บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระธรรม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 34.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่

พระรัตนตรัย ประกอบด้วย

– พระพุทธ 

– พระธรรม

– พระสงฆ์

สังฆคุณ หรือคุณความดีของพระสงฆ์ หมายถึง คุณความดีของพระสงฆ์ที่เกิดจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามคำสอน  

  

  

 

อริยสัจ หมายถึง ความจริงอันประเสริฐที่ทำให้คนเป็นผู้ประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่

– ทุกข์

– ทุกขสมุทัย

– ทุกขนิโรธ 

– ทุกขนิโรธคา

 

ทุกข์ ธรรมที่ควรรู้ คือไตรลักษณ์ ได้แก่

– อนิจจตาหรืออนิจจัง คือ ความไม่เที่ยงตรง

– ทุกขตาหรือทุกขัง คือ ความเป็นทุกข์

– อนัตตตาหรืออนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง

 

สมุทัย ธรรมที่ควรละ คือ วัฏฏะ ๓ และปปัญจธรรม ๓ ได้แก่

     วัฏฏะ ๓ หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดจาก

     – กิเลส คือ สิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง

     – กรรม คือ การกระทำที่มีเจตนา

     – วิบาก คือ ผลของกรรม

     ปปัญจธรรม ๓ หมายถึง กิเลสที่เป็นตัวการทำให้ห่างออกไปจากความจริง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ ได้แก่

     – ตัณหา คือ ความทะเยอทะยาน

     – ทิฏฐิ คือ ความงมงาย การมีทิฏฐิ

     – มานะ คือ ความถือตัว

 

วงจรกิเลส

 

นิโรธ ธรรมที่ควรบรรลุ คือ อัตถะ ๓ ได้แก่

– ทิฏฐธัมมิกัตถะ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน เป็นผลที่มุ่งหมายในโลก

– สัมปรายิกัตถะ คือ ประโยชน์เบื้องหน้า เป็นผลที่มุ่งหมายสูงขึ้น

– ปรมัตถะ คือ ประโยชน์ขั้นสูงสุด ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุด

 

มรรค ธรรมที่ควรเจริญ คือ ปัญญา ๓ สัปปุริสธรรม ๗ อุบาสกธรรม ๗ มรรคมีองค์ ๘ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ และมงคล ๓๘ ได้แก่

ปัญญา ๓ หมายถึง ความรอบรู้ในเรื่องโลกและชีวิต รู้ตามสภาพความเป็นจริง ได้แก่

– สุตมยปัญญา คือ ความรอบรู้ที่เกิดจากการฟัง การอ่าน

– จินตามยปัญญา คือ ความรู้ที่เกิดจากการคิด

– ภาวนามยปัญญา คือ ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติ

สัปปุริสธรรม ๗ หมายถึง หลักธรรมสำหรับคนดี หลักปฏิบัติสำหรับการเป็นคนดี หรือคุณธรรมที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนดี ได้แก่

– ธัมมัญญุตา คือ การรู้จักเหตุ

– อัตถัญญุตา คือ การรู้จักผล

– อัตตัญญุตา คือ การรู้จักตน

– มัตตัญญุตา คือ การรู้จักประมาณ

– กาลัญญุตา คือ การรู้จักเวลา

– ปริสัญญุตา คือ การรู้จักชุมชนหรือสังคม

– ปุคคลัญญุตา คือ การรู้จักคน

  

สัปปุริสธรรม 7 

 

การศึกษาและการลงมือปฏิบัติ

 

อุบาสกธรรม ๗ หมายถึง หลักปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสกและบุคคลทั่วไป ได้แก่

– ไปวัดตามโอกาสที่เหมาะสม  

– ฟังธรรมอย่างสม่ำเสมอ

– ศึกษาหลักธรรมและรักษาศีล

– เลื่อมใสศรัทธา

– ตั้งใจให้เป็นกุศลขณะฟัง

– ทำบุญกุศลตามหลักและวิธีการพระพุทธศาสนา

– เอาใจใส่ทำนุบำรุงและช่วยกิจการพระพุทธศาสนาในทุก ๆ ทาง

มรรคมีองค์ ๘ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่มีองค์ประกอบ ๘ ประการ ได้แก่

– สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม

– สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดชอบ

– สัมมาวาจา คือ การพูดชอบ

– สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบ

– สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ

– สัมมาวายามะ คือ ความเพียรพยายามชอบ

– สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ

– สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ

 

  

ชาวพุทธควรไปวัดฟังธรรม

 

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หมายถึง สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ได้แก่

– ทานมัย คือ การให้

– สีลมัย คือ การรักษาศีล

– ภาวนามัย คือ การเจริญภาวนา

– อปจายนมัย คือ การเป็นคนอ่อนน้อมถ่อม

– ปัตติทานมัย คือ การแบ่งปันส่วนของความดีให้แก่ผู้อื่น

– ปัตตานุโมทนามัย คือ ยินดีในความดีของผู้อื่น

– ธัมมัสสวนมัย คือ การฟังธรรม

– ธัมมเทสนามัย คือ การสั่งสอนธรรม

– ทิฏฐุชุกัมม์ คือ ทำความเห็นให้ตรงความเป็นจริง

 

การฝึกสมาธิ

 

มงคล ๓๘ คือ  สิ่งที่ทำให้ชีวิตมีแต่โชคดี เช่น

– การมีศิลปะ

– การฟังธรรมตามกาล

– การพบเห็นสมณะ

– การสนทนาธรรมตามกาล 

 

มงคล 38 

 

พุทธศาสนสุภาษิต เป็นคำที่กล่าวไว้อย่างสั้น ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง กินใจ ให้ข้อคิดหรือคติสอนใจที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เราเรียกว่า พุทธศาสนสุภาษิต เช่น

– อตฺตา หเวชิตํเสยฺโย : ชนะตนนั้นแลดีกว่า

– ธมฺมจารี สุขํ เสติ : ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข

– ปมาโท มจฺจุโน ปทํ : ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย

– สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ : ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา

 

พระไตรปิฎก 

ความหมายและความสำคัญของพระไตรปิฎก

     พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่บันทึกจารึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมด ประโยชน์การศึกษาพระไตรปิฎก ได้แก่     

– ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ

– ให้มีความเห็นถูกต้องและปฏิบัติได้ถูกต้อง

– ทำให้ได้รับผลจากการปฏิบัติที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่

เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก 

– พระวินัยปิฎกส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระวินัยของพระภิกษุและภิกษุณี

– พระอภิธรรมปิฎกเป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาวธรรมล้วน ๆ

– พระสุตตันตปิฎก เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระธรรมเทศนา เช่น พุทธปณิธาน ๔

 

การปฏิบัติตนตามหลักธรรมในการพัฒนาตนเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานและการมีครอบครัว

     การปฏิบัติตนตามหลักธรรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน  การทำงานมี ๒ ประเภท คือ การทำงานที่ทุจริตและการทำงานที่สุจริต หลักธรรมคำสอนที่สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาเล่าเรียนเพื่อเตรียมตนเองให้พร้อมสำหรับการทำงาน เช่น

– อิทธิบาท ๔ หมายถึง หนทางแห่งความสำเร็จ

– จักร ๔ หมายถึง หลักปฏิบัติที่นำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

– พละ ๕ หมายถึง ธรรมอันเป็นพลังที่ทำให้ผู้นำไปปฏิบัติเกิดความมั่นคง

 

การปฏิบัติตนตามหลักธรรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการมีครอบครัวหลักธรรมคำสอนดังต่อไปนี้

– กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ หมายถึง หลักปฏิบัติสำหรับการดำรงวงศ์ตระกูลให้ตั้งมั่นยืนยาว

– ฆราวาสธรรม ๔ หมายถึง หลักปฏิบัติสำหรับการครองเรือนให้มีความสุข

– โภคอาทิยะ ๕ หมายถึง ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ 

 

แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช  www.wpp.co.th