วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 568.5K views



วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


 
วันสำคัญทางพุทธศาสนา คือวันที่มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า
         


                                
วันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนา มี 4 วัน คือ
1. วันมาฆบูชา
2. วันวิสาขบูชา
3. วันอัฏฐมีบูชา
4. วันาสาฬหบูชา
 


วันมาฆบูชา
ตรงกับวันขึ้น 15 เดือน 3 (มาฆมาส)มีเหตุการณ์สำคัญ 4 อย่าง เกิดขึ้น
1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ
2. พระสงฆ์1,250รูปประชุมโดยไม่นัด
3. พระสงฆ์ล้วนเป็นพระอรหันต์
4. พระสงฆ์ล้วนบวชกับพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า  เอหิภิกขุอุปสัมปทาเรียกอีกอย่างว่า วันจาตุรงคสันนิบาตบางครั้งเราเรียกว่า วันพระธรรม

วันวิสาขบูชา
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6
มีเหตุการณ์สำคัญ 3 อย่างเกิดขึ้น คือ
 1. เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า
 2. เป็นวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
 3. เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้าบางครั้งเราเรียกวันนี้ว่า  พระพุทธองค์กรสหประชาชาติรับรองให้เป็นวันนี้เป็นวันสำคัญสากลของโลก
   







วันอัฏฐมีบูชา
ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6
มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันนี้ คือหลังจากวันปรินิพพานของพระองค์ 7 วัน ก็เป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมสรีระของพระพุทธเจ้า ที่มกุฏพันธเจดีย์ เมืองกุสินารา แคล้นมัลละ
 
วันเข้าพรรษา
ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันนี้ คือ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัดใดวัดหนึ่งไม่ให้ไปค้างพักที่อื่น 3 เดือนเนื่องจากมีพระหมู่หนึ่ง ชื่อ ภัททวัคคีย์จาริกไปเหยียบนาข้าว สัตว์เล็กสัตว์น้อยตายในฤดูฝน

วันออกพรรษา
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกอีกอย่างว่า วันมหาปวารณา
มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันนี้ คือ
- พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ไปจำวัดค้างแรมที่อื่นได้
- เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากทรงจำพรรษาที่นั่นเพื่อแสดงธรรมแก่พุทธมารดาตลอด 3 เดือน 
 
ตรงกับวัน ขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ แรม 15 ค่ำ หรือ 14 ค่ำ
วันธรรมสวนะ คือ วันกำหนดประชุมฟังธรรมและรักษาศีล 5-8 เรียกอีกอย่างว่า วันพระ                          


วันธรรมสวนะ


การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
• ทำบุญตักบาตรแล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนบุญให้แกผู้ล่วงลับ
• ฟังธรรมเทศนาที่วัด หรือทางวิทยุโทรทัศน์
• รักษาศีล 5 หรือศีล 8 เว้นจากการทำบาป ทำแต่ความดี ทำใจให้บริสุทธิ์
• แผ่เมตตาให้แก่สัตว์
• นำดอกไม้ ธูปเทียน ไปเวียนเทียนที่วัดเป็นพุทธบูชา 
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หมายถึง วันที่มีเหตุการณ์สำคัญบางอย่างเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จะเป็นวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าซึ่งจะกำหนดเอาวันที่มีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้นในชีวิตของพระองค์เป็นหลัก
การศึกษาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา นอกจากจะได้ความรู้ ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแล้วยังช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความซาบซึ้ง และเกิดแนวความคิดในการปฏิบัติ และการเข้าร่วมกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่อไป 

วันมาฆบูชา
มาฆบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๓
วันนี้ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจาก เป็นวันที่มีการประชุมที่ประกอบด้วยองค์ ๔ หรือที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” เกิดขึ้นที่วัดเวฬุวันใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
การประชุมที่ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑) พระสงฆ์สาวกล้วนเป็นพระอรหันต์
๒) พระสงฆ์สาวกล้วนเป็นเอหิภิกขุ  พระพุทธเจ้าบวชให้เอง
๓) พระสงฆ์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
๔) พระพุทธเจ้าเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

วันวิสาขบูชา
วิสาขบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖
วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรงซึ่งทั้ง ๓ เหตุการณ์เกิดขึ้นในวันเพ็ญ เดือน ๖ แต่เกิดต่างปีกันในช่วงเวลา ๘๐ ปี ได้แก่
๑) วันประสูติ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ณ ป่าสาละ สวนลุมพินีวัน
๒) วันตรัสรู้ เกิดขึ้นใน ๓๕ ปีต่อมา ภายหลังที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา ณ โคนต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ
๓) วันปรินิพพาน เกิดขึ้นในปีที่ ๘๐ แห่งพระชนมายุของพระพุทธเจ้า ณ แท่นบรรทม ระหว่างต้นสาละ เมืองกุสินารา

วันอัฏฐมีบูชา
  เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานจึงมีการตั้งพระบรมศพของพระพุทธองค์พร้อมจัดเครื่องสักการบูชาเป็นเวลา ๗ วัน ณ มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินาราและในวันที่ ๘ ซึ่งตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เหล่ามัลลกษัตริย์และพระเถระชั้นผู้ใหญ่ได้ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า ซึ่งเราชาวพุทธเรียกวันนี้ว่า “วันอัฏฐมีบูชา”

วันอาสาฬหบูชา
อาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ดังนี้
๑) เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
๒) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนา เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีใจความสำคัญ คือ อริยสัจ ๔ เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
๓) เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกเกิดขึ้นครั้งแรก คือ โกณฑัญญะ
๔) เป็นวันที่พระรัตนตรัยเกิดขึ้นในโลกบริบูรณ์
เกร็ดพุทธศาสน์
วันอาสาฬหบูชา เริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยที่มหาเถรสมาคมได้เสนอต่อรัฐบาล เพื่อให้ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง

วันธรรมสวนะ
วันธรรมสวนะ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันพระ” ซึ่งแปลว่า เป็นวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา
วันพระ ๑ เดือนจะมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันแรม ๘ ค่ำและวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด 

วิธีปฏิบัติตนและเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาทั้งหมดนี้ มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ในปัจจุบันนิยมปฏิบัติคล้ายคลึงกัน คือ
๑) การทำบุญตักบาตรที่บ้านหรือที่วัดในตอนเช้า
๒) การไปนมัสการ ไหว้พระ สวดมนต์ และทำบุญตามวัดต่าง ๆ
๓) การฟังพระธรรมเทศนา และปฏิบัติสมาธิภาวนา
๔) การสนทนาธรรมกับพระภิกษุหรือผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา
๕) การรักษาศีล ๕
๖) การไปเวียนเทียนที่วัด (นิยมเวียนเทียนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา และวันอาสาฬหบูชา)


ขอขอบคุณเนื้อหาจาก  พระมหาปรีชา ปภสสโร