กรรม12
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 101.4K views



ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับจากการฟัง การชมในเรื่องต่อไปนี้คือ

1. เข้าใจชีวิตตนเองและผู้อื่นมากยิ่งขึ้น     
2. รู้จักรอคอย รู้จักอดทน ให้อภัย               
3.รู้จักอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล                           
4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น                                                                   
5.รู้จักควบคุมวิถีชีวิตมิให้ผิดพลาด                    
 6. ลด ละ เลิก สิ่งที่ไม่ดี ไม่งาม ฯลฯ
                                                                             กรรม

• คือ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา มีพุทธภาษิตว่า  เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ
• กรรมดีเรียกว่า  กุศลกรรม
• กรรมชั่วเรียกว่า  อกุศลกรรม
• ไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่า อัพยากฤต

                                                              กรรมสามารถทำได้ 3 ทาง
• ทางกาย เรียกว่า กายกรรม               
• ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม                  
• ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม

                                      กรรมแบ่งออกเป็น 3 หมวด มี 12 ประเด็น เรียกว่า กรรม 12
           

                                     กรรมหมวดที่ 1 บอกถึงกาลเวลาที่กรรมจะให้ผลว่ามีถึง 
                                                                4 ประเภทด้วยกัน คือ


1.สิ่งใดที่เราได้ทำไว้เช่น เรียนหนังสือ ทำงาน การกิน เสพ การคิด พูด ทำดี ทำชั่ว ถูกสถานที่ ถูกคน ถูกกาลเวลา ทำพอดีแล้วได้รับผลในชาตินี้  เรียกว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
2.กรรมให้ผลในชาติหน้า เรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรม

                                               

                                      3.กรรมให้ผลในชาติต่อๆไป เรียกว่า อปราปรเวทนียกรรม

                                               

                                               

4.กรรม ที่ให้ผลสำเร็จแล้ว หรือหมดโอกาสที่จะให้ผล  เรียกว่า อโหสิกรรม 

                                           

หมวดที่ 2 บอกให้รู้จักหน้าที่ของกรรม
1.กำหนดให้มาเกิด สถานที่ไหน เวลาใด รวยหรือจน เป็นลูกของคนดีหรือเลวอวัยวะครหรือไม่  เรียกว่า ชนกกรรม 

     

2.คอยสนับสนุน ถ้าเกิดมาดีก็จะเสริมให้มีความสุขยิ่งขึ้น ถ้าเกิดมาทุกข์ยาก ก็ซ้ำเติมความลำบากให้มากยิ่งขึ้น   เรียกว่า อุปัตถัมภกกรรม       

3.เบียดเบียนกรรมเดิม ถ้าเกิดมาดีก็คอยบั่นทอนให้ดีน้อยลง ถ้าเกิดมาตกระกำลำบาก ก็คอยเข้าช่วยให้หายใจคล่องขึ้น เรียกว่า อุปปิฬกกรรม

                    

4.กรรมตัดรอน ร้ายแรงกว่ากรรมที่สาม คือสามารถพลิกชีวิตจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ ถึงขึ้นทำเศรษฐีให้เป็นยาจก และยกยาจกให้เป็นเศรษฐีได้ เรียกว่า อุปฆาตกกรรม

หมวดที่ 3.บอกถึงระดับ น้ำหนัก ความรุนแรงของการกระทำ จะทำก่อนทำหลังไม่สำคัญ  ถ้ากรรมใดหนักมากก็จะให้ผลก่อน เช่น เหล็ก ไม้ กระดาษและสำลี ถ้าทิ้งจากที่สูงลงสู่พื้นดิน ก็จะถึงพื้นดินในเวลาต่างกัน

1.กรรมหนัก ถ้าเป็นฝ่ายดีก็เป็นกรรมที่ทำด้วยความบริสุทธิ์สะอาดของจิตอย่างสูง เช่น การทำสมาธิ  ตรงกันข้ามถ้าเป็นกรรมชั่ว ก็ทำด้วยจิตสกปรกที่สุด เช่น ฆ่าพ่อแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้า ทำให้สงฆ์แตกกัน เป็นกรรมที่หนักต้องให้ผลก่อน เรียกว่า ครุกรรม
 

                                               


2.เป็นกรรมที่ทำบ่อยๆ กรรมเบาๆแต่ทำไว้มากเหมือนดินพอกหางหมู ถ้าไม่ได้ทำกรรมหนักไว้กรรมนี้จะให้ผลเรียกชื่อว่า พหุลกรรม

3.กรรมที่ทำไว้ใกล้จะตาย ถ้าจิตของผู้ทำยึดเกาะสิ่งใดไว้แนบแน่น กรรมนี้ก็จะให้ผลทันที   เรียกว่า อาสันนกรรม
 
4.กรรมสักแต่ว่าทำ ทำตามๆเขา  มีเจตนาเบามากเช่น เวลารับศีลในพิธีต่างๆรับไปคุยไป เวลาให้ทานก็ให้ แบบเสียมิได้ จำใจให้ แบบนี้  เรียกว่า กตัตตากรรม

• คนพาล ทำชั่วอยู่ ไม่รู้สึก กลับคิดลึก ว่าฉลาดสามารถล้นครั้นความชั่ว  ทั้งผอง  สนองตน  จะร้อนรน  เหมือนไฟ  ไหม้ลุกลาม

• ผลที่เกิด แต่กรรม ใครทำไว้   ท่านว่าไม่ ยุบสลาย หายไปไหน ผลคงผล ดลให้เห็น เร้นไม่ไกล  ดีชั่วไซร้ คงพบผล ด้วยตนเอง

• ทำกรรมใดแล้วจิตใจไม่เดือดร้อน จะนั่งนอนชื่นใจได้สุขสันต์ อวยผลให้ใจเย็นเป็นนิรันดร์   จงรู้ทันว่านั่นกรรมทำไว้ดี

• โตเทยยะ  วังคีสะ นายแพทย์อาจินต์ หูตั้ง  ครูบังไข ความเชื่อของชาวพุทธ ๔  โฆสกะ หลวงพ่อจรัญ อชาติศัตรู เทวทัต พระโมคคัลานะ เปรตนายสุรินทร์กินที่วัด

                                                         สิ่งที่ชาวพุทธควรเชื่อ 4 อย่าง

1.เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
2.เชื่อกรรม
3.เชื่อผลของกรรม
4.เชื่อว่าเราทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับ

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก พระมหาปรีชา ปภสสโร