บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง การเมืองการปกครอง
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 90.8K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้






1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ การแบ่งอำนาจอธิปไตย ได้แก่




          อำนาจนิติบัญญัติ เป็นอำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่
                    - สภาผู้แทนราษฎร
                    - วุฒิสภา




          รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้
                    - แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
                    - ตรากฎหมาย
                    - ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
                    - ให้เห็นในกิจการที่สำคัญ

          อำนาจบริหาร เป็นอำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้คณะรัฐมนตรี




          คณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้
                    - กำหนดนโยบายและบริหารราชการแผ่นดิน
                    - ออกกฎหมายที่จำเป็น
                    - อำนาจหน้าที่อื่น

          อำนาจตุลาการ เป็นอำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้ศาล ซึ่งศาลแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
                    - ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
                    - ศาลยุติธรรม พิจารณาพิพากษาคดีทั้งหมด
                    - ศาลปกครอง พิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างราชการกับเอกชนหรือระหว่างราชการด้วยกันเอง
                    - ศาลทหาร พิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาของทหารและคดีที่มีลักษณะพิเศษทางอาญา




          การถ่วงดุลอำนาจอธิปไตย การที่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้มอบอำนาจให้รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย มิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากจนเกินไป




          อำนาจนิติบัญญัติ
                    - การถ่วงดุลอำนาจบริหาร โดยการตั้งกระทู้ถาม และ อภิปรายไม่ไว้วางใจ
                    - การถ่วงดุลอำนาจตุลาการโดยการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ถอดถอนบุคคล พิจารณางบประมาณ

          อำนาจบริหาร
                    - การถ่วงดุลอำนาจนิติบัญญัติ กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรเกิดข้อขัดแย้งกับคณะรัฐมนตรี
                    - การถ่วงดุลอำนาจตุลาการ ถ่วงดุลอำนาจตุลาการด้วยการจัดสรรงบประมาณ

          อำนาจตุลาการ
                    - การถ่วงดุลอำนาจนิติบัญญัติ โดยการพิจารณาวินิจฉัยในเรื่องต่าง ๆ
                    - การถ่วงดุลอำนาจบริหาร โดยการพิจารณาวินิจฉัย และพิพากษาในกรณีต่าง ๆ

2. รัฐธรรมนูญ




          หลักการและเจตนารมณ์
                    - หลักความเป็นรัฐเดี่ยว
                    - หลักการบริหารประเทศในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ
                    - หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
                    - หลักสิทธิมนุษยชน
                    - หลักความเสมอภาค
                    - หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
                    - หลักประเพณีการปกครอง

          โครงสร้างและสาระสำคัญ มีดังนี้
                    - หมวด 1 บททั่วไป
                    - หมวด 2 พระมหากษัตริย์
                    - หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
                    - หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
                    - หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
                    - หมวด 6 รัฐสภา
                    - หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
                    - หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ
                    - หมวด 9 คณะรัฐมนตรี
                    - หมวด 10 ศาล
                    - หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
                    - หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
                    - หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                    - หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น
                    - หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
                    - บทเฉพาะกาล เป็นข้อยกเว้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันช่วงเวลาหนึ่ง

3. การปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนชาวไทยต้องปฏิบัติตาม ดังนี้
          สิทธิและเสรีภาพของตนเองตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติเรื่องของสิทธิและเสรีภาพไว้ โดยให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิและเสรีภาพในด้านต่าง ๆ ดังนี้
                    - ความเสมอภาค
                    - สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
                    - สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
                    - สิทธิในทรัพย์สิน
                    - สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
                    - เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน
                    - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
                    - สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
                    - สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน
                    - เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม
                    - สิทธิชุมชน
                    - สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

          หน้าที่ของตนเองตามรัฐธรรมนูญ




                    - การรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                    - การป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย
                    - การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยเลือกผู้แทนที่ดี มีคุณภาพ
                    - การพัฒนาประเทศ
                    - การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ





แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th