บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง การสะกดคำ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 43K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

การสะกดคำ

 

 

มาตราตัวสะกด

 

 

มาตราตัวสะกด

 

 

มาตราตัวสะกด คือ เสียงพยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์ แบ่งออกเป็น ๘ มาตรา ได้แก่
๑. แม่กก ออกเสียง กอ สะกด โดยมี ก กร ข ค คร ฆ เป็นตัวสะกด
๒. แม่กง ออกเสียง งอ สะกด โดยมี เป็นตัวสะกด
๓. แม่กด ออกเสียง ดอ สะกด โดยมี ด จ ช ชร ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ฒิ ต ตร ตุ ติ ถ ท ธ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด
๔. แม่กน ออกเสียง นอ สะกด โดยมี น ญ ณ ร ล ฬ เป็นตัวสะกด
๕. แม่กบ ออกเสียง บอ สะกด โดยมี บ ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกด
๖. แม่กม ออกเสียง มอ สะกด โดยมี ม มิ เป็นตัวสะกด
๗. แม่เกย ออกเสียง ยอ สะกด โดยมี เป็นตัวสะกด
๘. แม่เกอว ออกเสียง วอ สะกด โดยมี เป็นตัวสะกด

 

 

มาตราตัวสะกด

 

 

มาตราตัวสะกด

 

มาตราตัวสะกด

 

คำที่มีรูปตัวสะกดตัวเดียวกับชื่อมาตราตัวสะกด ได้แก่ ก ง ด น บ ม ย ว เราจะเรียกว่า คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ส่วนคำที่มีรูปตัวสะกดไม่ตรงกับเสียงสะกด จะเรียกว่า คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา

นอกจากคำที่มีตัวสะกดทั้ง ๘ มาตราแล้ว ยังมีแม่ ก กา ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ตี หัว เพลีย


เกร็ดควรรู้

คำที่ประสมสระอัวและไม่มีตัวสะกดจะคล้ายกับคำที่มีตัวสะกดในแม่เกอว และคำที่ประสมสระเอียและไม่มีตัวสะกดจะคล้ายกับคำที่มีตัวสะกดในแม่เกย

 

การผันอักษร
ต้องเรียนรู้เรื่อง อักษร ๓ หมู่ และคำเป็น คำตาย ดังนี้

 

 

การผันอักษร

 

คำเป็น คำตาย

 

 

๑. อักษร ๓ หมู่
อักษร ๓ หมู่หรือไตรยางศ์ คือ การแยกเสียงพยัญชนะในภาษาไทยออกเป็น ๓ กลุ่ม ตามระดับเสียง ดังนี้

 

 

อักษร ๓ หมู่หรือไตรยางศ์

 

 

๒. คำเป็น คำตาย

 

คำเป็น

 

คำเป็น คำตาย

 

 

คำเป็น
คำเป็นมีลักษณะดังนี้
๑. คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา
๒. คำที่มีตัวสะกดแม่กง กน กม เกย และเกอว จะประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้
๓. คำที่ประสมด้วยสระอำ ใอ ไอ เอา และไม่มีตัวสะกด

 


คำเป็น

 

 

คำตาย
คำตายมีลักษณะดังนี้
๑. คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา
๒. คำที่มีตัวสะกดแม่กก กด และกบ จะประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้

 

 

การผันอักษร

 

 

๓. การผันอักษรสูง

 

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

คำเป็น

สัน

-

สั่น

สั้น

-

สัน

คำตาย

สัก

-

สัก

สั้ก

-

-

 

๔. การผันอักษรกลาง

 

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

คำเป็น

จาน

จาน

จ่าน

จ้าน

จ๊าน

จ๋าน

คำตาย

จาบ

-

จาบ

จ้าบ

จ๊าบ

จ๋าบ


๕. การผันอักษรต่ำ      

 

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

คำเป็น

คาน

คาน

-

ค่าน

ค้าน

-

คำตายเสียงสั้น

คัด

-

-

คั่ด

คัด

คั๋ด

คำตายเสียงยาว

คาด

-

-

คาด

ค้าด

ค๋าด

 

ข้อสังเกต ถ้าใช้คำเป็นที่มีอักษรต่ำคู่กับคำเป็นที่มีอักษรสูงเป็นเสียงคู่กัน จะผันได้ครบ ๕ เสียง

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

คา

คา

ข่า

ค่า/ข้า

ค้า

ขา

 

 

การผันอักษรต่ำคำตาย

 

การผันอักษรต่ำคำตาย

 

 

อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง ได้แก่

 

 

อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง

 

 

เกร็ดควรรู้

อักษรต่ำที่มีคู่กับอักษรสูง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อักษรคู่



การผันอักษร



การผันอักษร


การผันอักษร



ข้อสังเกต อักษรต่ำคำเป็นที่ไม่มีคู่กับอักษรสูง หากต้องการผันให้ครบ ๕ เสียง ต้องใช้ ห ช่วยผัน

คำ

สามัญ

เอก

โท

ตรี

จัตวา

วาน

วาน

หว่าน

ว่าน/หว้าน

ว้าน

หวาน

  

คำควบกล้ำ
มีลักษณะดังนี้
– มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว โดยมี ก ข ค ต ป ผ พ เป็นตัวที่ ๑ และมี ร ล ว เป็นตัวที่ ๒
– ประสมกับสระและตัวสะกดเดียวกัน
– อ่านออกเสียงควบกัน
– มี ๒ ประเภท คือ คำควบแท้และคำควบไม่แท้

 

 

คำควบกล้ำ

 

คำควบกล้ำ

 

คำควบแท้ คำควบไม่แท้

 

 

๑. คำควบแท้
คำควบแท้ คือ คำที่ออกเสียงพยัญชนะต้นทั้งสองตัวควบเป็นเสียงเดียวกัน โดยใช้สระและตัวสะกดร่วมกัน เช่น ไกร ความ เพลง

 

๒. คำควบไม่แท้
คำควบไม่แท้ คือ คำควบที่มีพยัญชนะตัวที่ ๒ เป็น ร ใช้สระและตัวสะกดร่วมกัน อ่านออกเสียงได้ ๒ ลักษณะ ดังนี้
     ๑. ออกเสียงพยัญชนะตัวที่หนึ่งเพียงตัวเดียว ไม่ออกเสียง ร เช่น จริง ไซร้
     ๒. ออกเสียง ทร เป็นเสียง ซ เช่น ทราย แทรก

 

 

คำควบแท้

 

 

ข้อสังเกต ตัว ทร ไม่ได้ออกเสียงเป็น ซ ทุกคำ เช่น นิทรา อ่านว่า นิด-ทรา เป็นคำควบแท้

 

คำที่มีอักษรนำ

 

 

คำที่มีอักษรนำ

 

 

อักษรนำ คือ คำที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว ใช้สระและตัวสะกดร่วมกัน อ่านออกเสียงเหมือนมี นำ มีวิธีอ่านได้ ๔ ลักษณะ ดังนี้
๑. คำที่มี นำ มีอยู่ ๔ คำ ได้แก่ อย่า อยู่ อย่าง อยาก

 

 

อักษรนำ

 

 

๒. คำที่มี นำอักษรต่ำ ง ญ น ม ย ร ล ว เวลาอ่านไม่ออกเสียง แต่ใช้เสียงวรรณยุกต์ตามตัว เช่น หงอน หนอน หวาน
๓. คำที่มีอักษรสูงนำอักษรต่ำ พยางค์แรกออกเสียง อะ กึ่งเสียง พยางค์หลังออกเสียงเหมือนมี นำ เช่น ขมับ ฉลาม
๔. คำที่มีอักษรกลางนำอักษรต่ำ พยางค์แรกออกเสียง อะ กึ่งเสียง พยางค์หลังออกเสียงเหมือนมี นำ เช่น กนก จรัส

 

 

อักษรกลางนำอักษรต่ำ

 

 

ข้อสังเกต บางคำมีอักษรสูงและอักษรกลางนำอักษรต่ำ อ่านออกเสียง ๒ พยางค์ แต่พยางค์หลังไม่ออกเสียง ห นำ คำชนิดนี้ไม่เป็นอักษรนำ เช่น พลัง สติ

 

คำที่มีตัวการันต์

 

ตัวการันต์

 

 

ตัวการันต์ คือ พยัญชนะหรือพยัญชนะที่มีสระ และมีเครื่องหมายทัณฑฆาต ( -์ ) กำกับอยู่ เวลาอ่านจะไม่ออกเสียงพยัญชนะหรือพยัญชนะที่มีสระนั้น ๆ แบ่งตามตำแหน่งของตัวการันต์ได้ ๒ ประเภท ดังนี้
๑. คำที่มีตัวการันต์อยู่กลางคำ มักเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ เช่น กอล์ฟ ชอล์ก ฟาร์ม ฟิล์ม อาร์

 

 

คำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ

 

 

๒. คำที่มีตัวการันต์อยู่ท้ายคำ แบ่งได้ ๔ ลักษณะ ดังนี้
     ๑) ตัวการันต์เป็นพยัญชนะตัวเดียว เช่น อาทิตย์ ศุกร์
     ๒) ตัวการันต์เป็นพยัญชนะสองตัว เช่น กาญจน์ จันทน์
     ๓) ตัวการันต์เป็นพยัญชนะสามตัว เช่น ลักษมณ์

 

คำตัวการันต์เป็นพยัญชนะสามตัว

 

 

     ๔) ตัวการันต์เป็นพยัญชนะที่มีสระกำกับอยู่ เช่น สินธุ์ สิทธิ์

 

 

ตัวการันต์เป็นพยัญชนะที่มีสระกำ

 

 

ข้อสังเกต ตัวการันต์ที่มีสระกำกับต้องเป็น สระอิและสระอุ เท่านั้น

 

คำย่อ

 

 

คำย่อ

 

 

คำย่อ คือ คำที่ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละพยางค์มาเป็นตัวย่อ และมีเครื่องหมายจุด (.) กำกับ เวลาอ่านต้องอ่านเต็มคำ
การย่อคำมีลักษณะดังนี้
๑. ใช้พยัญชนะต้นพยางค์แรกของคำเป็นคำย่อ เช่น ก. → กรัม
๒. ถ้าเป็นคำประสม จะย่อโดยใช้พยัญชนะตัวแรกของคำ เช่น ชม. → ชั่วโมง
๓. ถ้าพยัญชนะต้นเป็นอักษรควบหรืออักษรนำ ให้ย่อโดยใช้อักษรตัวหน้าตัวเดียว เช่น
ป. → ประถมศึกษา
๔. ใช้พยางค์แรกของคำเป็นคำย่อ เช่น โทร. → โทรศัพท์

 

 

วิธีอ่านคำย่อ

 

 

เครื่องหมายวรรคตอน

 

เครื่องหมายวรรคตอน

 

เครื่องหมายวรรคตอน

 

 

เครื่องหมายวรรคตอน คือ เครื่องหมายที่ใช้เขียนกำกับในข้อความเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น
๑. บุพสัญญา (”) หรือเครื่องหมายละ ใช้เขียนแทนข้อความในบรรทัดบน

 

 

บุพสัญญา

 

 

๒. ไปยาลน้อย (ฯ) ใช้ละส่วนท้ายของคำ คงไว้แต่ส่วนหน้าของคำให้พอเข้าใจ
๓. ไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) ใช้ละข้อความในประเภทเดียวกันที่ยังมีอีกมาก เวลาอ่านให้อ่านว่า “และ” หรือ “อื่น ๆ”
๔. ยัติภาค (–) มีวิธีใช้ ดังนี้
     - ใช้เขียนในความหมายว่า “ถึง” เพื่อแสดงช่วงเวลา จำนวน สถานที่
     - ใช้แทนคำว่า “เป็น”
     - ใช้แทนคำว่า “และ” หรือ “กับ” เพื่อบอกความสัมพันธ์ของคำ
๕. ทับ (/) มีวิธีใช้ ดังนี้
     - ใช้คั่นจำนวนเลข เพื่อแบ่งจำนวนย่อย
     - ใช้คั่นตัวเลขแสดงวัน เดือน ปี
     - ใช้แทนคำว่า “หรือ”
     - ใช้แทนคำว่า “ต่อ”

 

แหล่งสืบค้นข้อมูล

นักเรียนสามารถค้นคว้าเรื่อง การเขียนคำย่อและเครื่องหมายวรรคตอนเพิ่มเติมได้จาก www.royin.go.th

  

ความหมายตรงและความหมายโดยนัย

 

 

ความหมายของคำ

 

 

ความหมายของคำขึ้นอยู่กับเนื้อความหรือข้อความแวดล้อม ซึ่งพิจารณาได้ ๒ ลักษณะ ได้แก่
๑. ความหมายตรง คือ ความหมายที่แปลตรงตามคำหรือตามพจนานุกรม
๒. ความหมายโดยนัย คือ ความหมายที่แปลตามข้อความแวดล้อม มักใช้ในเชิงเปรียบเทียบ

 

 

ความหมายตรง ความหมายโดนนัย

 

 

เลือกใช้คำ

 

 

วัน เดือน ปีแบบไทย

 

 

วัน เดือน ปีแบบไทย

 

วัน เดือน ปีแบบไทย

 

 

 

จะใช้ตัวเลขแสดงวัน เดือน ข้างขึ้น ข้างแรม และปี ตามปฏิทินจันทรคติ โดยเขียนตัวเลขกำกับไว้กับเครื่องหมาย ฯ (ไปยาลน้อย) มีรายละเอียดดังนี้

วัน จะเขียนไว้หน้าเครื่องหมาย ฯ โดยตัวเลขแต่ละตัวจะแทนวันต่าง ๆ เริ่มจาก ได้แก่
๑ แทน วันอาทิตย์ → ... → ๗ แทน วันเสาร์

เดือน จะเขียนไว้หลังเครื่องหมาย ฯ โดยตัวเลขแต่ละตัวจะแทนเดือนต่าง ๆ ได้แก่
๑ แทน เดือนอ้าย → ... → ๑๒ แทน เดือน ๑๒

ข้างขึ้น จะเขียนไว้เหนือเครื่องหมาย ฯ บอกเวลาตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ จนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ
ข้างแรม จะเขียนไว้ใต้เครื่องหมาย ฯ บอกเวลาตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ จนถึงแรม ๑๕ ค่ำ

 

 

การนับเดือนแบบไทย

 

 

ข้อสังเกต การนับเดือนแบบไทย จะนับข้างขึ้น ๑๕ วัน และข้างแรม ๑๕ วัน รวมเป็น ๑ เดือน

 

เกร็ดควรรู้

ข้างขึ้น คือ ช่วงเวลาที่พระจันทร์โตขึ้นในแต่ละวัน โดยจะเริ่มจากขึ้น ๑ ค่ำ ขึ้น ๒ ค่ำ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ พระจันทร์ก็จะเต็มดวง เรียกว่า คืนเดือนหงาย

ข้างแรม คือ ช่วงเวลาที่พระจันทร์มืดลงในแต่ละวัน โดยจะเริ่มจากแรม ๑ ค่ำ แรม ๒ ค่ำ ไปจนถึงแรม ๑๕ ค่ำ จะมองไม่เห็นพระจันทร์ เรียกว่า คืนเดือนมืด


ปี จะเขียนชื่อปีนักษัตรหลังตัวเลขบอกชื่อเดือนแบบไทย

 

 

ปีนักษัตรหลังตัวเลขบอกชื่อเดือนแบบไทย

 

 

วัน เดือน ปี แบบไทย

 

ตรงกับ วันพฤหัส เดือน ๓ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีฉลู 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th