ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
คำมูล
คำมูล = คำดั้งเดิม/คำพื้นฐานในแต่ละภาษา
คำมูลอาจเป็นคำที่คิดขึ้นหรือคำยืม คำมูลในภาษาไทยเป็นคำโดดใช้เรียกสิ่งของและบอกลักษณะอาการทั่วไป สาเหตุที่ทำให้คำมูลพยางค์เดียวเปลี่ยนไปเป็นคำมูลหลายพยางค์ ดังนี้
การเปลี่ยนแปลง |
ตัวอย่าง |
๑. คำกร่อน – มะ กร่อนจาก หมาก – ตะ กร่อนจาก ต้น/ตัว
– อะ กร่อนจาก อัน – สะ กร่อนจาก สาย/สาว – กร่อนเสียงพยางค์หน้าคำซ้ำ |
มะม่วง มะขาม มะพร้าว ต้นขบ ต้นเคียน ต้นไคร้ ตะขาบ ตะเข็บ ตะเข้ อะนี้ อนึ่ง อะไร สะดือ สะใภ้ ระรวย ระรื่น |
๒. การแบ่งพยางค์ผิด แยกพยางค์ท้ายคำหน้า เป็นพยางค์หน้าคำหลัง เช่น ชื่อนก ผัก และสิ่งที่มีลักษณะกลมเป็นลูก |
กะจาบ มาจาก นกจาบ (นก-กะ-จาบ) กะเฉด มาจาก ผักเฉด (ผัก-กะ-เฉด) กะดุม มาจาก ลูกดุม (ลูก-กะ-ดุม) |
๓. แนวเทียบผิด |
กะบอก กะบุง กะดูก เดิมเป็น บอก บุง ดูก |
๔. การเพิ่มเสียงไม่ให้คอนกัน เกิดจากการอ่านเสียง กะ ตรงตัว ก สะกด |
จุกจิก --> จุก-กะ-จิก --> กะจุกกะจิก |
๕. การรับคำจากภาษาอื่น |
ศีรษะ เมตตา (บาลีสันสกฤต) ขนง ฉบับ (เขมร) รำมะนา โนรี (มลายู) ช็อกโกแลต ไอศกรีม (อังกฤษ) |
๖. การเพิ่มพยางค์ |
กำนัน (กัน) ดำริ (ตริ) จำนน (จน) ขนาน (ขาน) |
คำซ้ำ
คำซ้ำ = กล่าวคำมูลซ้ำ ใช้ไม้ยมกแทนคำหลัง
หลักการสร้างคำซ้ำ คำส่วนมากใช้เป็นคำซ้ำได้ เช่น กล้วย ๆ (ซ้ำคำมูล) นั่ง ๆ นอน ๆ (นำคำซ้ำมารวมเป็นคำซ้อน) เลียบ ๆ เคียง ๆ (ซ้ำคำซ้อน) โดยคำซ้ำที่ได้จะมีความหมายหนักขึ้น เบาลง หรือเปลี่ยนไป เช่น เด็ก ๆ (พหูพจน์) ไปไกล ๆ (คำสั่ง) งู ๆ ปลา ๆ (เปลี่ยนความหมาย) ขาว ๆ (ไม่เจาะจง)
ข้อสังเกต
– คำที่ออกเสียงซ้ำกันบางคำไม่ได้เป็นคำซ้ำ เช่น เอาแต่นอนนอนจนอ้วนลงพุง
– คำบางคำมีเสียงพยางค์ซ้ำกันแต่ไม่ใช่คำซ้ำ เช่น จะจะ นานา
– กริยาช่วย บุพบท สันธาน ใช้เป็นคำซ้ำไม่ได้ เช่น จะ คง แห่ง ด้วย จึง หลังจาก
– วิเศษณ์ส่วนใหญ่ต้องใช้เป็นคำซ้ำเท่านั้น เช่น ดิก ๆ ตุบ ๆ โทง ๆ
คำซ้อน
คำซ้อน = นำคำมูลที่มีความหมายเหมือนกัน หรือตรงกันข้ามมารวมกัน
หลักการสร้างคำซ้อน สร้างจากคำมูลชนิดใดและภาษาใดก็ได้ แต่ต้องนำคำมูลชนิดเดียวกันมาซ้อนกัน คำซ้อนที่ได้ทำหน้าที่อย่างชนิดของคำมูลนั้น เช่น เรือแพ หูตา (นาม+นาม) ชมเชย ทดแทน (กริยา+กริยา) ฉับพลัน เด็ดขาด (วิเศษณ์+วิเศษณ์)
ชนิดของคำซ้อน
๑. คำซ้อนเพื่อความหมาย เน้นความหมาย โดยความหมายหลักอาจอยู่พยางค์ใดก็ได้ ความหมายใหม่ที่ได้จะชัดเจนหรือกว้างขึ้น เช่น เสื้อผ้า (ความหมายกว้างขึ้น) คดในข้องอในกระดูก (ความหมายเชิงอุปมา) เท็จจริง (ความหมายอยู่คำต้นหรือคำท้าย) ชอบมาพากล (ความหมายอยู่ที่คำต้นและคำท้าย)
๒. คำซ้อนเพื่อเสียง เน้นเสียงสัมผัส ทำให้เกิดความไพเราะ โดยต้องมีเสียงพยัญชนะต้นเดียวกัน เช่น เกะกะ ขรุขระ คึกคัก จริงจัง แจกแจง เพลิดเพลิน
คำประสม
คำประสม = นำคำมูลที่มีความหมายไม่สัมพันธ์กันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน
หลักการสร้างคำประสม สร้างจากคำมูลชนิดใดและภาษาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคำมูลชนิดเดียวกัน วางคำหลักไว้หน้า คำขยายไว้หลัง คำใหม่ที่เกิดขึ้นมีความหมายโดยนัยแต่ยังคงเค้าความหมายเดิม เช่น นอกคอก (บุพบท+นาม) ม้าใช้ (นาม+กริยา) เขียวหวาน (วิเศษณ์+วิเศษณ์) กันสาด (กริยา+กริยา) คำประสมส่วนมากจะประกอบด้วยคำมูลที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง ยกเว้นคำที่ประสมด้วย ชาว นัก ผู้ ช่าง การ ความ เครื่อง กระ ประ
ข้อสังเกต
– หากรวมกันแล้วคงความหมายเดิม ไม่จัดว่าเป็นคำประสม แต่จัดเป็นวลี เช่น พ่อวัว ลูกแมว ตู้เหล็ก
– คำประสมเกิดจากคำมูลที่มีความหมายต่างกัน หากคำมูลมีความหมายเหมือนกันจัดเป็นคำซ้อน
– คำประสม=คำหลัก+คำขยาย แต่คำสมาส=คำขยาย+คำหลัก เช่น ผลผลิต (ประสม) ผลิตผล (สมาส)
คำพ้อง
คำพ้องรูป = รูปเหมือน เสียงต่าง เขมา ออกเสียง เข-มา หมายถึง สบายใจ ออกเสียง ขะ-เหฺมา หมายถึง เครื่องยา |
คำพ้องเสียง = เสียงเหมือน รูปต่าง คำที่ออกเสียง สัน เช่น ศัล (เปลือกไม้) สรร (คัด เลือก) สรรค์ (สร้าง) สรรพ์ (ทุกสิ่ง) สัณฑ์ (ดง) |
คำพ้องความหมาย = ความหมายเหมือน เสียงและรูปต่าง = คำไวพจน์ บุหรง ปักษา ปักษิน ปักษี พิหค วิหค สุโนก หมายถึง นก |
คำสมาส
คำสมาส = นำคำบาลีสันสกฤตที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน
ความแตกต่างระหว่างคำสมาสกับคำประสม
ความแตกต่าง |
คำสมาส |
คำประสม |
๑. ที่มาของคำ |
คำภาษาบาลีสันสกฤตเท่านั้น |
คำภาษาใดก็ได้ |
๒. การเรียงคำและการแปลความหมาย
|
คำขยาย+คำหลัก แปลจากหลัง |
คำหลัก+คำขยาย แปลจากหน้า |
๓. การเขียนสะกดคำ |
ไม่ประวิสรรชนีย์หรือมีทัณฑฆาตตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า |
ประวิสรรชนีย์หรือมีทัณฑฆาตตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า |
๔. การออกเสียงอ่าน |
ออกเสียงสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า |
ไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า |
หลักการสร้างคำสมาส นำคำบาลีสันสกฤตตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประกอบกัน โดยเรียงคำหลักไว้หลัง คำขยายไว้หน้า และไม่ประวิสรรชนีย์หรือใช้ทันฑฆาตกำกับตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น ธุรการ แพทยศาสตร์ ยกเว้น พระ ที่กลายเสียงจาก วร จัดเป็นคำสมาส เช่น พระกร พระขรรค์ พระฉาย
หลักการสนธิคำสมาส
การสนธิสระ คือ การกลมกลืนเสียงสระ ระหว่างพยางค์ท้ายของคำหน้ากับพยางค์หน้าของคำหลัง
พยางค์ท้าย ของคำหน้า |
พยางค์หน้า ของคำหลัง |
หลักการสนธิ |
ตัวอย่าง |
อะ/อา |
อะ |
ใช้สระของพยางค์หน้าคำหลัง |
พุทธางกูร (พุทธ+อังกูร) |
อะ/อา |
อา หรืออื่น ๆ |
ใช้สระของพยางค์หน้าคำหลัง |
ราโชวาท (ราช+โอวาท) |
|
|
หากพยางค์หน้าคำหลังสระ อิ เปลี่ยนเป็น เอ |
นเรศวร (นร+อิศวร) |
|
|
หากพยางค์หน้าคำหลังสระ อุ เปลี่ยนเป็น อู/โอ |
ราชูปถัมภ์ (ราช+อุปถัมภ์) นโยบาย (นย+อุบาย) |
อิ/อี |
อิ |
ใช้สระของพยางค์หน้าคำหลัง อาจเปลี่ยนเป็น เอ ก็ได้ |
มุนินทร์, มุเนนทร์ (มุนิ+อินทร์) |
อิ/อี |
อื่น ๆ ยกเว้น อิ |
เปลี่ยนสระของพยางค์ท้ายคำหน้าเป็น ย แล้วประสมกับสระของพยางค์หน้าคำหลัง แต่ถ้าพยางค์หน้าคำหลังสระ อะ ให้เปลี่ยนเป็น อา |
กิตยากร (กิตตย+อากร = กิตติ+อากร) ราชินยานุสรณ์ (ราชินย+อนุสรณ์ = ราชินี+อนุสรณ์) |
|
|
บางกรณีไม่เปลี่ยน อิ/อี เป็น ย แต่ใช้พยัญชนะต้นในพยางค์ท้ายคำหน้ากับสระพยางค์หน้าคำหลัง |
ราชินูปถัมภ์ (ราชินี+อุปถัมภ์)
|
อุ |
อุ |
ใช้สระของพยางค์หน้าคำหลัง อาจเปลี่ยนเป็น อู โอ ก็ได้ |
ดนูปถัมภ์ (ดนุ+อุปถัมภ์) คโรปการ (ครุ+อุปการ) |
อุ |
อื่น ๆ ยกเว้น อุ |
เปลี่ยนสระของพยางค์ท้ายคำหน้าเป็น ว แล้วประสมกับสระของพยางค์หน้าคำหลัง |
สินธวานนท์ (สินธุ+อานนท์)
|
นฤคหิตสนธิ คือ การเชื่อมคำที่ลงท้ายด้วยนฤคหิตกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะหรือสระ
นฤคหิตสนธิ |
ตัวอย่าง |
นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค
|
สํ+เกต=สังเกต สํ+จร=สัญจร |
นฤคหิตสนธิกับพยัญชนะเศษวรรค (ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ) แปลงนฤคหิตเป็น ง แล้วจึงสนธิ |
สํ+วร=สังวร สํ+หร=สังหร |
นฤคหิตสนธิกับสระ แปลงนฤคหิตเป็น ม แล้วจึงสนธิ |
สํ+อาคม=สมาคม สํ+โอสร=สโมสร |
อุปสรรค คือ คำเติมหน้าศัพท์อื่นทำหน้าที่คล้ายวิเศษณ์
คำบาลีสันสกฤตที่ประกอบอุปสรรค/นิบาตและเชื่อมสนธิ
อุปสรรค/นิบาต |
ตัวอย่าง |
อุปสรรค สํ (ร่วม พร้อม) |
สังกร (สํ+กร) : ความร่วมกัน สัญจร (สํ+จร) : การผ่านไปมา สัมพันธ์ (สํ+พนฺธ) : เกี่ยวข้องกัน สัญญา (สํ+ญา) : ข้อตกลงร่วมกัน |
นิบาต สยํ (เอง)
|
สยมพร, สยัมพร, สยุมพร (สยํ+วร) : การเลือกคู่ของนางกษัตริย์เอง สยมภู (สยํ+ภู) : พระผู้เป็นเอง หมายถึง พระพุทธเจ้า หรือพระอิศวร |
สรุป
การสร้างคำด้วยวิธีต่าง ๆ ทำให้มีคำใช้ในภาษาไทยมากขึ้น เช่น การสร้างคำขึ้นโดยเฉพาะ เรียกว่า คำมูล ซึ่งสามารถนำไปประกอบเป็นคำใหม่ ทั้งคำประสม คำซ้ำ คำซ้อน คำสมาส
คำสำคัญ คำมูล คำซ้ำ คำซ้อน คำประสม คำพ้อง คำสมาส สนธิ
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th