การเกิดลำน้ำ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 4.9K views



แหล่งน้ำในปัจจุบันมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ ทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับลำน้ำหรือแม่น้ำ ลำน้ำในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะเวลา ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณกระแสน้ำ เป็นต้น

ภาพ : shutterstock.com

การเกิดลำน้ำเริ่มจากที่สูง เมื่อฝนตกลงมา น้ำฝนบางส่วนจะซึมลงไปในดิน น้ำฝนส่วนที่เหลือจะไหลไปตามหน้าดิน ทำให้หน้าดินถูกกัดเซาะเป็นร่องน้ำเล็กๆ เมื่อมีปริมาณน้ำในร่องน้ำเล็กๆ มากขึ้น การกัดเซาะในแต่ละร่องจะมากขึ้น แล้วมาบรรจบกันกลายเป็นร่องน้ำใหญ่

ภาพ : shutterstock.com


น้ำในร่องน้ำใหญ่จะไหลลงสู่ที่ต่ำกว่าลงไปเรื่อยๆ ร่องน้ำใหญ่มีการขยายตัวมากขึ้นจนกลายเป็นห้วย ลำธาร และแม่น้ำในที่สุด ลำน้ำแต่ละสายมีอายุที่แตกต่างกัน จำแนกได้ดังนี้

1. ลำน้ำเกิดใหม่ เป็นลำน้ำที่การพังทลายของดินเป็นไปอย่างรุนแรงโดยเฉพาะด้านข้าง ด้านข้างของลำน้ำมีความลาดชันมาก หน้าตัดมีลักษณะเป็นตัว V ลำน้ำแบบนี้ น้ำจะไหลแรง พัดพาตะกอนได้มากที่สุด

2. ลำน้ำที่พัฒนาแล้ว เป็นลำน้ำที่มีความลาดชันน้อยลง น้ำจะไหลช้ากว่าแบบแรก หน้าตัดของลำน้ำมีลักษณะเป็นตัว 

3. ลำน้ำที่มีอายุมาก มีความลาดชันน้อยมาก น้ำจึงไหลช้า หน้าตัดของลำน้ำมีลักษณะเหมือนชามโค้ง อยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ราบน้ำท่วม​

ปัจจัยที่ทำให้แหล่งน้ำมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน มีดังนี้

- ความเร็วและปริมาณกระแสน้ำในแต่ละฤดูกาล
- ความทนทานในการกัดเซาะของดิน หิน และแร่ ในพื้นที่ที่น้ำไหลผ่าน
- ระยะเวลาในการกัดเซาะของน้ำ
- ลักษณะภูมิประเทศ
- ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของพื้นที่