บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 34.2K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้






เรื่องย่อ
   พระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ มีพระราชประสงค์ที่จะยึดแคว้นวัชชีซึ่งปกครองโดยเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีอำมาตย์คนสนิทคนหนึ่งชื่อ วัสสการพราหมณ์ เป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเลิศ เมื่อวัสสการพราหมณ์ได้ทราบเรื่อง จึงกราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรูว่า แคว้นวัชชีปกครองโดยใช้หลักธรรม “อปริหานิยธรรม ๗ ประการ” คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อเหตุแห่งความเจริญฝ่ายเดียว จึงต้องเอาชนะด้วยอุบาย ทำลายความสามัคคีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี ดังนั้น วัสสการพราหมณ์ทำอุบายว่าถูกพระเจ้าอชาตศัตรูเฆี่ยนตี และขับไล่ออกจากแคว้นมคธ แล้วมาพึ่งกษัตริย์ลิจฉวี กษัตริย์ลิจฉวีเห็นว่าวัสสการพราหมณ์เป็นผู้มีความรอบรู้ อีกทั้งเป็นที่รักของประชาชน จึงแต่งตั้งให้วัสสการพราหมณ์เป็นครูสอนศิลปวิทยาแก่บรรดาพระราชกุมาร
   วัสสการพราหมณ์ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถจนเป็นที่ไว้ใจของกษัตริย์ลิจฉวี พร้อมทั้งค่อย ๆ ดำเนินอุบายวางแผนให้บรรดาราชกุมารทะเลาะกัน และเรื่องก็ลุกลามใหญ่โตจนกระทั่งเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีขาดความสามัคคีกันในที่สุด พระเจ้าอชาตศัตรูจึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามายึดแคว้นวัชชีได้เป็นผลสำเร็จ

 

 

ประวัติผู้แต่ง
   นายชิต บุรทัต เริ่มเขียนงานประพันธ์ขณะบวชเป็นสามเณรที่วัดบวรนิเวศวิหารเป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส นายชิต บุรทัต เป็นผู้มีฝีมือในการประพันธ์มาก ใช้นามปากกาว่า “เจ้าเงาะ” เอกชน” “แมวคราว”

 


สาระน่ารู้
   สามัคคีเภทคำฉันท์สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความสามัคคี และโทษของการแตกความสามัคคี มีหลักธรรมแห่งความเจริญเรียกว่า “อปริหานิยธรรม” ๗ ประการ

 

 

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ
   เราทุกคนควรมีความสามัคคี เพราะการขาดความสามัคคีจะนำมาซึ่งความเดือดร้อน และในการคบคนนั้นควรพิจารณาไตร่ตรองให้ดี ถ้าไว้ใจคนอื่นมากเกินไปอาจนำภัยมาสู่ตนได้



คำสำคัญ พระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์ลิจฉวี วัสสการพราหมณ์ อปริหานิยธรรม ๗ ประการ ความสามัคคี

 



แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช www.wpp.co.th