ตัวต้านทาน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 94.5K views



ในวงจรไฟฟ้าทั่วไป มีตัวต้านทานที่ใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ ตัวต้านทานค่าคงที่ และตัวต้านทานแปรค่าได้ เราสามารถอ่านค่าความต้านทานได้จากสีที่บ่งค่าความต้านทาน ซึ่งปรากฏอยู่บนตัวต้านทานต่างๆ

ภาพ : shutterstock.com

การต่อตัวต้านทานเข้ากับหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมในวงจรไฟฟ้า วงจรที่มีความต่างศักย์ของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าคงที่ค่าหนึ่ง จะทำให้ความต้านทานรวมของวงจรมีค่ามากขึ้น ทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรมีค่าน้อยลง สังเกตจากค่ากระแสไฟฟ้าที่อ่านได้จากแอมมิเตอร์ นั่นคือตัวต้านทานทำหน้าที่จำกัดปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจร หรือในส่วนของวงจร

นอกจากนี้ การต่อตัวต้านทานเข้าในวงจรยังไม่ต้องคำนึงถึงขั้ว หรือปลายของตัวต้านทาน กล่าวคือเมื่อต่อปลายหนึ่งเข้ากับขั้วลบ และอีกปลายหนึ่งเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่แล้ววงจรทำงานได้ตามปกติ และเมื่อสลับปลายของตัวต้านทานวงจรก็ยังคงทำงานได้ตามปกติเช่นเดิม

สีบ่งค่าความต้านทาน

ตัวต้านทานแต่ละตัวอาจมีค่าเท่ากันหรือแตกต่างกัน และใช้วัสดุที่แตกต่างกัน เช่น ลวดนิโครมที่เป็นโลหะผสมระหว่างนิกเกิลกับโครเมียม ก็มีค่าความต้านทานค่าหนึ่ง ตัวต้านทานที่ใช้ทั่วๆ ไปในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทำมาจากผงคาร์บอนอัดเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก ตัวต้านทานเหล่านี้ เป็นตัวต้านทานค่าคงที่ หรือตัวต้านทานค่าคงตัว สัญลักษณ์ความต้านทานคือ​

ผู้ใช้อุปกรณ์ความต้านทานสามารถทราบค่าความต้านทานได้ จากแถบสีที่อยู่บนตัวต้านทาน แถบสีต่าง ๆ ที่กำหนดอยู่บนตัวต้านทาน จะแสดงถึงค่าความต้านทาน โดยแถบสีที่คาดไว้บนตัวต้านทานมีความหมายต่าง ๆ ดังตาราง​

การอ่านค่าความต้านทาน

ตัวต้านทานตัวหนึ่งมีแถบสีคาดด้วยสีแดง น้ำเงิน เขียว และสีเงิน มีวิธีอ่านค่าความต้านทานโดยดูสีของแต่ละแถบ แล้วเทียบสีกับค่าประจำของแถบนั้นๆ เช่น

แถบสีที่ 1 อยู่ใกล้ขาข้างหนึ่งมากที่สุด มีสีแดง ค่าประจำแถบที่ 1 ที่มีสีแดง มี่ค่าเท่ากับ 2
แถบสีที่ 2 มีสีน้ำเงิน ค่าประจำแถบเท่ากับ 6
แถบสีที่ 3 มีสีเขียว บอกเลขยกกำลัง มีค่าเท่ากับ 105 ที่ต้องนำไปคูณกับตัวเลขสองตัวแรก
แถบสีที่ 4 เป็นสีที่บอกความคลาดเคลื่อนของค่าความต้านทานที่อ่านได้จาก 3 แถบแรก ในที่นี้คือสีเงิน มีค่าเท่ากับ บวกลบ 10%

ดังนั้น ค่าความต้านทานของตัวต้านทานนี้มีค่าเท่ากับ 26 x 105 และมีความคลาดเคลื่อน 10% หมายความว่าตัวต้านทานนี้มีค่าอยู่ระหว่าง 2,340,000 Ω ถึง 2,860,000 Ω

ชนิดของตัวต้านทาน

1. ตัวต้านทานค่าคงที่ (Fixed resistors) เป็นตัวต้านทานที่มีค่าคงตัว ค่าความต้านทานไม่เปลี่ยนแปลง มีสัญลักษณ์ในวงจรเป็น หรือ ค่าความต้านทานสามารถอ่านได้จากแถบสีที่คาดอยู่รอบตัวต้านทาน ตัวต้านชนิดนี้ สามารถใช้ลดความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจร เพื่อให้ใช้กระแสไฟฟ้าในวงจรได้อย่างเหมาะสม​

2. ตัวต้านทานแปรค่าได้ (variable resistors) เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานได้ โดยการเลื่อนปุ่มหรือหมุนปุ่มความต้านทาน ที่สามารถเพิ่มหรือลดค่าความต้านทานได้ตามความต้องการ สัญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดนี้คือ