ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. สุขภาพกับสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเกิดโรค ทำให้สุขภาพเสีย
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
มลพิษทางอากาศ
– ผลกระทบ คือ ทำให้เกิดผดผื่น เป็นหมัน หรือเป็นโรคต่าง ๆ จนเสียชีวิตได้ เช่น โรคมะเร็งปอด โรคโลหิตจาง
– การป้องกันและแก้ไข คือ ควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ ช่วยกันปลูกต้นไม้
มลพิษทางน้ำ
– ผลกระทบ คือ อาจทำให้เป็นโรคต่างๆ เช่น อหิวาตกโรค หรือถ้ากินสัตว์น้ำที่อยู่ในน้ำที่มีสารพิษอาจทำให้เป็นโรคมินามาตะ และอาจทำให้เสียชีวิตได้
– การป้องกันและแก้ไข คือ ไม่ระบายน้ำเสียลงแหล่งน้ำ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ลดการใช้สารเคมี
มลพิษทางดิน
– ผลกระทบ คือ อาจทำให้เป็นโรคบาดทะยัก โรคโปลิโอ โรคพยาธิปากขอ
– การป้องกันและแก้ไข คือ ลดการใช้สารเคมีจากการเกษตร ไม่ทิ้งน้ำสกปรกหรือขยะลงดิน
มลพิษทางเสียง
– ผลกระทบ คือ อาจทำให้หูตึง เกิดความเครียด สุขภาพจิตเสื่อมจนเป็นโรคประสาทได้
– การป้องปันและแก้ไข คือ ควบคุมแหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ ไม่อยู่ในที่ ๆ เสียงดัง
2. โรคติดต่อ
คือโรคที่สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้โดยวิธีการต่าง ๆ
โรคติดต่อสำคัญที่พบในประเทศไทย ได้แก่
โรคอหิวาตกโรค จากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งซึ่งปะปนออกมากับอุจจาระและอาเจียนของผู้ป่วย แล้วแพร่กระจายไปตามอาหารโดยมีแมลงวันเป็นพาหะ
การรักษา ให้ดื่มน้ำตาลเกลือแร่ ถ้าอาการหนักให้รีบนำส่งแพทย์
การป้องกันและควบคุมโรค
– รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สุกและสะอาด
– ใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
– กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน
– ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรค
โรควัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งซึ่งปะปนอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ
การรักษา ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
การป้องกันและควบคุมโรค
– รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
– ตรวจโรคและฉีดวัคซีน
– อย่าให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
– ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรค
โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคเข้าสู่ร่างกายคนทางบาดแผลหรือรอยถลอก
อาการ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
1) ระยะอาการนำ มีอาการคล้ายไข้หวัด
2) ระยะมีอาการทางระบบประสาท มีอาการตื่นกลัว
3) ระยะสุดท้าย จะไม่รู้สึกตัว ตัวเขียว และเสียชีวิต
การป้องกันและควบคุมโรค
– นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีน
– ระวังอย่าให้สัตว์กัดหรือเลีย
โรคพยาธิใบไม้ในตับ เกิดจากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ที่มีไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับปะปนอยู่
การรักษา เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคควรรีบปรึกษาแพทย์
การป้องกันและควบคุมโรค
– ควรปรุงอาหารให้สุก
– พบแพทย์
ผลกระทบจากโรคติดต่อ แบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่
– ผลกระทบต่อตัวเอง เช่น เจ็บปวด เสียเงิน
– ผลกระทบต่อครอบครัว เช่น เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย
– ผลกระทบต่อประเทศชาติ เช่น ประชากรด้อยคุณภาพ
การป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ ทำได้ดังนี้
– ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย โดยการกำจัดแหล่งพาหะของโรค
– ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยการฉีดวัคซีน
– สร้างเสริมความต้านทานโรค โดยการกินอาหารที่มีประโยชน์
3. ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเองและส่วนรวม
พฤติกรรมสุขภาพที่ดีส่วนบุคคล จำแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้
– พฤติกรรมการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ
– พฤติกรรมเมื่อเจ็บป่วย
– พฤติกรรมหลังจากได้รับการวินิจฉัย
การรับผิดชอบต่อสุขภาพต่อส่วนรวม มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
– ดูแลรักษาความสะอาด
– เผยแพร่ความรู้เรื่องวิธีการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่ถูกวิธี
– ช่วยสอดส่องดูแลความสงบปลอดภัยในชุมชน
การสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ
มีความสำคัญดังนี้
– ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรค
– เพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
– ทำให้รูปร่างและสัดส่วนของร่างกายดี
มีองค์ประกอบ ได้แก่
– เปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนัง
– ความทนทานของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
– ความอ่อนตัว
– ความทนทานของกล้ามเนื้อ
– ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ทำได้โดย
– การวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย โดยใช้ดัชนีมวลกาย
– การงอแขนห้อยตัวหรือการดึงข้อ
– ลุกนั่ง 30 วินาที
– การงอตัวไปข้างหน้า
– การวิ่งทางไกล
4. การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายโดยใช้ท่ากายบริหาร
การสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ มีหลักดังนี้
– เพิ่มความต้านทาน
– ฝึก 3 ชุดต่อวัน
– ฝึก 3 วันต่อสัปดาห์
ตัวอย่างเช่น ท่ายืนข้าง ท่ายกศีรษะ
การสร้างเสริมความอ่อนตัว มีหลักดังนี้
– เคลื่อนไหวช้าๆจนรู้สึกเจ็บแล้วค้างไว้ 8–10 วินาที
– กระทำซ้ำและทำทุกวัน
ตัวอย่างเช่น ท่ายืดแขนงอลำตัว ท่ายืดจับปลายเท้า
การสร้างเสริมความต้านทานของกล้ามเนื้อ มีหลักดังนี้
– ปฏิบัติซ้ำๆใช้เวลานาน
– ฝึกชุดละ 15–25 ครั้ง ประมาณ 1–3 ชุด
– ฝึก 3 วันต่อสัปดาห์
ตัวอย่างเช่น ท่าก้าวขึ้น–ลงกล่อง ท่าดันพื้น
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th