทันทีทันใด ฉะนั้นในบางประโยคซึ่งกล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้นทันทีจึงไม่ควรใช้คำว่า马上/赶快แทน立刻 เช่น
将军一中箭立刻倒在地上。
(ต. 將軍一中箭立刻倒在地上。)
jiāng jūn yī zhōng jiàn lì kè dào zài dì shàng。
ทันทีที่ขุนศึกถูกลูกศรก็ล้มลงกับพื้นในทันใด
(โครงสร้าง 一 + กริยาที่1 + 立刻/就 + กริยาที่2 แปลเป็นไทยว่า ทันทีที่...ก็...)
4. ความแตกต่างระหว่าง忽然 กับ 突然
สองคำนี้นับเป็นคำที่นักเรียนสับสนอยู่บ่อยครั้ง เพราะนักเรียนเข้าใจว่าความหมายเหมือนกัน จึงแทนกันได้ แต่ในความจริงแล้วบางกรณีสองคำนี้แทนกันไม่ได้ในบางกรณี ซึ่งนักเรียนควรจะเข้าใจคุณสมบัติของสองคำนี้ดังนี้ คำว่า忽然แปลว่า ทันใดนั้น... แต่คำว่า突然 นอกจากแปลว่า ทันใดนั้น.... ยังมีอีกความหมายหนึ่ง คือ อย่างกะทันหัน (ใช้เป็นคำคุณศัพท์) ฉะนั้นคำว่า突然จึงถูกขยายด้วยคำบ่งบอกระดับความรู้สึกได้ เช่นคำว่า 很突然 กะทันหันมาก ;非常突然 กะทันหันเหลือเกิน ฯลฯ
车祸发生得很突然。
(ต.車禍發生得很突然。 )
chē huò fā shēng de hěn tú rán。
อุบัติเหตุทางรถยนต์เกิดขึ้นอย่างกะทันหันมากๆ
(*ประโยคนี้เราจะใช้คำว่า 忽然แทน突然ไม่ได้ เพราะ忽然เป็นคำวิเศษณ์ได้อย่างเดียว ใช้เป็นคำคุณศัพท์แบบ突然 ไม่ได้)
1.2 ใช้แสดงขอบเขตของการกระทำ
คำที่วิเศษณ์ที่ใช้แสดงขอบเขตของการกระทำที่เราพบบ่อยมีคำเหล่านี้ :
都 dōu ล้วนแต่.../...หมดเลย
全 quán ...กันหมดเลย
统统 (ต.統統 ) tōng tōng...หมดเลย(ใช้เป็นภาษาพูด)
一起 yī qǐ ...ด้วยกัน
一块儿 (ต.一塊儿 ) yī kuài’r ...ด้วยกัน
一齐 (ต.一齊 ) yī qí ...พร้อมเพรียงกัน
一道yī dào ...ภายในทีเดียว
只zhǐ แค่.../เอาแต่...
仅仅(ต.僅僅 ) jǐn jǐn เพียง/แค่...(น้อยจนน่าสงสาร)
光guāng เอาแต่.../สักแต่ว่า...
就 jiù ก็จะ.../ก็เลย...(ใช้ในประโยคหลัง ในประโยคความรวม)
互相hùxiāng ...ซึ่งกันและกัน
ข้อควรจำและข้อสังเกตต่างๆ
1. ข้อสังเกตของคำว่า都
*บางครั้งคำว่า都ใช้แทนคำว่า 全部 ไม่ได้ เพราะคำว่า 都 เป็นคำวิเศษณ์เท่านั้น ส่วนคำว่า全部สามารถใช้เป็นคำขยายคำนามได้ (วางหน้าประธานได้) เช่น
全部学生都在游乐园。
(ต. ) 全部學生都在游樂園。
quán bù xué shēng dōu zài yóu lè yuán。
นักเรียนทั้งหมดล้วนแต่อยู่ที่สวนสนุก
หลายครั้งที่ผมพบว่า เราแปลคำศัพท์จากจีนเป็นไทยอย่างไม่ระมัดระวัง เช่น เราแปลคำว่า 都 เป็นไทยว่า ทั้งหมด ซึ่งเราลืมไปว่า คำว่าทั้งหมดในภาษาไทยตรงกับคำว่า 全部 ไม่ใช่คำว่า 都 การแปลผิดนำไปสู่ความเข้าใจผิดของนักเรียน เช่น นักเรียนแต่งประโยคว่า 都朋友在我家。 (ต้องแต่งว่า全部朋友在我家。เพื่อนทั้งหมดอยู่บ้านผม)
**คำว่า 都 ความหมายจะเปลี่ยนไปตามประธาน หากประธานมีหลายคน (พหูพจน์) จะแปลว่า ล้วนแต่...;หากประธานมีแค่คนเดียว (เอกพจน์) จะแปลว่า ...เรียบร้อยแล้ว (เหมือนคำว่า已经) เช่น
孩子都认错了。
(ต. 孩子都認錯了。)
hái zi dōu rèn cuò le。
เด็กยอมรับผิดเรียบร้อยแล้ว
我都等了半天了,你才来!?
(ต. 我都等了半天了,你才來!?)
wǒ dōu děng le bàn tiān le,nǐ cái lái!?
ผมรอมาครึ่งวันแล้วคุณเพิ่งจะมาหรือเนี่ย!?
***คำว่า都 หากใช้เป็นคำนาม จะอ่านว่า dū แปลว่า นคร/เมือง เช่น
成都不是中国的首都。
(ต. 成都不是中國的首都。)
chéng dū bú shì zhōng guó de shǒu dū。
เฉิงตูไม่ใช่เมืองหลวงของประเทศจีน
清迈是泰北部的大都市。
(ต.清邁是泰北部的大都市。 )
qīng mài shì tài běi bù de dà dū shì。
เชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่ในภาคเหนือของไทย
2. 只 แค่/เพียง 只是 เพียงแต่ว่า.../แค่...เท่านั้น 只不过 แค่...เท่านั้นเอง
สามคำนี้เป็นคำที่มีความหมายคล้ายกัน และพบเห็นบ่อย ฉะนั้นนักเรียนควรจะทำความเข้าใจให้ถูกต้องเพื่อไม่สับสนในการแต่งประโยค
我只吃了一串葡萄。
wǒ zhī chī le yī chuàn pú táo。
ผมกินองุ่นไปแค่ช่อเดียว
我只是/只不过吃了一串葡萄。
(ต.我只是/只不過吃了一串葡萄。 )
wǒ zhī shì/ zhī bú guò chī le yī chuàn pú táo。
ผมแค่กินองุ่นไปช่อเดียว (ไม่เห็นจะเป็นเรื่องใหญ่อะไร)
你可以进来,只不过别带宠物近来。
(ต.你可以進來,只不過別帶寵物近來。 )
nǐ kě yǐ jìn lái,zhī bú guò bié dài chǒng wù jìn lái。
คุณเข้ามาได้ แค่อย่าพาสัตว์เลี้ยงเข้ามาเท่านั้นเอง
(ประโยคนี้ ใช้ 只 แทนไม่ได้ แต่ใช้ 只是 ได้)
3. 仅仅 มักใช้กับประโยคที่แสดงความรู้สึกว่า “น้อยจนน่าสงสาร” มากกว่า เช่น
他们仅仅是几个毛孩子,你还怕?
(ต.他們僅僅是几個毛孩子,你還怕? )
tā men jǐn jǐn shì jǐ gè máo hái zi, nǐ hái pà?
พวกเขาเป็นแค่เด็กเมื่อวานซืนไม่กี่คน นายยังกลัวอีกหรือเนี่ย ?
仅仅一个月,你怎么变了?
(ต.僅僅一個月,你怎麽變了? )
jǐn jǐn yī gè yuè,nǐ zěn me biàn le?
แค่เดือนเดียว คุณเปลี่ยนไปได้ยังไง ?
*ในกรณีที่ 仅仅 ใช้ขยายจำนวนของคำนาม สามารถแทนด้วย才ได้ อย่างเช่นประโยคข้างต้นสามารเขียนอีกแบบว่า 才一个月,你怎么变了?แปลว่า เพิ่งจะเดือนเดียวเอง คุณเปลี่ยนไปได้ยังไง?
4. การใช้คำว่า 光 ทั้งในหน้าที่ของคำวิเศษณ์ คำเสริมท้ายกริยา และ คำนาม
*ใช้เป็นคำวิเศษณ์(วางหลังประธาน) จะมีความหมายว่า เอาแต่... ได้แก่ เอาแต่กิน เอาแต่นอน เช่น
你光说话不复习怎么能考上?
(ต. 你光說話不复習怎麽能考上?)
nǐ guāng shuō huà bù fù xí zěn me néng kǎo shàng?
คุณเอาแต่พูดแต่ไม่ทบทวนจะสอบติดได้อย่างไร?
**ใช้เป็นคำเสริมท้ายกริยา (วางหลังกริยา) จะมีความหมายว่า ...จนเกลี้ยง ...จนไม่เหลือ เช่น
我的面条被他吃光了。
(ต.我的面條被他吃光了。 )
wǒ de miàn tiáo bèi tā chī guāng le。
บะหมี่ของผมถูกเขากินจนไม่เหลือ
*** ใช้เป็นคำนาม มีความหมายว่าแสง เช่น
月光 yuè guāng แสงจันทร์
激光jī guāngแสงเลเซอร์
闪光灯shǎn guāng dēng แสงไฟกระพริบ
5. 就 ในความหมายของ ก็จะ... แค่... และ ...ทันที
* หากใช้ในประโยคหลัง 就จะมีความหมายว่า ก็จะ.../ก็เลย... เช่น
同学们来了我们就出发。
(ต. 同學們來了我們就出發。)
tóng xué men lái le wǒ men jiù chū fā。
เพื่อนนักเรียนมากันแล้วเราก็จะออกเดินทาง (ถ้าไม่มาเราก็ยังไม่ออกเดินทาง)
经理开完会就出来吃饭。
(ต. 經理開完會就出來吃飯。)
jīng lǐ kāi wán huì jiù chū lái chī fàn。
ผู้จัดการประชุมเสร็จก็จะออกมาทานข้าว
他不在,所以我就回家了。
tā bù zài,suǒ yǐ wǒ jiù huí jiā le。
เขาไม่อยู่ ฉะนั้นผมก็เลยกลับบ้าน
** หากใช้ 就 ขยายอยู่หน้าจำนวนตัวเลข คำนามและคำสรรพนาม จะมีความหมายว่า แค่... เช่น
就三个人一定打不过他。
(ต. 就三個人一定打不過他。)
jiù sān gè rén yī dìng dǎ bú guò tā。
มีกันแค่สามคนสู้เขาไม่ได้อย่างแน่นอน
就你? 你开玩笑吧?
(ต.就你? 你開玩笑吧? )
jiù nǐ? nǐ kāi wán xiào ba?
แค่คุณเนี่ยนะ? คุณล้อเล่นหรือเปล่า?
*** ถ้าเป็นประโยคความเดียว 就 มีความหมายว่า ...ทันที (เหมือนคำว่า 马上) แต่รูปแบบประโยคนี้ใช้ในภาษาพูดเท่านั้น
我就来! (ต. 我就來!) wǒ jiù lái! (ผม) มาทันทีครับ
我就上车。(ต.我就上車。 ) wǒ jiù shàng chē。(ผม) ขึ้นรถทันทีครับ
1.3 ใช้แสดงระดับของความรู้สึก
คำวิเศษณ์ที่ใช้บ่อยได้แก่:
很hěn ...มาก
极 (ต.極 ) jí ...ที่สุด, สุดๆ
挺tǐng ค่อนข้าง...
太tài ...เกินไป
最zuì ...ที่สุด
怪guài...พิลึก
逐渐 (ต.逐漸 ) zhú jiàn ค่อยๆ...ทีละนิด
相当/比较 (ต.相當/比較 ) xiāng dāng/ bǐ jiào ค่อนข้าง...
更/更加/越加 ... gèng/ gèng jiā/ yuè jiā ยิ่งขึ้น/ยิ่งกว่า
稍稍/渐渐 (ต.稍稍/漸漸 ) shāo shāo/ jiàn jiàn ค่อยๆ...
十分/格外/非常/特别shí fēn/ gé wài/ fēi cháng/ tè bié...มากๆ/...เป็นพิเศษ
ข้อควรจำและข้อสังเกตต่าง ๆ
1. คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงระดับของความรู้สึกมีวิธีใช้ที่ต่างจากคำวิเศษณ์ชนิดอื่นตรงที่ ใช้ขยายคำคุณศัพท์เท่านั้น ไม่สามารถใช้ขยายคำกริยาได้
2. คำว่า 太 / 极 มีความหมายอื่นที่นอกเหนือจากการเป็นคำวิเศษณ์
太太tài tài คุณนาย 太子tài zi รัชทายาท
南极 (ต.南極 ) nán jí ขั้วโลกใต้ 北极 (ต.北極 ) běi jí ขั้วโลกเหนือ
1.4 ใช้แสดงความถี่ของการกระทำ
คำวิเศษที่ใช้แสดงความถี่ของการกระทำที่ใช้บ่อยมีดังต่อไปนี้
又yòu ... อีกแล้ว
再zài ...อีกครั้ง/แล้วค่อย...
还 (ต.還) huán ยัง...อีกด้วย
也 yě ก็...ด้วย
再三 zài sān ... สองครั้งสองครา หรือครั้งแล้วครั้งเล่า
反复 (ต.反復) fǎn fù ซ้ำไปซ้ำมา
不断 (ต.不斷) bù duàn ...อย่างไม่ขาดสาย
连续(ต.連續) lián xù ...ติดต่อกัน
经常 (ต.經常 ) jīng cháng บ่อยครั้งที่...
往往 wǎng wǎng มักจะ.../บ่อยครั้งที่...
常常 cháng cháng ...เป็นประจำ
ข้อควรจำและข้อสังเกตต่างๆ
1. ความแตกต่างระหว่าง 又 และ 再
ในแง่ของความหมาย คำว่า 又 แปลว่า ...อีกแล้ว ส่วนคำว่า 再 แปลว่า...อีกครั้ง/แล้วค่อย ข้อสังเกตในการใช้คือ คำว่า 又ใช้ในประโยคที่กล่าวถึงการกระทำที่เกิดขึ้นซ้ำไปแล้ว เช่น กินอีกแล้ว (กินเป็นครั้งที่สองแล้วเป็นอย่างต่ำ) ไปอีกแล้ว (ไปมาครั้งที่สองเป็นอย่างต่ำ) เห็นอีกแล้ว ฯลฯ ส่วนคำว่า 再 ใช้ในประโยคที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่กำลังจะซ้ำ (แต่ยังไม่ซ้ำหรือยังไม่เกิด) เช่น จะกินอีกครั้ง จะไปอีกครั้ง หรือไปก็กรณีที่ผู้พูดออกคำสั่งให้ผู้ฟัง กระทำอีกครั้ง เช่น ช่วยกดปุ่มอีกครั้ง ช่วยตรวจสอบอีกครั้ง เราจะพูดว่า 再......一次 ดูประโยคตัวอย่างดังต่อไปนี้:
* กรณีที่การกระทำนั้น เกิดขึ้นซ้ำไปแล้ว ใช้ 又 เช่น
去年看了一次,今年我又看了。
qù nián kàn le yī cì jīn nián wǒ yòu kàn le
ปีที่แล้วผมดูแล้วครั้งหนึ่ง มาปีนี้ผมดูอีกแล้ว (ดูไปแล้วสองครั้ง)
你怎么又逃回来了?
(ต.你怎麼又逃回來了? )
nǐ zěn mo yòu táo huí lái le
นี่คุณหนีกลับมาอีกแล้วหรือเนี่ย ? (แสดงว่าเคยกลับมาครั้งหนึ่งแล้ว และได้กลับมาอีกเป็นครั้งที่สอง)
今天的菜又是苦瓜汤?
(ต.今天的菜又是苦瓜湯? )
jīn tiān de cài yòu shì kǔ guā tāng
กับข้าวของวันนี้เป็นน้ำแกงมะระอีกแล้วหรือเนี่ย ? (วันก่อนก็น้ำแกงมะระ)
* กรณีที่การกระทำนั้น กำลังจะซ้ำครั้งที่สอง ผู้พูดคาดว่าจะเกิดขึ้นแต่ในความเป็นจริงยังไม่เกิด (ยังไม่ซ้ำแต่กำลังจะซ้ำ) ใช้ 再 เช่น
去年看了一次,今年我要再看一次。
qù nián kàn le yī cì , jīn nián wǒ yào zài kàn yī cì.
ปีที่แล้วผมดูแล้วครั้งหนึ่ง มาปีนี้ผมจะดูอีกครั้ง (กำลังจะดูซ้ำ)
你再逃回来的话,我就打你的腿。
(ต.你再逃回來的話,我就打你的腿。 )
nǐ zài táo huí lái de huà wǒ jiù dǎ nǐ de tuǐ.
หากคุณหนีกลับมาอีกทีล่ะก็ ผมจะตีขาของคุณ (เป็นการประกาศล่วงหน้าในสิ่งที่จะเกิดขึ้น)
今天的菜又是苦瓜汤?明天会不会再是苦瓜汤啊?
(ต.今天的菜又是苦瓜湯?明天會不會再是苦瓜湯啊? )
jīn tiān de cài yòu shì kǔ guā tāng míng tiān huì bù huì zài shì kǔ guā tāng a
กับข้าวของวันนี้เป็นน้ำแกงมะระอีกแล้วหรือเนี่ย แล้วพรุ่งนี้จะเป็นน้ำแกงมะระอีกไหมเนี่ย?
* กรณีใช้เชื่อมเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ ใช้ 再 (แล้วค่อย...) เช่น
你先去看了再告诉我吧。
(ต.你先去看了再告訴我吧。 )
nǐ xiān qù kàn le zài gào sù wǒ ba
คุณไปดูก่อนแล้วค่อยมาบอกผมก็แล้วกัน (ถ้ายังไม่ดูก็อย่าเพิ่งบอก)
你应该吃好饭再来上课。
(ต.你應該吃好飯再來上課。)
nǐ yìng gāi chī hǎo fàn zài lái shàng kè
คุณควรจะทานข้าวให้เสร็จแล้วค่อยมาเข้าเรียน (ไม่ควรมาเข้าเรียนทั้งที่ยังไม่กินข้าว)
2. 也 และ 就
ในภาษาไทยคำว่า “ก็” มีความหมายได้สองแบบคือ ก็...ด้วย (หมายถึงการกระทำที่ซ้ำซ้อน) เช่น ผมก็อ่านหนังสือ เขาก็มาโรงเรียน และอีกความหมายหนึ่งคือ ก็จะ... เช่น พ่อมาแล้วฉันก็กลับบ้าน เรากินข้าวเสร็จก็เข้านอน ฯลฯ ซึ่งทำให้นักเรียนหลายคนเข้าใจผิดในการแต่งประโยคภาษาจีน เช่น
ผมก็อ่านหนังสือเหมือนกัน
แต่งประโยคผิดเป็น 我就看书。 wǒ jiù kàn shū
ประโยคที่ถูกต้องคือ 我也看书。wǒ yě kàn shū
พ่อมาแล้วฉันก็กลับบ้าน
แต่งประโยคผิดเป็น 爸爸来了我也走。bàbà láile wǒyě zǒu
ประโยคที่ถูกต้องคือ 爸爸来了我就走。 bà bà lái le wǒ jiù zǒu
3. 怪 มีหลายความหมาย
*กรณีใช้เป็นคำวิเศษณ์ จะมีความหมายว่า ...พิลึก/...ชะมัด ใช้กับประโยคที่แสดงความแปลกใจ เช่น
这孩子怪可怜的
(ต.這孩子怪可憐的 )
zhè hái zi guài kě líng de
เด็กคนนี้น่าสงสารชะมัดเลย
*กรณีใช้เป็นคำคุณศัพท์ จะมีความหมายว่า “แปลก” ย่อมาจากคำว่า 奇怪 แปลกประหลาด เช่น
这本书的内容真怪。
(ต.這本書的內容真怪。 )
zhè běn shū de nèi róng zhēn guài。
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แปลกจริงๆ
*กรณีใช้เป็นคำกริยา จะมีความหมายว่า “โทษ” หรือ “ตำหนิ” (ใช้ในภาษาพูด) เช่น
你别怪我呀!
nǐ bié guài wǒ yā!
คุณอย่าโทษฉันซิ!
*กรณีใช้เป็นคำนาม จะมีความหมายว่า ตัวประหลาดหรือปีศาจ เช่น
听说这里常常闹鬼怪。
(ต. 听說這里常常鬧鬼怪。)
tīng shuō zhè lǐ cháng cháng nào guǐ guài。
ได้ข่าวว่าที่นี่ภูตผีปีศาจอาละวาดเป็นประจำ
1.5 ใช้แสดงน้ำหนักและอารมณ์ของประโยค
คำวิเศษณ์ที่แสดงน้ำหนักหรืออารมณ์ของประโยคที่พบบ่อยได้แก่:
可kě ...สักนิด
幸亏 (ต.幸虧 ) xìng kuīโชคดีที่...
难道 (ต.難道 ) nán dào นี่...เลยหรือ
几乎(ต.幾乎 ) jǐ hū เกือบจะ
果然 guǒ rán ...จริงๆด้วย
明明 míng míng ...ชัดๆ
偏偏 piān piān ฝืนจะ...ให้ได้
反正 fǎn zhèng ยังไงซะ...
究竟/到底 jiù jìng/ dào dǐ ...กันแน่?
简直 (ต.簡直 ) jiǎn zhí แทบจะ...
差点儿 (ต.差點儿 ) chā diǎn ér เกือบจะ...
ตัวอย่างประโยค
可 我可不愿意跟你一起去。 ฉันไม่ยอมไปกับคุณแน่
(ต.我可不願意跟你一起走。 )
wǒ kě bù yuàn yì gēn nǐ yī qǐ qù。
幸亏 我幸亏没有真的爱上你。 โชคดีที่ฉันไม่ได้หลงรักคุณเข้าจริงๆ
(ต.我幸虧沒有真的愛上你。 )
wǒ xìng kuī méi yǒu zhēn de ài shàng nǐ。
难道 难道你没有爱过我吗? นี่คุณไม่เคยรักผมเลยหรือ?
(ต.難道你沒有愛過我嗎? )
nán dào nǐ méi yǒu ài guò wǒ ma?
究竟 你究竟爱谁? คุณรักใครกันแน่?
(ต.你究竟愛誰? )
nǐ jiù jìng ài shéi?
偏偏 为什么你偏偏不爱我? ทำไมคุณ ฝืน/ดื้อดึง ที่จะไม่รักผม?
(ต.為什麼你偏偏不愛我? )
wéi shén me nǐ piān piān bù ài wǒ?
反正 我反正不爱你,你放弃吧。 ยังไงซะฉันก็ไม่รักคุณ คุณปล่อยวางเถอะ
(ต.我反正不愛你,你放棄吧。 )
wǒ fǎn zhèng bù ài nǐ,nǐ fàng qì ba。
简直 我简直无法相信。 ผมแทบไม่อยากจะเชื่อเลย
(ต.我簡直無法相信。 )
wǒ jiǎn zhí wú fǎ xiāng xìn。
差点儿 我差点儿爱上你了,可是我没有。ฉันเกือบรักคุณเข้าแล้ว แต่ฉันเปล่า
(ต.我差點儿愛上你了,可是我沒有。 )
wǒ chā diǎn ér ài shàng nǐ le,kě shì wǒ méi yǒu。
几乎 我几乎疯了。 ผมแทบจะบ้าตาย
(ต.我幾乎瘋了。 )
wǒ jǐ hū fēng le。
果然 你果然骗我。 คุณหลอกผมจริงๆด้วย
(ต.你果然騙我。)
nǐ guǒ rán piàn wǒ。
明明 你明明是魔鬼!我却爱上了你!คุณเป็นมารร้ายชัดๆ แต่ผมกลับหลงรักคุณ
(ต.你明明是魔鬼!我卻愛上了你!)
nǐ míng míng shì mó guǐ!wǒ què ài shàng le nǐ!
* 反正 / 幸亏 / 果然 / 难道 สามารถใช้ขึ้นต้นประโยคได้ (วางไว้ด้านหน้าของประธาน) เช่น
我幸亏没有真的爱上你。 โชคดีที่ผมไม่ได้หลงรักคุณจริงๆ
wǒ xìng kuī méi yǒu zhēn de ài shàng nǐ。
สลับเป็น
幸亏我没有真的爱上你。
xìng kuī wǒ méi yǒu zhēn de ài shàng nǐ。
我反正不爱你。wǒ fǎn zhèng bù ài nǐ ยังไงซะผมก็ไม่ได้รักคุณ
สลับเป็น
反正我不爱你。fǎn zhèng wǒ bù ài nǐ
1.6 ใช้แสดงสถานการณ์หรือสภาพของการกระทำ
คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงสถานการณ์หรือสภาพของการกระทำที่มักพบเห็นบ่อยมีดังนี้:
依然 yī rán ยังคง...
仍然 réng rán ยังคง...
自然 zì rán ...แน่อยู่แล้ว
互相hù xiāng ...ซึ่งกัน
特地 tè dì ...โดยเฉพาะ
专门 (ต.專門) zhuān mén...โดยเฉพาะ
存心/故意cún xīn/ gù yì จงใจ
显然 (ต.顯然) xiǎn rán ...อย่างเห็นได้ชัด
亲自 (ต.親自) qīn zì... ด้วยตนเอง
ตัวอย่างประโยค
依然 十年了,我依然想念着他。 สิบปีแล้ว ฉันยังคงคิดถึงเขาอยู่
(ต.十年了,我依然想念著他。)
shí nián le,wǒ yī rán xiǎng niàn zhù tā。
自然 我抛弃了他,他自然恨我。 ฉันทอดทิ้งเขา เขาย่อมเกลียดฉันอยู่แล้ว
(ต.我拋棄了他,他自然恨我。)
wǒ pāo qì le tā,tā zì rán hèn wǒ
显然 他显然还在生气。 เห็นได้ชัดว่าเขายังโกรธฉันอยู่
(ต.他顯然還在生氣。)
tā xiǎn rán hái zài shēng qì。
亲自 这次我该亲自去跟他解释。 คราวนี้ฉันควรจะไปอธิบายกับเขาด้วยตัวเอง
(ต.這次我該親自去跟他解釋。)
zhè cì wǒ gāi qīn zì qù gēn tā jiě shì。
互相 希望我们能互相原谅。 หวังว่าเราสามารถให้อภัยซึ่งกันและกันได้
(ต.希望我們能互相原諒。)
xī wàng wǒ men néng hù xiāng yuán liàng。
特地 我特地为他织了一件毛衣。 ฉันทักเสื้อไหมพรมตัวหนึ่งเพื่อเขาโดยเฉพาะ
(ต.我特地為他織了一件毛衣。)
wǒ tè dì wéi tā zhī le yī jiàn máo yī。
存心 他知道我不是存心伤害他的。เขารู้ว่าฉันไม่ได้ตั้งใจทำร้ายเขา
(ต.他知道我不是存心傷害他的。)
tā zhī dào wǒ bú shì cún xīn shāng hài tā de。
หวังว่าประโยคจากละครน้ำเน่าๆจะช่วยให้การเรียนสนุกขึ้นนะครับ ^_^
2. ข้อสังเกตและข้อเปรียบเทียบเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำวิเศษณ์ในภาษาจีน
การที่ผมแยกเนื้อหาส่วนนี้ออกจากเนื้อหาที่ได้กล่าวไปทั้งหมดในข้างต้นนั้น เนื่องจากเป็นข้อสังเกตและข้อเปรียบเทียบที่ซับซ้อนกว่า หากรวมอยู่ในเนื้อหาหัวข้อในตอนแรกอาจทำให้นักเรียนรู้สึกสับสนได้ ฉะนั้นเนื้อหาส่วนนี้ผมจึงเลือกที่จะกล่าวถึงหลังจากที่นักเรียนได้ทำความเข้าใจความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคำวิเศษณ์แล้วจะดีกว่า
2.1 又และ再ในประโยคที่มีคำว่า 能 (สามารถ...)
又ต้องขยายอยู่หน้า能 เสมอ ส่วน再ต้องเสริมอยู่ข้างหลัง能เสมอ เช่น
你不是病了吗?怎么又能去工作了?
(ต.你不是病了嗎?怎麼又能去工作了?)
nǐ bú shì bìng le ma?zěn me yòu néng qù gōng zuò le?
คุณป่วยไม่ใช่หรือ?ทำไมสามารถไปทำงานได้อีกแล้วล่ะ?
(*ผู้พูดกำลังประหลาดใจเมื่อเห็นผู้ฟังไปทำงานอีกแล้ว)
你不是病了吗?怎么能再去工作?
(ต.你不是病了嗎?怎麽能再去工作?)
nǐ bú shì bìng le ma?zěn me néng zài qù gōng zuò?
คุณป่วยไม่ใช่หรือ? จะไปทำงานอีกได้ยังไงกัน? (*ผู้พูดกำลังห้ามผู้ฟังกระทำ)
2.2 又กับ 再ไม่สามารถปรากฏในประโยคเดียวกันได้ แต่还และ再สามารถปรากฏในประโยคเดียวกันได้ เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับประโยค เช่น
我还想再吃一碗呢! ฉันอยากจะกินอีกชามด้วยซ้ำไป
(ต.我還想再吃一碗呢!)
wǒ hái xiǎng zài chī yī wǎn ne!
妈妈还想再买三瓶呢! คุณแม่ยังจะซื้ออีกสักสามขวดด้วยซ้ำไป
(ต.媽媽還想再買三瓶呢!)
mā mā hái xiǎng zài mǎi sān píng ne!
2.3 หลังคำว่า都 สามารถตามด้วยคำนามได้ (ปกติคำวิเศษณ์ต้องตามด้วยคำกริยาหรือคำคุณศัพท์เท่านั้น) ซึ่งกรณีนี้ขอให้นักเรียนเข้าใจว่า ตัวประโยคได้ละกริยาไว้ในฐานที่เข้าใจแล้ว เช่น
人家都年轻人了,你还担心什么?
(ต.人家都年輕人了,你還擔心甚麼?)
rén jiā dōu nián qīng rén le,nǐ hái dān xīn shén me?
*ย่อมาจาก人家都长大成年轻人了,你还担心什么?
(ต.人家都長大成年輕人了,你還擔心甚麼?)
rén jiā dōu zhǎng dà chéng nián qīng rén le,nǐ hái dān xīn shén me?
คนเค้า (โตเป็น) วัยรุ่นแล้ว คุณยังจะกังวลอะไรอีก?
2.4 ประโยคที่มีคำว่า太มักจะลงท้ายด้วย了 ส่วนประโยคที่มีคำว่า很ไม่จำเป็นต้องลงท้ายด้วย了 เช่น
家太乱了,收拾收拾吧。
(ต.家太亂了,收拾收拾吧。 )
jiā tài luàn le,shōu shí shōu shí ba。
บ้านรกเหลือเกิน เก็บกวาดหน่อยเถอะ
家很乱,收拾收拾吧。
(ต.家很亂,收拾收拾吧。 )
jiā hěn luàn,shōu shí shōu shí ba。
บ้านรกมาก เก็บกวาดหน่อยเถอะ
2.5 更และ 还 ในประโยคเปรียบเทียบ (โครงสร้าง A 比B ...)
我吃饭比他更快。
(ต.我吃飯比他更快。 )
wǒ chī fàn bǐ tā gèng kuài。
ผมทานข้าวเทียบกับเขาแล้ว เร็วยิ่งกว่า (ผมกินเร็วกว่าเขา)
他的个子比我还高。
(ต. 他的個子比我還高。)
tā de gè zi bǐ wǒ huán gāo。
รูปร่างของเขาเทียบกับผมแล้วสูงกว่าอีก (เขาสูงกว่าผม)
*ภาษาจีนไม่นิยมเปรียบเทียบโดยการพูดว่า สูงกว่า มากกว่า ดีกว่า... แต่นิยมพูดว่า 比...高 เทียบกันแล้วสูง (แปลว่าสูงกว่า) ;比...多เทียบกันแล้วมาก (แปลว่ามากกว่า) ; 比...好เทียบกันแล้วดี (แปลว่าดีกว่า)
[ความจริง5ข้อที่ทำให้ภาษาจีนเป็นหนึ่งในภาษาที่เรียนง่ายที่สุด]
เป็นความจริง5ข้อที่พี่อี้คอยบอกน้อง ๆ นักเรียนเเละผู้ปกครอง เเละคิดว่าเป็นการ"พลิก"ทัศนคติในการเรียนภาษาจีนได้ดี เรื่องมีอยู่ว่า... คำพูดที่ว่าภาษาจีนเรียนยากเป็นคำพูดได้ได้ยินมาจากนักเรียนเเละผู้ปกครองมานาน ทั้ง ๆ ที่หลายคนยังไม่เคยเรียน(เช่นเด็กม.4ที่เพิ่งเข้าเรียนสายศิลป์-จีน) นั่นพิสูจน์ว่า "ความยาก"ที่ว่านั้นเป็นเเค่ "เขาบอกว่า / เขาเล่าว่า" ส่วน"เขา"คือใคร ไม่รู้เหมือนกัน จริงไหม? ถ้าเช่นั้นมาฟัง"ครู / ผู้รู้" ดีกว่าครับ
1.ภาษาจีนไม่มีการผันTense(กริยา3ช่อง) เเปลว่าระบบไวยากรณ์ในส่วนนี้น้อยกว่าภาษาอังกฤษ3เท่า นี่ยังไม่นับเรื่องการผันประธานตามกริยาเเละการเเบ่งเอกพจน์พหูพจน์ ตลอดจนการเติม suffix prefix ที่เเต่ละอย่างมีวิธีเติมเป็น 10 รูปเเบบ ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ภาษาจีน "ไม่มี" "ไม่ต้องเรียน" เพราะภาษาจีนสร้างคำใหม่ด้วยการนำคำที่มีอยู่เเล้วเเต่เดิมมาเรียงกันเฉยๆ ฉะนั้นยิ่งเรียนระดับสูงขึ้นจะยิ่งเร็วเเละง่ายขึ้น เป็นการเอาคำที่เคยเรียนมาจับคู่แค่2-3พยางค์เสมอ
2.โดยเฉลี่ยเเล้วสำหรับคนต่างชาติที่เรียนจีน ใช้ภาษาจีนเเค่ประมาณ 1500-2000คำก็สามารถนำมาเขียนเรียงความ ส่งการบ้านจนจบปริญญาตรีได้ ซึ่งคำ1500คำที่ว่านี้คือ คำที่ตอนเรียนม.ปลายศิลป์-จีนหรือคนที่เคยเรียนภาษาจีนสัก1-2ปีเรียนไปเเล้วนั่นเอง ตอนไปเรียนต่อคือคุณเเค่นำคำเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ต่อ ไม่ใช่การเรียน"คำใหม่" ตลอดเวลาเเบบภาษาตะวันตก ฉะนั้นคิดเเบบคร่าวๆ ถ้าเป็นภาษาที่มีการผันรูป คุณต้องจำมากกว่าภาษาจีนอีก3-4เท่าเพราะวิธีผันเป็นคำนาม กริยา คุณศัพท์ เป็นประธาน เป็นกรรม ต้องผันใหม่หมด)ภาษาตะวันตกเเม้เเต่คำที่เคยเรียนไปตอนม.ปลายพอเข้ามหาลัยยังต้องเรียนเพิ่มว่ามันผันได้ไหม ถ้ามันผสมกับรากศัพท์อื่นต้อง"ละ"คำไหน ต้อง"ผัน"ตัวไหน ต้อง...ต้องๆๆ...ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ภาษาจีน "ไม่มี" คุณเเค่ใช้ซ้ำคำที่มีอยู่เเล้วไปเรื่อย ๆ
3.ถ้าใครบอกว่าภาษาจีนนั้นยากเพราะต้อง"เขียน" ขีดมันเยอะตัวหนึ่งต้องเขียนตั้ง20-30ขีด งั้นผมจะบอกให้ 聾ซึ่งมีอยู่20กว่าขีด ผมพิมพ์คีย์บอร์ดเเค่4ที (聾long) หรือถ้าพิมพ์เป็นวลี/ประโยค เช่น 耳聾/ er long(หูหนวก) 2พยางค์จิ้มคีบอร์ดเเค่6ทีครับ มันจะขึ้นคำที่ถูกต้องมาให้เลยโดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ด้วยซ้ำ คุณไม่ต้องตรวจทานด้วยซ้ำเพราะระบบคีบอร์ดบนคอมพิวเตอร์มันตรวจทานให้คุณในตัว หมดปัญหาการ"เขียนผิด" ส่วนคนที่ยังยืนยันว่าภาษาจีนเขียนยากเวลาใช้ดินสอปากกา ก็ต้องถามคุณว่า "คุณใช้ดินสอทำงานจริงๆครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?" ทุกวันนี้ในการเรียน เรายังเขียนมือบ้างเพื่อฝึก"พื้นฐาน" เราคัดจีนเพื่อท่อง-จำคำศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น เมื่อเข้าสู่ระบบมหาลัยเเละโลกของการทำงานเเล้ว คุณจะใช้ดินสอเขียนมือ หรือ ใช้คอมพิมพ์ "แล้วเเต่คุณ" คุณเลือกเองได้ เเละร้อยๆ99พิมพ์ครับ
4.ประโยคภาษาจีนร้อยละ80ต่อให้พูดผิดไวยากรณ์ เรียงประโยคผิด ก็อ่าน-ฟังพอเข้าใจอยู่ดี ตรงนี้คล้ายภาษาไทยนะ เพราะความหมายของ"คำ"ไม่ได้ผูกมัดด้วยการผันไวยากรณ์เเบบอังกฤษ ภาษาตะวันตกส่วนใหญ่ Tense เปลี่ยน ความหมายเปลี่ยนด้วย ลำดับเปลี่ยนบางทีความหมายก็เปลี่ยนตามด้วย ภาษาจีนกับภาษาไทย เเทบไม่มีอุปสรรคตรงนี้
5. ถ้าคุณเข้าใจข้อที่1-4ที่ผมเขียนไว้ข้างบนเเล้ว เหตุผลข้อที่5 ไม่ต้องมีมันเลยก็ได้ครับ 555
ความจริงหากจะนับเหตุผลที่ภาษาจีนทำไมถึงเรียนง่ายกว่าภาษาอื่น เคยมีผลงานวิจัยระดับมหาลัยทั่วโลกได้ศึกษาเเละตีพิมพ์มาหมดเเล้ว นับได้เป็นสิบๆข้อ