บทเรียนออนไลน์ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสืบพันธุ์และขยายพันธุ์พืช
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 479.8K views



ตอนที่ 1 การสืบพันธุ์และขยายพันธุ์พืช

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้


 
 

การสืบพันธุ์ของพืชดอก
          ส่วนต่าง ๆ ของดอก
                    กลีบเลี้ยง เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด ทำหน้าที่ป้องกันดอกที่กำลังเจริญเติบโต
                    กลีบดอก อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไป มักมีสีสันสวยงามเพื่อดึงดูดแมลง ผึ้ง ผีเสื้อ ฯลฯ
                    เกสรเพศผู้ ใช้สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ อับเรณูและก้านชูอับเรณู
                    เกสรเพศเมีย ใช้สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
                              –   รังไข่ ภายในจะมีออวุลซึ่งมีเซลล์ที่จะแบ่งตัวให้กำเนิดไข่อยู่ภายใน
                              –   ยอดเกสรเพศเมีย ทำหน้าที่จับละอองเกสรเพศผู้
                              –   ก้านเกสรเพศเมีย




                    ดอกไม้ที่มีครบ 4 ส่วน เรียกว่า ดอกครบส่วน ถ้าขาดส่วนใดไป เรียกว่า ดอกไม่ครบส่วน
                    ดอกไม้ที่มีเกสรครบทั้งสองเพศในดอกเดียว เรียกว่า ดอกสมบูรณ์เพศ ถ้ามีไม่ครบ เรียกว่า ดอกไม่สมบูรณ์เพศ

          การถ่ายละอองเรณู
                    1. การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน
                    2. การถ่ายละอองเรณูข้ามดอก ส่วนมากจะเป็นการถ่ายทอดลักษณะนี้

          การปฏิสนธิ
                    เป็นการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ เรียกว่า การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
                    หลังการปฏิสนธิแล้วรังไข่จะเจริญไปเป็นผล ส่วนออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด จำนวนออวุลจะเท่ากับจำนวนเมล็ดที่ได้




การขยายพันธุ์พืช
          คือ การเพิ่มปริมาณเพื่อดำรงและปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีคุณภาพดีขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

          การขยายพันธุ์พืชจากการเพาะเมล็ด
                    เป็นแบบอาศัยเพศ พืชที่นิยมขยาย ได้แก่ ผักเกือบทุกชนิด พืชไร่ ไม้ดอก และไม้ผลบางชนิด การขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดมีข้อดีและข้อเสีย
 

ข้อดี

ข้อเสีย

1.  เสียค่าใช้จ่ายน้อย

1. ต้นพืชมักเกิดการกลายพันธุ์ไปจากสายพันธุ์เดิม

2.  ต้นพืชมีรากแก้ว ซึ่งมีความแข็งแรงทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี

2. ต้นพืชสูงใหญ่ ทำให้ไม่สะดวกในการดูแลรักษา

3.  ได้ต้นพืชจำนวนมาก

3. ให้ผลช้า

 

          การขยายพันธุ์พืชจากส่วนต่าง ๆ ของพืช
                    แบบไม่อาศัยเพศ เพราะนำส่วนต่าง ๆ มาทำให้เกิดพืชต้นใหม่ ดังนี้
                              การปักชำ เป็นการนำส่วนต่าง ๆ จากต้นแม่ไปปักชำในวัสดุที่มีความชื้นสูงให้รากงอก




                              การติดตา เป็นการนำเอาส่วนตาของพืชที่ต้องการขยายพันธุ์มาติดเข้ากับพืชอีกต้นหนึ่ง




                              การทาบกิ่ง เป็นการนำเอาพืชพันธุ์ดีกับพืชต้นตอที่ยังมีรากและยอดติดอยู่ทั้งคู่มาทาบเข้าด้วยกัน




                              การตอนกิ่ง ทำโดยใช้มีดควั่นเอาเปลือกนอกออก แล้วนำถุงมาหุ้มบริเวณรอยควั่นให้รากงอกออก




                              การเสียบยอด เป็นการเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของส่วนยอดของพืชพันธุ์ดีกับพืชต้นตอเข้าด้วยกัน




ข้อดีและข้อเสียของการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีปักชำ ติดตา ทาบกิ่ง ตอนกิ่ง และเสียบยอด
 

ข้อดี

ข้อเสีย

1. ต้นพืชที่ได้ไม่กลายพันธุ์

1. พืชที่ได้ไม่มีรากแก้ว จึงโค่นล้มง่ายเมื่อมีลมพัด

2. ต้นพืชที่ได้มีต้นเตี้ยกว่าพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้เก็บผลผลิตได้ง่าย

2. ต้องใช้ความชำนาญ และเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการเพาะเมล็ด

 

3. ให้ผลผลิตเร็ว

 


                              การแบ่งและการแยก เป็นการนำเอาส่วนต่าง ๆ เช่น หัว หน่อ แง่ง และไหล ไปตัดแยกเป็นชิ้น



 

                              การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
                                        เป็นการนำส่วนต่าง ๆ เช่น ปลายยอดอ่อน ปลายราก และตา มาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์สภาพปลอดเชื้อ ให้เจริญเติบโต เป็นการขยายพันธุ์ที่สามารถผลิตต้นพืชได้จำนวนมากในเวลาอันสั้น มีความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์พืช ดังนี้
                                        1. เป็นพื้นฐานของพืชใหม่ ๆ ให้มีลักษณะที่ต้องการและปลอดโรค
                                        2. เป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืช
                                        3. ช่วยเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและในปริมาณมาก ๆ


 
 

วัฏจักรชีวิตของพืชดอก
          คือ ระยะต่าง ๆ ตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอกจนกระทั่งโตเต็มที่
                    เมล็ดระยะพักตัว เมล็ดจะยังไม่งอก





                    การงอก ต้นอ่อนเล็ก ๆ ภายในเริ่มเติบโตและพัฒนามากขึ้น รากจะค่อย ๆ โผล่ออกมา ลำต้นจะงอกเติบโตขึ้นเหนือพื้นดิน
                    กล้าไม้ ใบไม้ใหม่จะงอกเพิ่มจากลำต้นโต ใบไม้ใหม่จะเริ่มสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหารต่อไป
                    การเจริญเติบโตและการถ่ายละอองเรณู พืชที่เจริญเติบโตเต็มที่ นกและแมลงจะช่วยถ่ายละอองเรณู เมื่อเมล็ดพันธุ์เจริญเต็มที่ ผลจะแห้งหล่นลงพื้นเป็นเมล็ดระยะพักตัวอีกครั้งและดำเนินวัฏจักรชีวิตต่อไป
          พืชมีวัฏจักรที่แตกต่างกัน แบ่งได้ ดังนี้
                    พืชปีเดียว เป็นวัฏจักรชีวิตที่สมบูรณ์ มีการสืบพันธุ์สร้างเมล็ดใหม่ภายในเวลา 1 ปี ได้แก่  ถั่ว ข้าว และข้าวโพด




                    พืชหลายปี เป็นพืชที่มีวัฏจักรชีวิตหลายปี มีการสืบพันธุ์สร้างเมล็ดใหม่ ได้แก่ มะม่วง ลำไย มะขาม และมะพร้าว



ตอนที่ 2 ความหลากหลายของพืช

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



 

การจำแนกพืช
          พืชไม่มีดอก
                    มีลำต้นขนาดเล็ก ไม่มีดอก ส่วนใหญ่ขยายพันธุ์โดยสปอร์ เช่น เฟิร์น มอสส์ หวานทะนอย ตีนตุ๊กแก หญ้าถอดปล้อง
                    เฟิร์น พบได้ที่บริเวณร่มชื้น ประกอบด้วย คือ ลำต้น ราก และใบ ใบมีขนาดใหญ่ สร้างสปอร์ที่บริเวณด้านหลังของใบ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล เรียกว่า กลุ่มอับสปอร์ เมื่อแก่จะแตกออกแล้วปล่อยให้สปอร์ปลิวไปตามลม
                    มอสส์ มีขนาดเล็ก พบตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ไม่มีดอกและเมล็ด สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ ซึ่งจะเติบโตไปเป็นต้นใหม่






          พืชดอก
                    โดยดอกทำหน้าที่สืบพันธุ์ ดอกของพืชแต่ละชนิดจะต่างกัน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
                              พืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบแคบ เส้นใบเรียงขนานกัน ขอบใบเรียบ มีรากฝอย เช่น หญ้า ไผ่ ขิง ข้าวโพด และมะพร้าว
                             พืชใบเลี้ยงคู่ ขอบใบจะมีหลายแบบ เช่น ขอบใบเรียบ ขอบใบหยัก เส้นใบของพืชประสานกันเป็นร่างแห และมีรากแก้ว เช่น ส้ม มะม่วง มะนาว มะเขือเทศ บัว และกุหลาบ


แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th