ภาษาไทย ม. 3 เรื่อง กลุ่มคำและประโยค
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 464K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้  
 

 



กลุ่มคำ
   กลุ่มคำ หรือ วลี คือ การนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยไม่เกิดคำใหม่และไม่เป็นประโยค
   วิธีพิจารณาคำในภาษาไทยต้องดูจากการเรียงลำดับคำและความหมายควบคู่กันจึงจะรู้ชนิดและหน้าที่ของคำนั้นได้ เช่น
 

 
 

   ๑. ชนิดของกลุ่มคำ
        กลุ่มคำแบ่งได้ ๗ ชนิด เรียกตามชนิดของคำที่ขึ้นต้นกลุ่มคำนั้น ได้แก่
        ๑. กลุ่มคำนามหรือนามวลี ขึ้นต้นด้วยคำนาม เช่น โรงเรียนของเรา เด็กทั้งหลาย
        ๒. กลุ่มคำสรรพนามหรือสรรพนามวลี ขึ้นต้นด้วยคำสรรพนาม เช่น เราชาวไทย พระคุณเจ้า
        ๓. กลุ่มคำกริยาหรือกริยาวลี ขึ้นต้นด้วยคำกริยา เช่น ทำมาหากิน เดินเร็ว
        ๔. กลุ่มคำวิเศษณ์หรือวิเศษณ์วลี ขึ้นต้นด้วยคำวิเศษณ์ เช่น หอมชื่นใจ สูงลิบลิ่ว
        ๕. กลุ่มคำบุพบทหรือบุพบทวลี ขึ้นต้นด้วยคำบุพบท เช่น บนโต๊ะทำงาน ด้วยน้ำใจ
        ๖. กลุ่มคำสันธานหรือสันธานวลี ขึ้นต้นด้วยคำสันธาน เช่น ถึงอย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุนี้
        ๗. กลุ่มคำอุทานหรืออุทานวลี ขึ้นต้นด้วยคำอุทาน เช่น อะไรกันนี่ ! ช่างกระไรหนอ !
 
 

   ๒. หน้าที่ของกลุ่มคำ
        กลุ่มคำทำหน้าที่ในประโยคได้เช่นเดียวกับคำทั้ง ๗ ชนิด ดังนี้
        ๒.๑ กลุ่มคำทำหน้าที่อย่างนาม

 

 

        ๒.๒ กลุ่มคำทำหน้าที่อย่างสรรพนาม

 


        ๒.๓ กลุ่มคำทำหน้าที่อย่างกริยา
 


        ๒.๔ กลุ่มคำทำหน้าที่อย่างวิเศษณ์
 


        ๒.๕ กลุ่มคำทำหน้าที่อย่างบุพบท
 


        ๒.๖ กลุ่มคำทำหน้าที่อย่างสันธาน
 


        ๒.๗ กลุ่มคำทำหน้าที่อย่างอุทาน
        กลุ่มคำทำหน้าที่อย่างอุทานจะไม่มีหน้าที่หลักในประโยค ทำหน้าที่เพียงเสริมใจความให้ชัดเจนขึ้น
 

 


ประโยคซับซ้อน
   ประโยคซับซ้อน คือ ประโยคชนิดต่าง ๆ ที่มีโครงสร้างซับซ้อนกว่าปกติ พบผ่านการสื่อสารในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น ๕ แบบ ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะโครงสร้างแสดงความซับซ้อนต่างกันดังต่อไปนี้
   ๑. ประโยคความเดียวซับซ้อน
   ประโยคความเดียวซับซ้อน คือ ประโยคความเดียวที่มีส่วนขยาย
       ๑.๑ ประโยคความเดียวซับซ้อนที่ภาคประธาน
          ๑) ส่วนขยายเป็นกลุ่มคำที่มีคำบุพบทนำหน้า เช่น
              เครื่องปั้นดินเผาของชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรีเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
          ๒) ประธานเป็นกลุ่มคำที่มีคำว่า “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เช่น
              การส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น
          ๓) ประธานมีส่วนขยายเป็นคำหรือกลุ่มคำปะปนกัน เช่น
              สินค้านานาชนิดหลากหลายรูปแบบจากร้านค้าชุมชน แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านเป็นอย่างดี
       ๑.๒ ประโยคความเดียวซับซ้อนที่ภาคแสดง
          ๑) กริยาหรือตัวแสดงเป็นกลุ่มคำ เช่น
              ชาวบ้านพยายามจ้องมองดูต้นไม้ประหลาดด้วยความสนใจ
          ๒) กริยาหรือตัวแสดงมีส่วนขยายอยู่หลายแห่งในประโยค เช่น
              ทุกเช้าก่อนเข้าเรียนครูตรวจการแต่งกายนักเรียนอย่างละเอียดหน้าแถว
          ๓) กริยาหรือตัวแสดงมีส่วนขยายต่อเนื่องกันหลายทอด เช่น
              นักเรียนค่อยๆ จัดดอกกุหลาบใส่แจกันบนโต๊ะครู
 

 

   ๒. ประโยคความรวมซับซ้อน
   ประโยคความรวมซับซ้อน คือ ประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยค เชื่อมต่อกันด้วยสันธาน
       ๒.๑ ประโยคความรวมที่มีส่วนประกอบเป็นประโยคความเดียวซับซ้อน เช่น
          พืชสมุนไพรมิได้มีประโยชน์เฉพาะการปรุงอาหารเท่านั้น แต่ยังนำมาทำยาสมุนไพรรักษาโรคอีกด้วย 
 


       ๒.๒ ประโยคความรวมที่มีส่วนประกอบเป็นประโยคความรวม
          เขารับประทานอาหารรสจัด แต่ฉันรับประทานผลไม้รสเปรี้ยว ดังนั้นเขาจึงปวดท้อง แต่ฉันท้องเสีย
 


       ๒.๓ ประโยคความรวมที่มีส่วนประกอบเป็นประโยคความซ้อน
          เขาตั้งใจจะไปนมัสการพระธาตุที่ประดิษฐานบนเจดีย์ภูเขาทอง แต่ต้องประสบปัญหาเพราะฝนตกหนัก
 




   ๓. ประโยคความซ้อนซับซ้อน
   ประโยคความซ้อนซับซ้อน คือ ประโยคความซ้อนที่มีประโยคย่อยมากกว่าหนึ่งประโยค โดยประโยคย่อยอาจเป็นนามานุประโยค คุณานุประโยค หรือวิเศษณานุประโยคก็ได้
       ๓.๑ ประโยคหลักหรือประโยคย่อยเป็นประโยคความเดียวซับซ้อน
          นักกีฬากำลังฝึกซ้อมอยู่กลางสนาม ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
 


       ๓.๒ ประโยคความซ้อน ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นประโยคความรวม
          ละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูกที่ครูและนักเรียนแสดงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
 


       ๓.๓ ประโยคความซ้อน ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นประโยคความซ้อน
          ครูบอกแก่ลูกศิษย์ทั้งหลายว่า เราควรมีจิตใจเข้มแข็งอดทนจึงจะต่อสู้กับอุปสรรคนานัปการที่เข้ามารุมล้อม    รอบตัวเราได้
 




   ๔. ประโยคแสดงเงื่อนไข
   ประโยคแสดงเงื่อนไข คือ ประโยคความเดียวตั้งแต่สองประโยคเชื่อมต่อกันโดยมีใจความเป็นเงื่อนไขต่อกัน มีลักษณะประโยคคล้ายประโยคความรวมและประโยคความซ้อนเพราะใช้สันธานเหมือนกัน 



   ๕. ประโยคแสดงเงื่อนไขซับซ้อน
   ประโยคแสดงเงื่อนไขซับซ้อน คือ ประโยคที่มีประโยคเงื่อนไขหรือผลที่ตามมามากกว่าหนึ่งประโยค
   เงื่อนไขมากกว่าหนึ่งประโยค
       ถ้าเราทำความชั่ว แล้วปกปิดความชั่วนั้นไว้ ความชั่วนั้นก็จะปรากฏขึ้นสักวันหนึ่ง
       เราทำความชั่ว                            : เงื่อนไข ๑
       เราปกปิดความชั่วนั้นไว้                 : เงื่อนไข ๒
       ความชั่วนั้นจะปรากฏขึ้นสักวันหนึ่ง   : ผลที่ตามมา
   ผลที่ตามมามากกว่าหนึ่งประโยค
       ถ้าเราทำความชั่ว แล้วปกปิดความชั่วนั้นไว้ ความชั่วนั้นก็จะปรากฏขึ้นสักวันหนึ่งและนำความเดือดร้อนมาให้
       เราทำความชั่ว                            : เงื่อนไข ๑
       เราปกปิดความชั่วนั้นไว้                 : เงื่อนไข ๒
       สักวันหนึ่งความชั่วนั้นจะปรากฏขึ้น   : ผลที่ตามมา ๑
       (ความชั่ว) นำความเดือดร้อนมาให้   : ผลที่ตามมา ๒



สรุป
   กลุ่มคำหรือวลี คือ การนำคำมาเรียงต่อกัน มีใจความไม่สมบูรณ์ ใช้เป็นส่วนหนึ่งของประโยค ส่วนกลุ่มคำใดมีใจความครบถ้วนจะเรียกว่า ประโยค ในปัจจุบันประโยคที่ใช้เพื่อการสื่อสารมีโครงสร้างซับซ้อนกว่าโครงสร้างประโยคปกติ ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้ประโยคให้ถ่องแท้เพื่อพัฒนาการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น


 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th