บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง สังคมและเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 60.4K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 สังคมและเศรษฐกิจสมัยอยุธยา

 

1. สภาพสังคมโดยทั่วไปและการจัดระเบียบทางสังคม

1.1 สภาพสังคมโดยทั่วไป

อาณาจักรอยุธยาตั้งอยู่บนแผ่นดินที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำไหลผ่าน 3 สาย จึงใช้เป็นเส้นทางคมนาคม มีลักษณะครอบครัวขนาดใหญ่ มีวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน

การเกษตรเป็นอาชีพหลักของคนในอยุธยา เพราะภูมิประเทศเอื้ออำนวย การเรียกชื่อบ้านหรือย่านเรียกตามสินค้าที่ผลิต เช่น ย่านป่าขนมทำขนมขาย

1.2 การจัดระเบียบทางสังคม

ใช้ระบบศักดินา คือ การจำแนกสถานะตั้งแต่ระดับสูงสุดจนถึงระดับต่ำสุด โดยกำหนดความรับผิดชอบและสิทธิต่าง ๆ ที่บุคคลในแต่ละระดับต้องปฏิบัติ

การถือศักดินาไม่ได้หมายความว่าต้องถือครองที่นาตามนั้นจริง แต่เป็นเพียงเครื่องแสดงฐานะทางสังคมเท่านั้น

จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงตรากฎหมาย พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และพระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง ใน พ.. 1998

 

2. องค์ประกอบของสังคมอยุธยาและการเลื่อนฐานะทางสังคม

2.1 องค์ประกอบของสังคมสมัยอยุธยา

1. ชนชั้นปกครอง ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนาง

1) พระมหากษัตริย์ มีฐานะเป็นสมมติเทพ

 

 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 

2) เจ้านาย หมายถึง เชื้อพระวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ยศของเจ้านายมี 2 ประเภท คือ

(1) สกุลยศ ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด

(2) อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับจากพระมหากษัตริย์

3) ขุนนาง จะใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ ขุนนางแต่ละระดับจะพิจารณาจากยศหรือบรรดาศักดิ์ ราชทินนาม ตำแหน่ง และศักดินา ดังนี้

(1) ยศ แสดงถึงลำดับขั้นขุนนาง

(2) ราชทินนาม เป็นนามที่ได้พระราชทาน แสดงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ

(3) ตำแหน่ง หน้าที่ในราชการ

(4) ศักดินา เครื่องกำหนดฐานะทางสังคม

 

ขุนนางชาวสยาม

 

2. ชนชั้นใต้ปกครอง ประกอบด้วยไพร่และทาส

1) ไพร่ คือ มี 2 ประเภท คือ

(1) ไพร่หลวง คือ ไพร่ที่ขึ้นทะเบียนสังกัดพระมหากษัตริย์โดยตรง ส่งส่วยมาแทนการรับราชการก็ได้ ส่วนผู้หญิงไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน

 

 ไพร่ฝีพายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

  

(2) ไพร่สม คือ ไพร่ที่สังกัดมูลนาย มูลนายจะมีไพร่ในสังกัดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับยศ ตำแหน่ง และศักดินา

2) ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุด และถือเป็นสมบัติของนายทาส มี 7 ประเภท

(1) ทาสสินไถ่

(2) ทาสในเรือนเบี้ย

(3) ทาสที่ได้จากบิดามารดา

(4) ทาสมีผู้ให้

(5) ทาสที่ช่วยเหลือจากทัณฑโทษ

(6) ทาสอันได้เลี้ยงไว้ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย

(7) ทาสเชลย

 

ขุนนางกับไพร่

 

ทาสเป็นอิสระได้หลายวิธี ได้แก่ การบวช ทาสที่ไปรบและถูกจับมาเป็นเชลยกลับมาเป็นอิสระ ทาสที่แต่งงานกับนายทาสหรือญาติพี่น้องของทาส และทาสที่ฟ้องว่านายกบฏ

3. พระสงฆ์ ทุกชนชั้นต่างให้ความเคารพนับถือพระสงฆ์ และชนชั้นต่าง ๆ สามารถบวชได้ เมื่อบวชแล้วทุกคนจะมีฐานะเท่าเทียมกัน 

2.2 การเลื่อนฐานะทางสังคม

การเลื่อนฐานะทางสังคมเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้คนแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเอง เพื่อนยกฐานะทางสังคมให้สูงขึ้น

 

3. พระพุทธศาสนาและการศึกษาในสังคมอยุธยา

3.1 พระพุทธศาสนากับสังคมอยุธยา

ทุกชนชั้นในสังคมต่างเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ

วิถีชีวิตของชาวอยุธยาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต และยังเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างศิลปะ

3.2 การศึกษาในสังคมอยุธยา

1. บ้าน เป็นการถ่ายทอดความรู้ในวงศ์ตระกูล

2. วัด เป็นสถานที่ศึกษาสำหรับเด็กชาย และบวชเรียน

3. วัง เป็นแหล่งรวมราชบัณฑิตและนักปราชญ์ทั้งหลาย

 

4. ลักษณะทั่วไปทางเศรษฐกิจและเงินตรา

4.1 ลักษณะทั่วไปทางเศรษฐกิจ

1. การเกษตร ชาวอยุธยาทำนาเป็นอาชีพหลัก มีลักษณะการเกษตรแบบยังชีพ คือ เพียงพอแก่การบริโภคภายในอาณาจักร หากเหลือจะส่งไปขายต่างแดน

2. หัตถกรรม ช่างฝีมือจะรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน เพื่อผลิตงานฝีมือออกสู่ตลาด

3. การค้า การค้าอยุธยาแบ่งได้ 2 ระดับ คือ

1) การค้าภายใน ส่วนใหญ่เป็นการค้าพืชผลทางการเกษตร

2) การค้าระหว่างประเทศ มีลักษณะที่เสรี พ่อค้าต่างชาติสามารถติดต่อค้าขายกับชาวอยุธยาได้โดยตรง มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ

กรมท่าซ้าย มีโชฎึกราชเศรษฐีเป็นเจ้ากรม ข้าราชการส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ดูแลกิจการค้าสำเภากับดินแดนตะวันออก

กรมท่าขวา มีจุฬาราชมนตรีเป็นเจ้ากรม ดูแลกิจการค้าสำเภากับดินแดนตะวันตก

4.2 เงินตรา

1. พดด้วง ทำจากโลหะเงิน มีตราประทับหลายแบบ

2. เบี้ย นำเปลือกหอยทะเลมาใช้เป็นเงิน

3. ไพและกล่ำ ทำจากโลหะที่ไม่ใช่เงิน

4. ประกับ ทำจากดินเผาตีตราประทับ ใช้แทนเบี้ยที่ขาดแคลน

 

 เบี้ยจากหอยเบี้ย เงินพดด้วง

  

5. รายได้และรายจ่ายของอาณาจักรอยุธยา

5.1 รายได้ของอาณาจักร

1. จังกอบ มี 2 แบบ ได้แก่ จังกอบสินค้า และจังกอบปากเรือ

2. อากร คือ ภาษีที่เก็บจากราษฎร มีดังนี้ อากรค่านา อากรสมพัตสร อากรศุลกากร อากรสวน อากรตลาด อากรค่าน้ำ อากรบ่อนเบี้ย อากรสุรา

ในสมัยพระนารายณ์มหาราชได้เปลี่ยนจากเก็บผลผลิตเป็นเงินแทน

3. ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากราษฎรในกิจการที่ทางราชการจัดการให้

4. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ส่งให้ราชสำนัก เช่น ส่วยแรงงาน บรรณาการ

5.2 รายจ่ายของอาณาจักร เรียกอีกอย่างว่า รายจ่ายราชทรัพย์ เพราะในสมัยอยุธยารายได้ของอาณาจักรถือว่าเป็นรายได้ของพระมหากษัตริย์ มี 4 ประเภท ได้แก่

1. รายจ่ายเป็นเบี้ยหวัด ให้กับเจ้านายและขุนนาง

2. รายจ่ายในการทหาร เพื่อบำรุงกิจการของกองทัพให้เข้มแข็ง

3. รายจ่ายในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม

4. รายจ่ายอื่น ๆ เช่น รายจ่ายในพระราชพิธีต่าง ๆ รายจ่ายในการสงเคราะห์คนอนาถา

 

คำสำคัญ

ศักดินา  ไพร่สม

พระไอยการ  โชฎึกราชเศรษฐี

สมมติเทพ  จุฬาราชมนตรี

สกุลยศ  พดด้วง

อิสริยยศ  จังกอบ

บรรดาศักดิ์  อากร

ราชทินนาม  ฤชา

ไพร่หลวง  ส่วย

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th