บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง ประโยคและการสื่อสาร
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 343.9K views



แผนผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
 


การใช้ประโยคเพื่อสื่อสาร

  ส่วนประกอบของประโยค
     ประโยค = ภาคประธาน + ภาคแสดง (กริยา กรรม ส่วนเติมเต็ม) อาจมีส่วนขยายหรือไม่ก็ได้
 

ประโยคความเดียว
   ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) ใจความสำคัญอย่างเดียว

   ประโยคจำแนกตามบทกริยา
     ๑. ประโยคที่ใช้กริยาไม่มีกรรม ประธาน + กริยา
 


     ๒. ประโยคที่ใช้กริยามีกรรม ประธาน + กริยา + กรรม
 


     ๓. ประโยคที่ใช้กริยาอาศัยส่วนเติมเต็ม ประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็ม
 


     ๔. ประโยคที่ใช้กริยาช่วย ประธาน + กริยาช่วย + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็ม
 


ประโยคจำแนกตามความมุ่งประสงค์ของผู้ส่งสาร
   ๑. ประโยคบอกเล่า ประธาน + กริยา  ประธาน + กริยา + กรรม  หรือ ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม
   ๒. ประโยคปฏิเสธ วิเศษณ์บอกความปฏิเสธ ไม่ ไม่ใช่ มิใช่ หา...ไม่ หามิได้
   ๓. ประโยคคำถาม ทั้งแบบต้องการคำตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง และแบบต้องการคำตอบรับหรือปฏิเสธ
   ๔. ประโยคคำสั่ง ขอร้อง หรือวิงวอน มักละประธาน ใช้กริยาขึ้นต้นประโยค
 

ประโยคจำแนกตามลำดับองค์ประกอบ
   ๑. เริ่มด้วยผู้กระทำ เช่น เด็ก ๆ ชอบเล่นเทนนิส
   ๒. เริ่มด้วยผู้ถูกกระทำ
          - ผู้ถูกกระทำเป็นประธาน เช่น คนร้ายถูกตำรวจจับ
          - ผู้ถูกกระทำเป็นกรรม เช่น นาฬิกาเรือนนี้ยายซื้อให้ฉัน
   ๓. เริ่มด้วยกริยา เกิด มี ปรากฏ และในประโยคคำสั่ง ขอร้อง หรือวิงวอน มักเรียงกริยาไว้หน้าประโยค
 

ส่วนขยายของประโยค
   ส่วนขยายประโยค ได้แก่ บทขยายประธาน บทขยายกริยา บทขยายกรรม บทขยายส่วนเติมเต็ม มักอยู่หลังและติดกับคำที่ถูกขยาย แต่บางครั้งบทขยายประธานหรือกริยาอาจวางอยู่หน้าประธานหรือกริยาที่ขยาย เช่น หลายคนชอบเขียนบทความปลวกค่อย ๆ ทำรังทีละน้อย
 

   ตัวอย่างส่วนขยายประโยค
 


ประโยคความรวม
   ประโยคความรวม
คือ การรวมประโยคความเดียว โดยใช้สันธานเป็นตัวเชื่อม ไม่ขยายซึ่งกันและกัน

ลักษณะของประโยคความรวม
   ๑. เป็นเอกเทศ
ประโยคความเดียวที่นำมารวมกันมีใจความต่างกัน เป็นอิสระต่อกัน

   ๒. เปลี่ยนรูปได้ เช่น รวมภาคแสดงโดยเชื่อมภาคประธาน รวมภาคประธานโดยเชื่อมภาคแสดง รวมภาคประธานและบทกริยาโดยเชื่อมส่วนเติมเต็ม ละประโยคท้าย คงไว้แต่สันธาน หรือ หรือไม่

   หมายเหตุ ถ้าสันธานไม่ได้เชื่อมความตามข้างต้น แต่เชื่อมบทกรรม บทวิเศษณ์ บทขยาย และทำหน้าที่บุพบท ถือเป็นประโยคความเดียวธรรมดา

ชนิดของประโยคความรวม
   ๑. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน
แสดงอาการร่วมกัน เวลาต่อเนื่องกัน หรือคล้อยตามโดยมีเงื่อนไข ใช้สันธาน และ ทั้ง...และ กับแล้ว...ก็ แล้ว...จึง ครั้น...ก็ ครั้น...จึง ถ้า...ก็

   ๒. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน ใช้สันธาน แต่ แต่ทว่า แต่...ก็ กว่า...ก็ ถึง...ก็

   ๓. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้สันธาน หรือ หรือไม่ก็ หรือมิฉะนั้น

   ๔. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุผลแก่กัน ใจความเหตุอยู่หน้าใจความผล ใช้สันธาน จึง เพราะ...จึง เพราะฉะนั้น...จึง ด้วยเหตุว่า...จึง

   หมายเหตุ
หรือแต่ เชื่อมบทประธาน บทกริยา หรือส่วนเติมเต็มเท่านั้น ถ้าเชื่อมบทอื่นเป็นประโยคความเดียว


ประโยคความซ้อน
   ประโยคความซ้อน
คือ ประโยคหลัก (มุขยประโยค) ที่มีประโยคย่อย (อนุประโยค) มาขยาย
   ๑. นามานุประโยค
ประโยคย่อยทำหน้าที่อย่างนาม
         
๑) เป็นบทประธาน เช่น ภราดรเล่นเทนนิสถูกใจคนดู

          ๒) เป็นบทกรรม เช่น สมชายไม่ชอบสมพงศ์แสดงอำนาจเหนือตน
          ๓) แทนบทประธาน ขยายบทประธาน เช่น ข่าวที่ว่านายเสริมจะมาทำความลำบากใจแก่แม่ถนอม
          ๔) แทนบทกรรม ขยายบทกรรม เช่น แม่ถนอมได้ทราบข่าวที่ว่านายเสริมจะมา
 

   ๒. คุณานุประโยค ประโยคย่อยทำหน้าที่อย่างสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน)
          ๑) แทนนาม/สรรพนามที่เป็นบทประธาน เช่น นายเสริมพี่ชายของแม่ถนอมที่อยู่ต่างจังหวัดจะเดินทางมาพักที่บ้าน
          ๒) แทนนาม/สรรพนามที่เป็นบทกรรม เช่น ทุ่งเลือดทุ่งลมแสดงชีวิตของโจร ซึ่งตกอยู่ในห้วงรักองค์หญิง
          ๓) แทนนาม/สรรพนามซึ่งเป็นส่วนเติมเต็ม เช่น นายแกว่นต้องแสดงบทคนร้ายอันมีลักษณะตรงข้ามกับนิสัยของเขา

   หมายเหตุ
ที่ ซึ่ง อัน เป็นบทประธาน แทนและขยายนาม/สรรพนามเท่านั้น หน้าที่อื่นไม่ใช่ประโยคความซ้อน
 

   ๓. วิเศษณานุประโยค ประโยคย่อยทำหน้าที่ขยาย (หลังจาก เมื่อ เพราะ จนกระทั่ง ราวกับ ขณะที่ ตั้งแต่)
          ๑) ขยายกริยา เช่น เด็ก ๆ ร้องไห้จ้า ขณะที่นายแกว่นแสดงบทคนร้าย (ขยาย ร้องไห้)
          ๒) ขยายวิเศษณ์ เช่น นายแกว่นแสดงบทคนร้ายแนบเนียนจนคนดูตื่นเต้น (ขยาย แนบเนียน)

   หมายเหตุ ถ้าคำเชื่อมนำหน้านาม สรรพนาม หรือกริยาสภาวมาลา จะเป็นบุพบท ไม่ใช่ประโยคความซ้อน


การขยายส่วนต่าง ๆ ของประโยค
   การขยายส่วนต่าง ๆ ของประโยคด้วยคำ
   ใช้คำนาม สรรพนาม กริยา หรือวิเศษณ์ ขยายบทประธาน บทกริยา และบทกรรมของประโยค

        – การขยายบทประธานด้วยคำ เช่น นักเรียนขยันกำลังอ่านหนังสือ โรงเรียนเรามีชื่อเสียง


        – การขยายบทกริยาด้วยคำ เช่น น้ำไหลเชี่ยว เขาอ่านทำนองเสนาะเพราะ


        – การขยายบทกรรมด้วยคำ เช่น ฉันไม่ชอบอาหารเผ็ด เขาสวมรองเท้าหนัง


   การขยายส่วนต่าง ๆ ของประโยคด้วยกลุ่มคำ
        – การขยายบทประธานด้วยกลุ่มคำ เช่น ดาวบนท้องฟ้ามีมากมาย เพื่อนเราทั้งหมดเป็นคนดี


        – การขยายบทกริยาด้วยกลุ่มคำ เช่น กรุงเทพฯ มีพลเมืองมากที่สุด เขื่อนภูมิพลอยู่ที่จังหวัดตาก


        – การขยายบทกรรมด้วยกลุ่มคำ เช่น เขามีกล้องส่องทางไกล เขาเลี้ยงสุนัขพันธุ์ไทย


   การขยายส่วนต่าง ๆ ของประโยคด้วยประโยค
   ใช้ประโยคเล็ก (อนุประโยค) ขยายประโยคหลัก (มุขยประโยค)

        – การขยายประโยคหลักด้วยคุณานุประโยค ใช้ประโยคย่อยขยายประธานหรือกรรม ซึ่งเป็นนามหรือสรรพนามในประโยคหลัก



        – การขยายประโยคหลักด้วยวิเศษณานุประโยค ใช้ประโยคย่อยขยายกริยาและวิเศษณ์ในประโยคหลักโดยการบอกเวลา สถานที่ เหตุผล เปรียบเทียบ ประมาณ อาการ
 

     ตัวอย่างการขยายประโยคด้วยประโยค


สรุป
     ประโยคความเดียว เป็นประโยคที่มักใช้ในการสื่อสารประจำวัน การรวมประโยคความเดียวโดยใช้สันธานเชื่อม จะเป็นประโยคความรวม แต่ถ้าประโยคดังกล่าวมีใจความขยายซึ่งกันและกันจะเป็นประโยคความซ้อน การขยาย ส่วนต่าง ๆ ของประโยคด้วยคำ กลุ่มคำ และประโยค จะทำให้ประโยคมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : ประโยคความเดียว, ประโยคความรวม, ประโยคความซ้อน, การขยายประโยค

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th