ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
มาตราตัวสะกด
มาตราตัวสะกด มีทั้งหมด ๘ แม่ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ตัวสะกดตรงตามมาตรา และตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ดังนี้
๑. แม่กก มี ก เป็นตัวสะกดตรงตามมาตรา และมี กร ข ค คร ฆ เป็นตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
๒. แม่กง มี ง เป็นตัวสะกดตรงตามมาตรา
๓. แม่กด มี ด เป็นตัวสะกดตรงตามมาตรา และมี จ ช ชร ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ฒิ ต ตร ติ ตุ ถ ท ธ ธิ ศ ษ ส เป็นตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
๔. แม่กน มี น เป็นตัวสะกดตรงตามมาตรา และมี ญ ณ ร ล ฬ เป็นตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
๕. แม่กบ มี บ เป็นตัวสะกดตรงตามมาตรา และมี ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
เกร็ดควรรู้ คำที่มี ฟ เป็นตัวสะกด มักเป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น กราฟ ยีราฟ |
๖. แม่กม มี ม เป็นตัวสะกดตรงตามมาตรา
๗. แม่เกย มี ย เป็นตัวสะกดตรงตามมาตรา ทั้งนี้คำที่ประสมด้วยสระเอีย และไม่มีตัวสะกด เช่น เปีย เสีย ถือเป็นคำในแม่ ก กา ไม่จัดเป็นคำในแม่เกย
๘. แม่เกอว มี ว เป็นตัวสะกดตรงตามมาตรา ทั้งนี้คำที่ประสมด้วยสระอัว และไม่มีตัวสะกด เช่น หัว ถั่ว ถือเป็นคำในแม่ ก กา ไม่จัดเป็นคำในแม่เกอว
เกร็ดควรรู้ พยาธิ อ่านได้ ๒ แบบ คือ พะ-ยาด หมายถึง สัตว์เล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในตัวมนุษย์และสัตว์ และ พะ-ยา-ทิ หมายถึง ความเจ็บไข้ได้ป่วย |
การผันอักษร
การผันอักษร เราจำเป็นต้องรู้เรื่องอักษร ๓ หมู่ และคำเป็น คำตาย ก่อน
๑. อักษร ๓ หมู่
อักษร ๓ หมู่ หรือไตรยางศ์ คือ การจัดพยัญชนะไทยออกเป็น ๓ หมู่ ดังนี้
อักษรสูง มี ๑๑ ตัว |
ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห |
อักษรกลาง มี ๙ ตัว |
ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ |
อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว |
ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ |
๒. คำเป็น คำตาย
คำเป็น |
คำตาย |
๑. ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา หรือประสมด้วยสระอำ ใอ ไอ เอา |
๑. ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา (ยกเว้น สระอำ ใอ ไอ เอา) |
๒. ประสมตัวสะกดในแม่กง กน กม เกย เกอว |
๒. ประสมตัวสะกดในแม่กก กด กบ |
|
๓. การผันอักษรสูง
|
คำ |
สามัญ |
เอก |
โท |
ตรี |
จัตวา |
คำเป็น |
ขาว |
- |
ข่าว |
ข้าว |
- |
ขาว |
คำตาย |
ขัด |
- |
ขัด |
ขั้ด |
- |
- |
๔. การผันอักษรกลาง
|
คำ |
สามัญ |
เอก |
โท |
ตรี |
จัตวา |
คำเป็น |
กาว |
กาว |
ก่าว |
ก้าว |
ก๊าว |
ก๋าว |
คำตาย |
กัด |
- |
กัด |
กั้ด |
กั๊ด |
กั๋ด |
๕. การผันอักษรต่ำ
|
คำ |
สามัญ |
เอก |
โท |
ตรี |
จัตวา |
คำเป็น |
คาว |
คาว |
- |
ค่าว |
ค้าว |
- |
คำตายเสียงสั้น |
คัด |
- |
- |
คั่ด |
คัด |
คั๋ด |
คำตายเสียงยาว |
คาด |
- |
- |
คาด |
ค้าด |
ค๋าด |
คำควบกล้ำ
คำควบกล้ำ คือ คำที่มีพยัญชนะต้นเรียงกัน ๒ ตัว ประสมกับสระและตัวสะกดเดียวกัน โดยพยัญชนะตัวหลัง ได้แก่ ร ล ว เมื่ออ่านจะออกเสียงพยัญชนะ ๒ ตัวควบกัน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด
๑. คำควบแท้
คำควบแท้ คือ คำที่มี ร ล ว เป็นพยัญชนะตัวที่สอง ประสมกับสระและตัวสะกดเดียวกัน เมื่ออ่านต้องออกเสียงควบกัน เช่น กรอบ แกล้ง กวาง
๒. คำควบไม่แท้
คำควบไม่แท้ คือ คำที่มี ร เป็นพยัญชนะตัวที่สอง ประสมกับสระและตัวสะกดเดียวกัน แต่เมื่ออ่านจะไม่ออกเสียง ร ควบ เช่น จริง หรือเปลี่ยนเป็นเสียงอื่น เช่น ทราบ
คำที่มีอักษรนำ
อักษรนำ คือ คำที่ออกเสียงเหมือนมี ห นำ แบ่งเป็น ๔ ลักษณะ ได้แก่
๑. คำที่มี ห นำ ง ญ น ม ย ร ล ว เช่น เหงื่อ หญิง หนีบ หมี หยด หรือ ไหล่ ไหว
๒. คำที่มี อ นำ ย อ่านออกเสียงเหมือน ห นำ ย มี ๔ คำ ได้แก่ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
๓. คำที่มีอักษรสูงนำอักษรต่ำ เวลาอ่านต้องออกเสียงเป็น ๒ พยางค์ โดยพยางค์แรกออกเสียง อะ กึ่งเสียง ส่วนพยางค์หลังอ่านเหมือนคำที่มี ห นำ เช่น ขนุน ฉลาด ถนอม
๔. คำที่มีอักษรกลางนำอักษรต่ำ เวลาอ่านต้องออกเสียงเป็น ๒ พยางค์ โดยพยางค์แรกออกเสียง อะ กึ่งเสียง ส่วนพยางค์หลังอ่านเหมือนคำที่มี ห นำ เช่น กนก จมูก อร่อย
คำที่มีตัวการันต์
ตัวการันต์ คือ พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต ( -์ ) กำกับอยู่ เมื่ออ่านจะไม่ออกเสียงพยัญชนะนั้น มีใช้หลายลักษณะ ดังนี้
๑. พยัญชนะตัวเดียวเป็นตัวการันต์ เช่น เสาร์ มี ร์ เป็นตัวการันต์ อ่านว่า เสา
๒. พยัญชนะสองตัวเป็นตัวการันต์ เช่น จันทร์ มี ทร์ เป็นตัวการันต์ อ่านว่า จัน
๓. พยัญชนะที่มีสระกำกับอยู่เป็นตัวการันต์ เช่น พันธุ์ มี ธุ์ เป็นตัวการันต์ อ่านว่า พัน
คำย่อ
คำย่อ คือ คำที่ย่อให้สั้นลง โดยนำพยัญชนะต้นหรือพยางค์ต้นของคำมาใช้เป็นตัวย่อ แล้วใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) กำกับ เวลาอ่านต้องอ่านคำเต็ม นิยมใช้กับสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
๑. วัน เดือน ปี และเวลา เช่น
พฤ. ย่อมาจาก พฤหัสบดี ส.ค. ย่อมาจาก สิงหาคม
พ.ศ. ย่อมาจาก พุทธศักราช น. ย่อมาจาก นาฬิกา
๒. สถานที่ เช่น
ถ. ย่อมาจาก ถนน รร. ย่อมาจาก โรงเรียน
๓. ยศ ตำแหน่ง และคำนำหน้าชื่อ เช่น
ด.ช. ย่อมาจาก เด็กชาย ม.ร.ว. ย่อมาจาก หม่อมราชวงศ์
๔. บอกที่มาของภาษา เช่น
อ. ย่อมาจาก อังกฤษ ข. ย่อมาจาก เขมร
๕. บอกชนิดของคำ เช่น
น. ย่อมาจาก นาม ส. ย่อมาจาก สรรพนาม
๖. คำย่ออื่น ๆ เช่น
อ. ย่อมาจาก อาจารย์ นร. ย่อมาจาก นักเรียน
จ.ม. ย่อมาจาก จดหมาย นสพ. ย่อมาจาก หนังสือพิมพ์
เครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายวรรคตอน คือ เครื่องหมายที่ใช้เขียนกำกับคำหรือข้อความ เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายยิ่งขึ้น
๑. มหัพภาค (.) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จุด
– ใช้เขียนคำย่อ กำกับเลขหัวข้อ และคั่นระหว่างตัวเลข
๒. อัศเจรีย์ (!) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องหมายตกใจ
– ใช้เขียนหลังคำอุทานเพื่อแสดงความรู้สึก
๓. นขลิขิต ( ) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วงเล็บ
– ใช้เขียนเมื่อต้องการอธิบายคำข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
๔. ปรัศนีย์ (?) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องหมายคำถาม ไม่นิยมใช้ในภาษาไทย แต่นิยมใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
๕. สัญประกาศ (______) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องหมายขีดเส้นใต้
– ใช้ขีดใต้ข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ
๖. อัญประกาศ (“ ”) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องหมายคำพูด
– ใช้เขียนคร่อมข้อความที่เป็นคำพูด
– ใช้เขียนคร่อมข้อความสำคัญที่ต้องการเน้น
๗. ไม้ยมก (ๆ)
– ใช้เขียนหลังคำหรือข้อความที่ต้องการอ่านซ้ำ
แหล่งสืบค้นข้อมูล
นักเรียนสามารถค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอนเพิ่มเติมได้จาก หนังสือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือเว็บไซต์ www.royin.go.th
ความหมายตรงและความหมายโดยนัย
คำคำหนึ่งอาจมีได้มากกว่า ๑ ความหมาย ขึ้นอยู่กับข้อความบริบทแวดล้อม แบ่งได้ ๒ ลักษณะ คือ ความหมายตรงและความหมายโดยนัย
๑. ความหมายตรง
ความหมายตรง คือ ความหมายที่แปลตามพจนานุกรม เช่น
– พ่อซื้อกล้วยมา ๒ หวี คำว่า กล้วย ในที่นี้หมายถึง ผลไม้ชนิดหนึ่ง
๒. ความหมายโดยนัย
ความหมายโดยนัย คือ ความหมายที่ไม่ได้แปลตามคำ มักเป็นคำเปรียบเทียบหรือสำนวน เช่น
– ข้อสอบชุดนี้หินมาก คำว่า หิน ในที่นี้หมายถึง ยากมาก
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th