ภาษาจีน ม. ปลาย คำนามและสรรพนามในภาษาจีน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 29.7K views



汉语中的名词与代词

 

      ในภาษาจีน   คำนามและสรรพนามมีความรู้และข้อสังเกตที่น่าสนใจอยู่มากมาย  หากมองข้ามความรู้เหล่านี้ไปจะทำให้นักเรียนรู้สึกว่าบทเรียนบทนี้ยากมาก   สาเหตุก็เพราะไม่สามารถหาหลักทำความเข้าใจอย่างเป็นระบบได้   ความรู้ที่ได้รับจะกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ

  

ในการสอบแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการสอบPAT7.4 หรือ HSK สิ่งที่เหมือนกันคือการจำกัดเวลา  นักเรียนต้องทำข้อสอบภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งเฉลยแล้วมีเวลาทำข้อสอบแค่1นาทีเศษ ๆ ต่อ1ข้อเท่านั้น (ความจริงน้อยกว่านั้น เพราะข้อสอบช่วงท้าย ๆ เป็นบทความยาว ต้องใช้เวลาในการอ่านมาก) 

 
              การไม่แน่ใจ   นึกไม่ออกว่าคำไหนเหมาะ   เพราะขาดความรู้หลักไวยากรณ์คือสาเหตุที่ทำให้เสียเวลาและเลือกคำตอบผิด  ในบทเรียนนี้ผมจะเน้นข้อสังเกตสำคัญ ๆ เกี่ยวกับการใช้คำนามและสรรพนาม  เพื่อเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจและจดจำได้ง่ายขึ้น  ซึ่งจริง ๆ แล้วมีหลักการที่ไม่ซับซ้อน  เพื่อผลสูงสุดในการเรียนรู้   

 

อะไรคือข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับคำนามและสรรพนามในภาษาจีน?

              ความจริงทุกภาษามีจุดเด่นของตัวเอง  และก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้   เราควรจะสังเกตลักษณะเด่นของภาษานั้น เหมือนกับการจำแนกระหว่างม้า กับ ม้าลาย   สิ่งแรกที่ทำให้เราแยกแยะสัตว์สองชนิดได้คือ  จุดเด่นตามร่างกาย  เช่น  ม้าลายต้องสีขาวสลับดำและหางสั้น  ไม่ใช่ไปสนใจรายละเอียดปลีกย่อยว่าม้าธรรมดามีฟันกี่ซีก ม้าลายมีฟันกี่ซีก การเรียนและความเข้าใจ เริ่มต้นจากการสังเกตจุดเด่นเสมอ

 

นักเรียนควรจะสังเกตลักษณะเด่นเหล่านี้เป็นช่วยจดจำและจำแนกคำนามในภาษาจีนได้ง่ายขึ้น

              1.   ภาษาจีนนิยมเติมคำลงท้ายไว้หลังคำนาม  เช่น  孩เด็ก  、果ผลไม้  、被ผ้าห่ม 、 花ดอกไม้  、猫(ต.貓儿)แมว  、老(ต.老頭)ตาเฒ่า   เป็นต้น  และบางครั้งเป็นการเติมคำนำหน้าไว้หน้าคำนาม เช่น 爸พ่อ(เป็นภาษาชาวบ้าน คล้ายกับคนไทยที่เรียกคุณพ่อว่า พ่อจ๋า)  、姨อะอี๊、师(ต.老師)คุณครู 、虎เสือ 、猫แมวน้อย  เป็นต้น  

*คล้ายกรณีภาษาไทยที่หน้าคำนามมักจะปรากฏคำว่า  หมากหรือมะ เช่น  หมากรุก หมากเตะ(ฟุตบอล)  มะพร้าว   หรือไม่ก็เติมคำว่า เจ้า หน้าคำนามต่าง ๆ เช่น เจ้าลิง  เจ้าเงาะ  เจ้าเด็กน้อย  เป็นต้น ซึ่งคำเติมหน้าเหล่านี้ไม่ได้สื่อความหมายหลักแต่จำเป็นต้องมี

 ข้อสังเกต   คำว่า子และ 儿(ต.兒)โดยปกติแล้วมักใช้ในการลงท้ายคำนามเพียงเพื่อให้คำนามคำนั้นฟังสบายหูกว่าเท่านั้น  ไม่ได้เติมเพื่อเปลี่ยนแปลงความหมายแต่อย่างใด  ;ส่วนคำว่า  小ใช้เติมหน้าคำนามที่มีอายุน้อยหรือไม่ก็รูปร่างเล็กและน่ารัก  จึงเหมาะที่จะใช้เติมหน้าชื่อเด็ก รุ่นน้อง  เพื่อนที่มีอายุน้อยกว่า หรือไม่ก็สัตว์เลี้ยงตัวโปรด  เช่น  小陈(ต.小陳)、 小弟(คำนี้มักหมายถึง ไอ้น้อง หรือไม่ก็ ลูกมือที่ช่วยทำงาน)、 小猫(ต.小貓)แมวน้อย  ส่วน老มักจะใช้เติมหน้าคำนามที่มีอายุมาก   มีประสบการณ์มาก  หรือไม่ก็สัตว์บางชนิดที่คนไม่ชอบ  เช่น  老陈(ต.老陳)ผู้อาวุโสที่แซ่เฉิน、老将(ต.老將)ขุนศึกที่เจนสนามรบ、老鼠หนู(สัตว์ที่คนไม่ชอบมักมีคำว่า老นำหน้า)     แต่คำว่า老师(ต.老師)ที่แปลว่าครู 老ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าเป็นสิ่งที่คนไม่ชอบนะครับ    คำนี้เกิดจากคำว่า 老ชำนาญ + 师นำทาง  นัยว่าเป็นผู้ชำนาญในการนำทาง   แฝงปรัชญาว่า  ผู้เป็นครูคือผู้ชำนาญในการนำทาง   ไม่ใช่ผู้ “บังคับ”ทาง     เป็นสิ่งเตือนใจผู้เป็นครูและเตือนใจนักเรียนในขณะเดียวกัน

 

              2. บางคำนิยมใช้สำหรับลงท้ายคำนาม  เพื่อจำแนกกลุ่มคำนามตามสาขาอาชีพหรือไม่ก็ตำแหน่งหน้าที่   เช่น    科学(ต.科學家)kēxuéjiā นักวิทยาศาสตร์   、画(ต.畫家)จิตรกร/นักวาด   、服务(ต.服務員)บริกร   、人(ต.人員)บุคลากร 、用  วิธีใช้ 、写(ต.寫法)วิธีเขียน 、数(ต.數學)คณิตศาสตร   、医(ต.醫學)แพทยศาสตร   、高ความสูง 、湿(ต.濕度)ความชื้น 、 歌 นักร้อง  、水 นักประดาน้ำ/กะลาสี  、民主主义(ต.民主主義)ลัทธิ/แนวความคิดแบบประชาธิปไตย  、资本主义(ต.資本主義)ลัทธิทุนนิยม 、共产主义(ต.共產主義)ลัทธิคอมมิวนิสต์ 

         

              3. คำระบุเวลาตัวมันเองเป็นคำนามได้  ใช้เป็นประธานของประโยคได้   เช่นประโยคเหล่านี้

        明天 会更好。             (ต.明天會更好。)

        Míng tiān huì gèng hǎo    

        พรุ่งนี้จะดียิ่งกว่า  (ประโยคนี้มักใช้ตอนที่เราจะให้กำลังใจใครสักคน)

        现在 已经上班了。           (ต.現在已經上班了。)

        Xiàn zài yǐ jīng shàng bān le                         

        ขณะนี้เป็นเวลาทำงานแล้ว

 

        等一会儿 就吃饭了。(ต.等一會儿就吃飯了。)

        Děng yī huì ’er jiù chī fàn le        

        อีกสักครู่ก็ทานข้าวแล้วล่ะ

*คำว่า 等一会儿คำนามแปลว่าอีกสักครู่  ใช้เป็นกริยาแปลว่า รอสักครู่   และในกรณีภาษาพูดเรามักจะได้ยินคนจีนพูดว่า 待会儿dāi huì’er แทนคำว่า等一会儿

                     

              4คำกริยาส่วนใหญ่สามารถใช้เป็นคำนามได้โดยไม่ต้องผันรูปและไม่ต้องเติมคำนำหน้าหรือคำเสริมท้ายเหมือนในภาษาอังกฤษ หรือ ไทย เป็นต้น    โดยเฉพาะในคำประสมที่มีสองพยางค์  (ภาษาเขียนที่ใช้ระบบสะกดส่วนมาก เวลาจะใช้คำกริยาเป็นคำนามต้องมีการผันรูป   กรณีภาษาไทยก็มีวิธีการผันโดยการเติมคำว่า การ / ความ หน้ากริยา   เช่น คำว่า การเรียน ความเข้าใจ ความสับสน ฯลฯ ส่วนในภาษาจีนไม่จำเป็นต้องเติมคำเสริมท้ายใด ๆ เลย   ดูตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้

 

        等待是浪费时间。  (ต.等待是浪費時間。)

        Děng dài shì làng fèi shí jiān  

         การรอคอยคือการเสียเวลา

 

        她学习不用功,所以学习不太好。

        (ต.她學習不用功,所以學習不太好)

        Tā xué xí bù yòng gōng , suǒ yǐ xué xí bù tài hǎo

        หล่อนเรียนหนังสืออย่างไม่ค่อยตั้งใจ   ฉะนั้นการเรียนจึงไม่ค่อยดี

* กริยา:学习  เรียน / ศึกษา  สังเกตได้ว่า ในประโยคนี้ คำว่า学习คำแรกหมายถึงเรียน ส่วนคำที่สองหมายถึง การเรียน

 

        是一种感觉。   

        (ต.怕是一種感覺。)

        Pà shì yī zhòng gǎn jué    

        ความกลัวเป็นความรู้สึกชนิดหนึ่ง

 

              5. คำคุณศัพท์ก็สามารถนำมาใช้เป็นคำนามโดยไม่ต้องผันรูปเช่นกัน

             

        寂寞能够夺走人的生命。

        (ต.寂寞能夠走人的生命。)

        Jì mò néng gòu duó zǒu rén de shēng mìng  

        ความเหงา สามารถแย่งชิงชีวิตของคนเราไปได้

* ความแตกต่างระหว่าง生命 และ 生活 ;生命หมายถึง ชีวิต (ความเป็นความตาย)  / 生活ชีวิต (ความเป็นอยู่)

 

        永恒是每对情人的愿望。

        (ต.永恒是每對情人的愿望。)

        Yǒng héng shì měi duì qíng rén de yuàn wàng 

        ความเป็นนิรันดร์คือความใฝ่ฝันของคู่รักทุกคู่

 

        伤心可以说是爱的一个过程。

        (ต.傷心可以說是愛的一個過程。)

        Shāng xīn kě yǐ shuō shì ài de yī gè guò chéng  

        ความโศกเศร้ากล่าวได้ว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งของความรัก

 

              6.  คำนามสำหรับระบุตำแหน่งในภาษาจีนมีความสำคัญมาก  และไม่สามารถละเลยการเติมคำระบุตำแหน่งได้  เพราะหากไม่เติมจะผิดไวยากรณ์ทันที ดังนั้นทุกครั้งที่เราจะระบุตำแหน่งของสิ่งของ ต้องระบุตำแหน่งที่ชัดเจนด้วยเสมอ  คำระบุตำแหน่งในภาษาจีนมีอยู่ทั้งหมด 14 ตัว คือ上、下、前、后、里、外、内、中、左、右、东、西、南、北

ดูตัวอย่างการใช้ดังต่อไปนี้

 

        钱包放在桌子上。  (ต.錢包放在桌子上。)

        Qián bāo fàng zài zhuō zi shàng        

        กระเป๋าเงินวางไว้บนโต๊ะ

 

        书在书包里。      (ต.書在書包裏。)

        Shū zài shū bāo lǐ  

        หนังสืออยู่ในกระเป๋าหนังสือ

 

คำนามสำหรับระบุตำแหน่งที่น่าสนใจ

6.1    ความแตกต่างระหว่าง里กับ里面 / 前กับ前面 / 后กับ后面

        สังเกตง่ายๆว่าคำศัพท์กลุ่มนี้  คำที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย面 (ด้าน) ไม่สามารถใช้เป็นคำนามได้    ส่วน 里面ด้านใน / 前面ด้านหน้า / 后面ด้านหลัง คำเหล่านี้สามารถใช้เป็นคำนามได้  สามารถนำมาใช้เป็นประธานหรือกรรมของประโยคได้ 

 

        前面是陷阱。             อย่าเขียนผิดเป็น          是陷阱。

        Qián miàn shì xiàn jǐng         

        ข้างหน้าเป็นกับดัก/หลุมพราง

 

        里面有一只猫。          อย่าเขียนผิดเป็น        有一只猫。

        (ต.裡面有一只貓。)

        Lǐ miàn yǒu yī zhī māo     

        ข้างในมีแมวหนึ่งตัว

 

        右边是我家。              อย่าเขียนผิดเป็น        是我家。

        (ต.右邊是我家。)

        Yòu biān shì wǒ jiā         

        ข้างขวาเป็นบ้านของฉัน

 

 

6.2    คำนามระบุตำแหน่งที่นักเรียนควรรู้จัก

正面                              ด้านหน้า(หัว)               反面                       ด้านหลัง(ก้อย)

侧面(ต.側面)                 ด้านเยื้องกัน               对面(ต.對面)          ด้านตรงข้าม

以上                              ดังข้างต้น                   以下                       ดังต่อไปนี้                 

底下                              ด้านล่าง                     地下                       ใต้ดิน

左端                              ปลายซ้ายสุด               右端                       ปลายขวาสุด         

以前                              เมื่อก่อน                     以后                       วันหน้า / วันหลัง

     

              ประการต่อมา นักเรียนควรจะให้ความสนใจในคำกริยาที่มักจะเกี่ยวข้องกับคำนามที่ระบุตำแหน่ง  เพราะเป็นกลุ่มคำศัพท์ที่ต้องใช้ควบคู่ไปด้วยกันอยู่เสมอๆ  เช่นกริยาคำว่า  มี  วาง  เรียง  พาด  ติด  อยู่   ห้อย ฯลฯ  ดูตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

        正面校徽,反面校旗。

        Zhèng miàn yìn xiào huī , fǎn miàn yìn xiào qí                  

        ด้านหน้าพิมพตราโรงเรียน ด้านหลังพิมพธงโรงเรียน

 

        神台侧面着我家。

        Shén tái cè miàn duì zhù wǒ jiā 

        ด้านเฉียงของแท่นบูชาหันหน้าเข้าหาบ้านผม

 

        左端着衣服,右端着通知。

        Zuǒ duān guà zhe yī fú , yòu duān tiē zhe tōng zhī       

        ปลายด้านซ้ายแขวนเสื้อผ้าไว้  ปลายด้านขวาติดประกาศไว้

 

คำนามที่เป็นนามธรรม

              มักจะเป็นคำศัพท์ที่นักเรียนจำไม่ค่อยได้  แต่ก็มักจะออกสอบอยู่บ่อยครั้ง  ฉะนั้นอย่างน้อยนักเรียนที่จะเข้าสอบ ไม่ว่าจะเป็นการสอบเข้ามหาวิทยาลัย  หรือ การสอบ HSK  ควรจะมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ประเภทคำนามที่เป็นนามธรรม    ซึ่งกลุ่มที่ควรศึกษาคือกลุ่มที่มีความหมายเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม  เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว  ยกตัวอย่างเช่น

友谊  มิตรภาพ

yǒuyì

(ต.友 誼)

和平  สันติภาพ

hépíng

 

战争 สงคราม

zhànzhēng

(ต.戰 爭)

礼貌  มารยาท

lǐmào

(ต.禮貌)

学问ความรู้

xuéwèn

(ต.學 問)

知识  ความรู้

zhīshi

(ต.知 識)

措施 แนวทางปฏิบัติ

cuòshī

生命  ชีวิต

shēngmìng

 

生活 การดำรงชีวิต

shēnghuó

 

生存  ความอยู่รอด

shēngcún

思想 ความคิด

sīxiǎng

兴趣 ความสนใจ

xìngqù

(ต.興 趣)

幸福  ความสุข

xìngfú

痛苦  ความทุกข์

tòngkǔ

精神  จิตวิญญาณ

jīngshén

精力   สมาธิ   แรงใจ

jīnglì

障碍อุปสรรค

zhàng’ài                          

(ต.障 礙)

奋斗 การต่อสู้ฟันฝ่า

fèndòu

(ต.奮 斗)

经验ประสบการณ์

jīngyàn 

(ต.經 驗)

感受 ความรู้สึก

gǎnshòu

 

* 精神 เป็นคำที่มีความหมายหลากหลาย  สามารถแปลเป็น  จิตใจ จิตวิญญาณ  และ สมาธิ  เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

 

        精神领袖       jīngshén lǐngxiù          ผู้นำด้านจิตวิญญาณ

        爱国精神       àiguó jīngshén               จิตใจรักชาติ

        集中精神       jízhōng jīngshén          รวบรวมสมาธิ

 

คำนามที่พบเห็นบ่อยในข่าวประจำวัน

หมวดข่าวการเมือง

政治                         zhèngzhì                             การเมือง 

竞选(ต.競選)     jìngxuǎn                             การเลือกตั้ง  

投票                          tóupiào                              การ ลงคะแนน         

政府                          zhèngfǔ                             รัฐบาล  

机构(ต.機構)     jī gòu                                 หน่วยงาน       

组织(ต.組織)     zǔ zhī                                องค์กร / ขบวนการ       

总统(ต.總統)     zǒng tǒng                           ประธานาธิบดี   

总理(ต.總理)     zǒng lǐ                                 นายกรัฐมนตรี

反对(ต.反對)     fǎn duì                                 การคัดค้าน     

抗议(ต.抗議)     kàng yì                                 การประท้วง

 

หมวดข่าวการศึกษา

教育                               jiàoyù                              การศึกษา  

培训(ต.培訓)          péixùn                             อบรม  

课程(ต.課程)          kèchéng                           วิชา         

教授                               jiàoshòu                            ศาสตราจารย์    

博士                               bóshì                                ดอกเตอร์

研究生(ต.硏究生) yánjiūshēng                        นักเรียนวิจัย(นักศึกษาปริญญาโท) 

学院(ต.學院)          xuéyuàn                             สถาบัน

研究所(ต.硏究所) yánjiūsuǒ                           ศูนย์วิจัย

家长(ต.家長)          jiāzhǎng                              ผู้ปกครอง

学费(ต.學費)           xuéfèi                                ค่าเล่าเรียน

 

หมวดข่าวบันเทิง

明星                               míngxīng                            ดารา

影星                               yǐngxīng                             ดาราภาพยนตร์

导演(ต.導演)          dǎoyǎn                               ผู้กำกับ

影片                               yǐngpiàn                             ภาพยนตร์

偶像                               ǒuxiàng                              ดาราในดวงใจ /  แบบอย่างในใจ

红人(ต.紅人)          hóngrén                              คนดัง

歌迷(ต.歌迷)          gēmí                                  แฟนเพลง

影迷(ต.影迷)          yǐngmí                                แฟนภาพยนตร์

节目(ต.節目)          jiémù                                  รายการ 

主持人                          zhǔchírén                            พิธีกร        

หมวดข่าวเศรษฐกิจ

经济(ต.經濟)          jīngjì                                    เศรษฐกิจ

市场(ต.市場)          shìchǎng                              ตลาด

股票                               gǔpiào                                 หุ้น

支票                               zhīpiào                                 เช็ค/ตั๋วแลกเงิน

银行(ต.銀行)          yínháng                                 ธนาคาร

公司                               gōngsī                                  บริษัท

投资(ต.投資)           tóuzī                                    การลงทุน

资本(ต.資本)           zīběn                                    ทุน

工资(ต.工資)           gōngzī                                  ค่าแรง   ค่าตอบแทน

收入                                shōurù                                  รายได้

 

หมวดข่าวกีฬา

比赛(ต.比賽)          bǐsài                                      การแข่งขัน

决赛(ต.決賽)          juésài                            ​         รอบชิงชนะเลิศ

半决赛(ต.半決賽) bànjuésài                      ​          รอบรองชนะเลิศ

冠军(ต.冠軍)          guànjūn                           ​       แชมป์

亚军(ต.亞軍)          yàjūn                            ​          รองแชมป์

金牌                               jīnpái                          ​           เหรียญทอง

裁判                               cáipàn                       ​            กรรมการ

教练(ต.教練)          jiàoliàn                     ​              ผู้ฝึกสอน  / โค้ช

运动员(ต.運動員) yùndòngyuán                      ​   นักกีฬา

观众(ต.觀眾)          guānzhòng                       ​      ผู้ชม

 

หมวดข่าวสุขภาพ

健康                               jiànkāng                           ​      สุขภาพ

身体(ต.身體)          shēntǐ                            ​        ร่างกาย (บางครั้งหมายถึงสุขภาพ)

卫生(ต.衛生)          wèishēng                       ​         อนามัย

精神                               jīngshén                       ​          จิตใจ / กำลังใจ

心情                               xīnqíng                                  สภาพจิตใจ

情绪(ต.情緒)          qíngxù                         ​          สภาพอารมณ์    

呼吸                               hūxī                           ​            ลมหายใจ (กริยาหมายถึงหายใจ)

营养(ต.營養)          yíngyǎng                                 สารอาหาร / คุณค่าทางอาหาร

细菌(ต.細菌)          xìjūn                            ​          เชื้อโรค

病毒                               bìngdú                           ​          ไวรัส

 

ก่อนท่องคำศัพท์ใหม่ ๆ  น้อง ๆ จัดระเบียบความรู้ที่เรามีอยู่เดิมหรือยัง?”

              การท่องคำศัพท์มักจะกลายเป็นสิ่งที่นักเรียนกลัว  เพราะรู้สึกว่าต้องใช้กำลังสมองมากและมีทางเดียวคือการท่องอย่างหักโหม  ซึ่งความคิดเช่นนี้เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก  ในความเป็นจริงสมองของมนุษย์เราสามารถจดจำเรื่องราวมากมายได้อยู่แล้ว  หากเราจัดหมวดหมู่ความทรงจำอย่างเป็นระเบียบ  เช่นเดียวกับกล่องเครื่องมือใบหนึ่ง  หากภายในกล่องเครื่องมือไม่ได้แบ่งช่องสำหรับจัดเก็บและแยกประเภทเครื่องมือ  เราจะหาเครื่องมือที่ต้องการใช้ไม่เจอเลย  และต้องเสียเวลาอย่างมากในการค้นหาเครื่องมือแต่ละครั้ง    แต่หากกล่องใบนั้นมีช่องจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบอยู่แล้ว  การหาเครื่องมือสักชิ้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก  

              การจัดเก็บความรู้ก็เช่นกัน  ผมสังเกตว่านักเรียนมากมายมีความทุ่มเทในการนำความรู้เข้า  แต่ขาดทักษะในการนำความรู้ออกมาใช้   นักเรียนสามารถท่องศัพท์ทั้งวันทั้งคืน  แต่กลับไม่สามารถนำออกมาใช้ในตอนสอบ  สิ่งที่ท่องไปนั้นสูญเปล่า   ความจริงข้อหนึ่งที่ผมจะแนะนำคือ  การท่องอย่างหักโหมเป็นสิ่งที่ผิดมหันต์   

              อย่าท่องศัพท์ราวกับตัวเองเป็นหุ่นยนต์ท่องคำศัพท์  หันมาสนใจศิลปะในการจดจำคำศัพท์ดีกว่า   เชื่อผมเถอะ  ตอนที่เริ่มเรียนภาษาไทย  ผมไม่เคยตะบี้ตะบันท่องศัพท์  แต่ผมสนุกกับคำศัพท์ด้วยหลายๆวิธี   จนทุกวันนี้ผมสามารถเป็นนักเขียน  เขียนเรียบเรียงข้อมูลต่าง ๆ ด้วยภาษาไทยได้   

                ผมไม่เชื่อว่าตัวเองจะฉลาดกว่าคนอื่น  สิ่งที่ผมทำได้  น้อง ๆ นักเรียนก็ทำได้  วิชาภาษาเป็นวิชาที่มีหลักง่ายๆ  และทุกคนทำได้ คือ “คนขยันกว่าชนะ”   มันไม่เหมือนวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ หรือ เคมี ที่ขยันอย่างเดียวไม่พอ  เราแค่ขยันให้ถูกวิธีเท่านั้นเอง

              เคล็ดลับคือความสมดุล   มนุษย์เราพัฒนาตนเองด้วยความสมดุล ไม่ใช่ความหักโหม   คนที่ทานข้าวพอดีอิ่มท้องและทานเป็นเวลาทุกมื้อย่อมมีสุขภาพแข็งแรง  คนเราไม่สามารถ อดข้าวตลอด 7 วันแล้วมาทานชดเชย 21 มื้อภายในวันสุดท้ายวันเดียวได้  เพราะเป็นการทำลายสุขภาพและไม่ได้ประโยชน์   และ คนที่ทานในแต่ละมื้อมากเกินไปก็เช่นกัน  มีแต่จะทำให้คนๆนั้นวนขึ้น  ผลที่ตามมาคือคนๆนั้นจะเชื่องช้าลงและสุขภาพทรุดโทรม  ทุกวันนี้นักเรียนไม่น้อยที่ท่องศัพท์เหมือนเด็กที่อ้วนเกินไปเพราะทานมากผิดปกติ  ซึ่งผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

 

ภาษาคือศิลปะอย่างหนึ่ง  วิธีในการเรียนและฝึกภาษาก็เป็นศิลปะอย่างหนึ่งด้วย

              การท่องศัพท์นั้นควรจะท่องวันละนิด  ค่อยเป็นค่อยไป  เด็กที่จดจำศัพท์วันละนิด  หมั่นฝึกฝนด้วยการท่องบ่น  หรือ สนทนากับเพื่อน หรือ ฝึกเขียน  และการฝึกฝนทั้งหมดนั้น ต้องอยู่ภายใต้ เงื่อนไขสำคัญข้อหนึ่ง นั่นคือ “อย่าทำให้เป็นเรื่องน่าเบื่อ  สนุกกับมันไว้”  ถ้าเราทำได้  สักพักเราจะไม่รู้สึกว่ากำลัง“ท่อง”เลย  เราแค่สนุกกับมัน ความสนุกจะนำพาเราไปพบความชำนาญเอง และจะช่วยในการจัดระเบียบความรู้ในสมองของเราโดยเป็นไปตามธรรมชาติเอง

  

              การเขียนเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้คนเราจดจำคำศัพท์ได้ดี   เพราะการเขียนทำให้กระบวนการรับข้อมูลของคนเราช้าลง  เหมือนฟันที่ช่วยขบช่วยเคี้ยวอาหาร ก่อนเราจะกลืนลงไป   ทำให้เรา “ย่อย”ความรู้ได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น   การจดจำคำศัพท์ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์หรือนิตยสารก็เป็นสิ่งสำคัญ   เพราะทำให้เราได้รับความรู้จากหลายทาง  และมักจะเป็นสิ่งที่เราสนใจเป็นการส่วนตัว   ทำให้นักเรียนจดจำศัพท์ได้ในหลายทางและสนุกผ่อนคลาย  วิธีการท่องศัพท์ไม่ใช่การถือหนังสือพจนานุกรมขึ้นมาแล้วท่องอย่างหักโหม  นั่นเป็นวิธีที่น่าเบื่อ   ภาษาคือศิลปะอย่างหนึ่ง   วิธีในการเรียนและฝึกภาษาก็เป็นศิลปะอย่างหนึ่งด้วย อยากให้น้อง ๆ ทุกคนเรียนรู้ความสมดุลและสุนทรียภาพในภาษาก่อนครับ เพื่อเก่งขึ้นอย่างมีความสุข

 

 

                                                                 .............................................