กรรมฐาน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 9.6K views



                                                                       กรรมฐาน ๒

๑.สมถกรรมฐาน อุบายสงบใจ เช่นฝึกสมาธิ
๒.วิปัสสนากรรมฐาน อุบายเรืองปัญญา

                                                         ความหมายของกรรมฐานคือ

๑.ที่ตั้งแห่งการงาน
๒.อุบายทางใจ
๓.วิธีฝึกอบรมจิต

                                                               ลักษณะจิตที่เป็นสมาธิ

๑.เข้มแข็งและมีพลังมาก
๒.สงบและราบเรียบ
๓.แจ่มใส สว่างไสว กระจ่างแจ้ง
๔.นุ่มนวลแนบเนียน
๕.บริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง ด่างพร้อย
๖.มีค่าควรแก่การงานทุกอย่าง

                                                                   สมาธิมี  ๓  ระดับ

๑. ขณิกสมาธิ  สงบชั่วคราว
๒. อุปจารสมาธิ  สงบจวนจะแนบแน่น
๓. อัปปนาสมาธิ  สงบแนบแน่น

                                                        ขั้นตอนการฝึกอานาปานัสสติสมาธิ

๑.สมาทานศีล
๒.ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
๓.แผ่เมตตา
๔.ตัดความกังวล
๕.กำหนดเวลาฝึก

• กำหนดสติไว้ที่ลมหายใจเข้า – ออกจะกำหนดลมหายใจโดยการนับหรือโดยการบริกรรมว่า พุทโธ ก็ได้นั่งตัวตรงทรวดทรงจะงามนั่งตัวคต...จะหมดความงาม

                                                                   ประโยชน์ของสมาธิ

๑.หัวใจทำงานได้อย่างประสิทธิภาพ
๒.ความดันโลหิตลดลง
๓.ลดความเครียด ความวิตกกังวล
๔.สมอง ร่างกาย จิตใจ ได้พักผ่อนเต็มที่
๕.ลดอาการหอบหืด  ลดความโกรธ
๖.จิตมีพลังเข้มแข็ง  สมองโปร่งสบาย
๗.ทำให้บุคลิกดี  มีความเชื่อมั่นในตนเอง
๘.มีความจำดีขึ้น มีความสุภาพ น่านับถือ
๙.สามารถกำจัดนิวรณ์ ที่รบกวนจิตใจ

                                                       อุปสรรคของการเจริญสมาธินิวรณ์ ๕

๑.กามฉันทนิวรณ์  หลงพอใจในกามคุณ๕
๒.พยาปาทนิวรณ์หมกมุ่นพยาบาทอยู่
๓.ถีนะมิทธะนิวรณ์ จิตหดหู่ ง่วงซึม
๔.อุทธัจจะกุกุจจะนิวรณ์ หงุดหงิด,พุ้งซ่าน
๕.วิจิกิจฉานิวรณ์ สงสัยในคำสอน

                                                             ประโยชน์ของการเดินจงกรม

๑.มีความเพียรมาก
๒.ทนต่อการเดินทางไกล
๓.อาพาธน้อย (ไม่มีโรค)
๔.อาหารย่อยง่าย
๕.สมาธิตั้งอยู่ได้นาน

สมาธิคืออะไร ? , มีกี่ระดับ ?
ปฏิบัติอย่างไร ? , มีผลเช่นไร ?
จำเป็นต่อมนุษย์หรือไม่ ?
จิตเป็นสมาธิมีลักษณะเช่นไร ?

                                                                          ปิด-ปิด-ปิด

ปิด ปิด ตา:  อย่าสอดส่าย ให้เกินเหตุ                                
     บางประเภท แกล้งทำบอด ยอดกุศล
     มัวสอดรู้ สอดเห็น จะเป็นคน
     เอาไฟลน ตนไป จนไหม้พอง;
ปิด ปิด หู:   อย่าให้แส่  ไปฟังเรื่อง
     ที่เป็นเครื่อง กวนใจ ให้หม่นหมอง
     หรือเร้าใจ ให้ฟุ้งซ่าน พาลลำพอง
     ผิดทำนอง คนฉลาด, อนาจใจ;
ปิด ปิด ปาก: อย่าพูดมาก เกินจำเป็น
     จะเป็นคน ปากเหม็น เขาคลื่นไส้                                                              
     ต้องเกิดเรื่อง เยิ่นเย้อ เสมอไป
     ถ้าหุบปาก มากไว้ ได้แท่งทองฯ

 
เปิด เปิด เปิด
เปิด เปิด เปิด ตา : ให้รับแสง แห่งพระธรรม                                                   
  ยิ่งมืดค่ำ ยิ่งเห็นชัด ถนัดถนี่
  สมาธิมาก ยิ่งเห็นชัด ถนัดดี
  นี่วิธี เปิดตาใจ ใช้กันมา
เปิด เปิด หู  :  ให้ยินเสียง สำเนียงธรรม
       ทั้งเช้าค่ำ มีก้องไป ในโลกหล้า
      ล้านล้านปี ฟังให้ชัด เต็มอัตรา
       คือเสียงแห่ง สุญญตา ค่าสุดใจฯ
เปิด เปิด ปาก : สนทนา พูดจาธรรม
  วันยังค่ำ อย่าพูดเรื่องเหลวไหล
  พูดแต่เรื่อง ดับทุกข์ได้ โดยสัจจนัย
  ไม่เท่าไร เราทั้งโลก พ้นโศกแลฯ

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก พระมหาปรีชา ปภสสโร