บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 145.2K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา

  

1. นโยบายต่างประเทศและรัฐที่มีความสัมพันธ์กับอยุธยา

1.1 นโยบายต่างประเทศสมัยอยุธยา

1. ด้านการเมือง ต้องขยายอำนาจไปยังสุโขทัย นครศรีธรรมราช และเมืองอื่น ๆ เพื่อให้อาณาจักรมีความมั่นคง

2. ด้านเศรษฐกิจ อยุธยามีการติดต่อค้าขายกับรัฐอื่น ขณะเดียวกันก็ขยายอำนาจไปยังรัฐใกล้เคียง

1.2 รัฐที่มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรอยุธยา แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ รัฐเพื่อนบ้าน รัฐในเอเชียตะวันออก และชาติตะวันตก

 

2. ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับรัฐเพื่อนบ้าน

1. อาณาจักรสุโขทัย อยุธยามีการทำสงครามหลายครั้ง เพื่อยึดครองอาณาจักรสุโขทัย

2. อาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่อยุธยามีความพยายามในการขยายอำนาจไปยังอาณาจักรล้านนาหลายครั้ง

3. อาณาจักรมอญ มีอาณาเขตติดต่อกับอยุธยาทำให้มอญมีลักษณะเป็นรัฐกันชน ระหว่างไทยกับพม่า

4. อาณาจักรพม่า พม่าและไทยผลัดกันเข้ายึดครองประเทศราช เมื่อฝ่ายใดยึดได้อีกฝ่ายก็จะตีเอาคืน เช่น ล้านช้าง ล้านนา หัวเมืองมอญ สงครามระหว่างไทยกับพม่าเกิดขึ้นหลายครั้งและยืดเยื้อจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

ตารางแสดงสงครามระหว่างไทยกับพม่าในสมัยอยุธยา

ครั้งที่

..

ในสมัยของ

สงครามที่เกิดขึ้น

กษัตริย์ไทย

กษัตริย์พม่า

1

2081

สมเด็จพระไชยราชาธิราช

พระเจ้าตะเบงชะเวตี้

พม่าตีเมืองเชียงกราน ไทยตีคืนได้

2

2091

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

พระเจ้าตะเบงชะเวตี้

สงครามครั้งนี้ไทยสูญเสียพระสุริโยทัย

3

2106

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

พระเจ้าบุเรงนอง

สงครามช้างเผือก ไทยเสียช้างเผือกและต้องส่งตัวประกันไปพม่า

4

2112

สมเด็จพระมหินทราธิราช

พระเจ้าบุเรงนอง

สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1

5

2127

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

พระเจ้านันทบุเรง

พระนเรศวรประกาศอิสรภาพและได้ทรงพระแสงปืนยิงข้ามแม่น้ำสะโดงถูกแม่ทัพหน้าพม่าเสียชีวิต

6

2127

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

พระเจ้านันทบุเรง

ไทยรบชนะพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี

7

2128

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

พระเจ้านันทบุเรง

ไทยรบชนะพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกศ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ

8

2129

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

พระเจ้านันทบุเรง

พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา แต่ต้องถอยทัพกลับ

9

2133

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระเจ้านันทบุเรง

พระมหาอุปราชคุมทัพมาถึงกาญจนบุรี ไทยซุ่มโจมตีแตกพ่ายไป

10

2135

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระเจ้านันทบุเรง

สงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงฟันพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์

11

2135

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระเจ้านันทบุเรง

ไทยตีเมืองทวายและตะนาวศรีคืนมา

12

2137

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระเจ้านันทบุเรง

ไทยส่งกองทัพไปช่วยมอญที่สวามิภักดิ์ต่อไทย

รบชนะพม่า

13

2138

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระเจ้านันทบุเรง

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 1 ไม่สำเร็จ

14

2142

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระเจ้านันทบุเรง

สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีครั้งที่ 2 แต่พระเจ้าตองอูตีกรุงศรีอยุธยาแตกเสียก่อน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพตามไปตีเมืองตองอูแต่ไม่สำเร็จ

15

2147

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระเจ้านยองยัน

สมเด็จพระนเรศวรคุมทัพไปตีเมืองอังวะ แต่สวรรคตระหว่างทาง

16

2156

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

พระเจ้าอนอคะเปตลุน

พม่าตีเมืองทวาย ไทยขับไล่พม่าออกไป

17

2157

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

พระเจ้าอนอคะเปตลุน

พม่าตีเมืองเชียงใหม่ได้

18

2165

สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

พระเจ้าอนอคะเปตลุน

พม่าตีเมืองทวายได้

19

2205

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระเจ้าแปรหรือพระเจ้าปิเย

พม่าตีเมืองเชียงใหม่ได้

20

2206

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระเจ้าแปรหรือพระเจ้าปิเย

พม่าบุกเข้ามาที่เมืองไทรโยคไทยตีแตกกลับไป

21

2207

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระเจ้าแปรหรือพระเจ้าปิเย

ไทยส่งกองทัพไปล้อมเมืองพุกาม ต่อมาขาดเสบียงอาหารต้องถอยกลับ

22

2302

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์

พระเจ้าอลองพญา

พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอลองพญาประสบอุบัติเหตุ พม่าจึงถอยทัพ

23

2307

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์

พระเจ้ามังระ

พม่าตีได้หัวเมืองทางตะวันตกและหัวเมืองทางเหนือของไทย

24

2310

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์

พระเจ้ามังระ

สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

 

5. อาณาจักรล้านช้าง (ลาว) อาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรล้านช้างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน หลักฐานคือ พระธาตุศรีสองรักที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

6. อาณาจักรเขมร ทางด้านการเมือง เขมรเป็นประเทศราชของอยุธยา

 

ปราสาทนครวัด

  

7. หัวเมืองมลายู เน้นที่ผลประโยชน์ทางการค้า อยุธยาต้องการยึดครอง จึงส่งกองทัพไปตีมะละกาในสมัยสมเด็จพระอินทราชา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทำให้มะละกากลายเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา ต่อมาอยู่ภายใต้การยึดครองโปรตุเกส

 

3. ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับรัฐในเอเชียตะวันออก

1. จีน ดำเนินความสัมพันธ์กับจีนในระบบบรรณาการหรือจิ้มก้อง พระมหากษัตริย์จึงส่งคณะทูตและเครื่องบรรณาการไปจีน เพื่อให้จีนรับรองในฐานะของพระมหากษัตริย์

อยุธยาใช้ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยการส่งบรรณาการให้แก่จีนนั้น ถือเป็นการเปิดช่องทางการค้า

2. ญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมาตั้งหลักแหล่งในอยุธยาจำนวนมาก และยามาดา นางามาซา หนึ่งในชาวญี่ปุ่นที่ได้รับราชการในราชสำนักและได้รับบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

 

เรือสำเภาญี่ปุ่น

  

4. ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับชาติตะวันตก

1. โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่ติดต่อกับอยุธยา จากการที่โปรตุเกสได้ยึดเมืองมะละกา จึงทำให้ได้ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี

 

ร่องรอยหมู่บ้านโปรตุเกสในกรุงศรีอยุธยา

  

2. สเปน สเปนกับไทยติดต่อทางการค้า แต่สำเภาไทยที่เดินทางไปสเปนไม่ได้รับการต้อนรับและถูกขัดขวาง พ่อค้าไทยจึงเลิกส่งเรือไปค้าขายที่สเปน ทำให้การค้ากับสเปนชะลอตัวลง

3. ฮอลันดา หรือดัตช์ แข่งขันทางการค้ากับโปรตุเกส พระเจ้าทรงธรรม ทำสัญญาการค้ากับฮอลันดา โดยให้สิทธิพิเศษแก่ฮอลันดาในการซื้อหนังสัตว์จากไทย ทำให้โปรตุเกสและอังกฤษไม่พอใจ

พระนารายณ์ผูกมิตรกับฝรั่งเศสเพื่อถ่วงดุลอำนาจฮอลันดา ความสัมพันธ์จึงยิ่งเสื่อมลงจนถึงสิ้นสมัยอยุธยา

4. อังกฤษ อังกฤษต้องการค้าขายแข่งกับฮอลันดาและโปรตุเกส แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงยกเลิกสถานีการค้าที่อยุธยาใน พ.. 2166 แต่อยุธยากับอังกฤษเริ่มมีความสัมพันธ์อีกครั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะต้องการให้อังกฤษถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดา

5. ฝรั่งเศส เป็นชาติตะวันตกชาติสุดท้ายที่เข้ามาติดต่อกับอยุธยา โดยติดต่ออย่างเป็นทางการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อต้องการถ่วงดุลกับฮอลันดา

 

คำสำคัญ

รัฐกันชน

พระธาตุศรีสองรัก

บรรณาการ

จิ้มก้อง

ออกญาเสนาภิมุข

มะละกา

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th