สภาพขั้วของโมเลกุล
โดยทั่วไปโมเลกุลที่มีพันธะมากกว่าหนึ่งพันธะ จะพิจารณาสภาพขั้วจากผลต่างของค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (EN) และรูปร่างของโมเลกุล
พันธะโคเวเลนต์ที่มีขั้ว
พันธะโคเวเลนต์ที่มีขั้ว จะมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของอะตอมทั้งสองแตกต่างกัน หากอะตอมใดมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่า จะมีความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนสูงกว่า มีผลทำให้อิเล็กตรอนกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ โดยจะอยู่ใกล้อะตอมด้านใดด้านหนึ่งมากกว่า ซึ่งทำให้อะตอมของด้านนั้นแสดงอำนาจไฟฟ้าไปทางลบ
พันธะโคเวเลนต์ที่ไม่มีขั้ว
โมเลกุลของอะตอมคู่ที่ประกอบด้วยธาตุชนิดเดียวกัน อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจะอยู่กึ่งกลางของอะตอมทั้งสอง ทำให้แสดงอำนาจไฟฟ้าใกล้เคียงกันทั้งสองด้าน จึงเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่ไม่มีขั้ว
ทั้งนี้พันธะโคเวเลนต์แบบมีขั้ว อาจเป็นโมเลกุลมีขั้วหรือไม่มีขั้วก็ได้ เนื่องจากสภาพขั้วของโมเลกุล จะต้องพิจารณาจากผลรวมของทิศทางแรงดึงดูดของทุกพันธะในโมเลกุล ซึ่งมีปัจจัยอย่างรูปร่างของโมเลกุลเกี่ยวข้องด้วย
คลิกที่ภาพเพื่อทำการทดลองเรื่องสภาพขั้วของโมเลกุล