บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง การใช้ภาษาในการสื่อสาร
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 49.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 
 





ความสำคัญของการสื่อสาร
   การสื่อสารมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ผ่านการฟัง พูด อ่าน เขียน หรือพฤติกรรมทางสังคมอื่น ๆ อีกทั้งการสื่อสารยังอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ในการประกอบอาชีพ



องค์ประกอบของการสื่อสาร
   องค์ประกอบของการสื่อสารได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร และสื่อ



จุดมุ่งหมายของการสื่อสาร
   จุดมุ่งหมายสำคัญของการสื่อสาร ได้แก่ เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารหรือความรู้ เพื่อโน้มน้าวใจ เพื่อจรรโลงใจ และเพื่อความบันเทิง



ภาษาในการสื่อสาร
   ภาษาในการสื่อสาร ได้แก่ ภาษาที่เป็นถ้อยคำ (วัจนภาษา) และภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำ (อวัจนภาษา)



ผลของการสื่อสาร
   ผลของการสื่อสารเกิดได้ ๓ ลักษณะ ดังนี้ การสื่อสารที่มีประสิทธิผลการสื่อสารที่บกพร่อง และการสื่อสารที่ไร้ผล



การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
   ผู้ส่งสารต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ดังนี้
       – ความรู้ของผู้ส่งสาร
       – ความคิดของผู้ส่งสาร
       – การส่งสารให้ตรงประเด็น
       – การลำดับความในสาร
       – ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
       – ความตั้งใจและความสนใจของผู้รับสาร



การรับสารและส่งสารเพื่อกิจธุระ
   การสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้การงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตดำเนินไปได้ด้วยดี



การใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน
   เนื่องจากภาษาไทยมีคำที่ความหมายคล้ายกันเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้จึงควรพิจารณาความหมายและลักษณะเฉพาะของคำให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของเนื้อหา เช่น
   ตัด ฟัน ฝาน เฉือน มีความหมายร่วมกัน คือ ทำให้ขาดจากกันแต่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน ดังนี้
               ตัด ไม่ต้องยกแขนขึ้น
               ฟัน ต้องยกแขนขึ้น
               ฝาน ตัดออกเป็นแผ่น ๆ
               เฉือน ตัดออกเพียงบางส่วน



การใช้คำที่ทำให้มองเห็นภาพหรือให้ความรู้สึกชัดขึ้นเป็นพิเศษ
   การเลือกใช้คำที่ทำให้มองเห็นภาพหรือให้ความรู้สึกชัดขึ้นเป็นพิเศษ มักจะเป็นคำที่เกี่ยวกับความรู้สึกที่ผ่านมาทางประสาทสัมผัส

 


คำสำคัญ การสื่อสาร ผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร สื่อ

 




แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช www.wpp.co.th