หินอัคนี
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 88.2K views



หินอัคนี หรือหินภูเขาไฟ เกิดจากการเย็นตัวและการตกผลึกของแมกมาใต้เปลือกโลก สามารถจำแนกเป็นหินชนิดต่างๆ ได้อีกมากมายหลายชนิด เช่น หินแกรนิต หินบะซอลต์ หินออบซิเดียน หินพัมมิส เป็นต้น หินอัคนีแต่ละชนิดล้วนมีลักษณะและคุณสมบัติที่เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ในด้านที่แตกต่างกัน

ภาพ : shutterstock.com

หินอัคนี เกิดจากการเย็นตัวและการตกผลึกของแมกมาใต้เปลือกโลก หรือการเย็นตัวของลาวาบนผิวโลก แบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ

1. หินอัคนีแทรกซอน​
เป็นหินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างช้าๆ ของแมกมาใต้เปลือกโลก เมื่อแมกมาแทรกตัวดันขึ้นมาสู่เปลือกโลก ถึงระดับหนึ่งที่อยู่ใต้เปลือกโลก และอุณหภูมิลดลง แมกมาจะเย็นตัวพร้อมกับแข็งตัวอย่างช้าๆ ทำให้เกิดผลึกแร่ขนาดใหญ่ จึงเกิดหินที่มีเนื้อผลึกหยาบ ที่มีผลึกแร่ยึดเกาะกันแน่นสนิท เนื้อหินจึงแน่นและแข็ง เช่น หินแกรนิต หินไดออไรต์ หินแกบโบร เป็นต้น

2. หินอัคนีพุ
หรือหินภูเขาไฟ เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของลาวาที่ดันตัวพุออกมานอกผิวโลก เป็นหินที่มีผลึกแร่ขนาดเล็กหรือไม่มีผลึกเลย เช่น หินบะซอลต์ หินแอนดีไซต์ หินไรโอไลต์ หินออบซิเดียน หินพัมมิส เป็นต้น

 

ลักษณะและประโยชน์ของหินอัคนีชนิดต่างๆ ที่พบในประเทศไทย

หินอัคนี

ลักษณะเนื้อหิน

แหล่งที่พบ

ประโยชน์

หินแกรนิต

เนื้อหยาบมาก เนื้อหินสม่ำเสมอ ผลึกแร่เกาะประสานกันแน่น มีสีอ่อน

จันทบุรี เลย ลำปาง ตาก ภูเก็ต

หินประดับ หินสลัก

ปูพื้น ผนังอาคาร

หินต้นกำเนิดแร่ดีบุก

หินไรโอไลต์

เนื้อละเอียดมาก ขาว ชมพู เทา

สระบุรี ตาก ลำปาง ลพบุรี เลย เพชรบูรณ์

อุตสาหกรรมก่อสร้าง

เซรามิก

หินไดออไรต์

เนื้อหยาบ ผลึกมักมีขนาดเดียวและสม่ำเสมอ มีสีดำ เทาเข้ม

สระบุรี เลย เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครราชสีมา

อุตสาหกรรมก่อสร้าง

เซรามิก

ครก

หินแอนดีไซต์

เนื้อละเอียดแน่นทึบ สีม่วง เขียว เทาแก่ และดำเข้ม

สระบุรี ตาก เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์

อุตสาหกรรมก่อสร้าง

เซรามิก

ครก

หินแกบโบร

เนื้อหยาบ ผลึกแร่ใหญ่ มีสีเข้ม

อุตรดิตถ์ เชียงราย ลำปาง นครราชสีมา ระยอง

หินประดับ

หินบะซอลต์

เนื้อแน่น ละเอียด มักมีรูพรุน มีสีดำเข้ม

จันทบุรี ตราด กาญจนบุรี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ลำปาง

อุตสาหกรรมก่อสร้าง

หินต้นกำเนิดอัญมณี

หินออบซิเดียน

หินแก้วภูเขาไฟ

ไม่มีผลึก เนื้อเรียบเกลี้ยง สีดำ รอยแตกคมเหมือนแก้วแตก

ไม่พบในประเทศไทย

อาวุธ (ในสมัยโบราณ)

หินสคอเรีย

แข็ง สาก มีรูพรุน ลอยน้ำได้

ตามชายฝั่งทะเล

หินขัด

หินพัมมิส

แข็ง สาก มีรูพรุน ลอยน้ำได้

ตามชายฝั่งทะเล

หินขัด