บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ยุคสมัยและหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 56.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้


ยุคสมัยและหลักฐานทางประวัติศาสตร์

 

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
     1.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งได้ดังนี้
          1.1.1 ยุคหิน (Stone Age) ยุคหินแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่

 

ภาพวาดของมนุษย์ยุคหินเก่าในถ้ำลาสโก ประเทศฝรั่งเศส

 

          1.1.2 ยุคโลหะ (Metal Age) ทองแดง คือ โลหะชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนำมาหลอมเป็นเครื่องใช้ ยุคโลหะแบ่งเป็น 2 ยุคย่อย คือ ยุคสำริด (Bronze Age) ยุคเหล็ก (Iron Age)
     1.2 สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักการเขียน มีตัวอักษร ทำให้ชนรุ่นหลังสามารถเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตได้

 

อักษรคูนิฟอร์มของชาวสุเมเรียน

 

          1.2.1 การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ตะวันออก
               1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน ใช้พัฒนาการทางอารยธรรมและช่วงเวลาที่ราชวงศ์ต่าง ๆ มีอำนาจในการปกครองเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัย
               2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย ใช้พัฒนาการของอารยธรรมอินเดียและเหตุการณ์สำคัญเป็นเกณฑ์ จึงแบ่งยุคสมัยออกเป็นสมัยโบราณ สมัยกลาง และสมัยใหม่
          1.2.2 การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ตะวันตก
               1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 476) รากฐานของอารยธรรมตะวันตกเริ่มต้นในลุ่มน้ำไทกริส–ยูเฟรทีส อารยธรรมสมัยนี้ได้แก่ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์โบราณ อารยธรรมกรีก และอารยธรรมโรมัน
               2. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (ค.ศ. 476–ค.ศ. 1453) ช่วงเวลาสมัยกลางเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงจากอารยธรรมโรมันไปสู่อารยธรรมคริสต์ศาสนา
               3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (ค.ศ. 1453–1945) เป็นสมัยของความรุ่งเรืองด้านศิลปวิทยาการของอารยธรรมตะวันตก ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
               4. ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1945–ปัจจุบัน) สมัยปัจจุบันเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงทั่วโลกและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง
2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์
     2.1 ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
          1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ เช่น จารึก ตำนาน
          2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ เช่น มหาวิหาร โครงกระดูกมนุษย์
     2.2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
          2.2.1 หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
               1. หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
                    1) โครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เช่น โครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man)
                    2) เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมหยางเชา (Yang–shao Culture)
               2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ


หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยก่อนประวัติศาสตร์

 

               3. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเช่น
                    1) โครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
                    2) ศิลปะถ้ำ
                    3) สโตนเฮนจ์ (Stonehenge)
          2.2.2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
               1. หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ (1,570 ปีก่อนค.ศ.–ค.ศ. 220) เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ชาง
               2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยโบราณ (900 ปีก่อน ค.ศ.–ค.ศ. 535) เช่น
               3. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยโบราณ (3,500 ปีก่อน ค.ศ.–ค.ศ. 476) ดังต่อไปนี้
          2.2.3 หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกลาง
               1. หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง (ค.ศ. 220–1368)
                    1) งานบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ เรียกว่า เจิ้งสื่อ (Cheng–shih)
                    2) หลักฐานแหล่งโบราณคดีถ้ำพุทธศิลป์ ในสมัยราชวงศ์ฮั่น
               2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง (ค.ศ. 535–1526) ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง เช่น
                    1) หนังสือประวัติของสุลต่านฟีรุส ชาห์ ตุคลุก (Tarikh I Firuz Shah Tughlug)
                    2) งานวรรณกรรมของอะมีร์ คุสเรา อะมีร์ คุสเรา(Amir Khusrau ประมาณ ค.ศ.1253–1325)
                3. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยกลาง เป็นสังคมภายใต้การครอบงำของคริสต์ศาสนาและระบบฟิวดัล (feudalism) ได้แก่
                    1) มหากาพย์ชองซองเดอโรลองค์ (Chanson de Roland)
                    2) ทะเบียนราษฎร (Domesday Book)
                    3) หนังสือแห่งกาลเวลา (Les très riches heures du duc de Berry)
          2.2.4 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน
               1. หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1368–ปัจจุบัน)
               ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน ได้แก่
                    1) งานวรรณกรรมของหลู่ ซุ่น (Lu Xun)
                    2) เอกสารแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระหว่างประมุข/ผู้นำรัฐบาลอาเซียนกับประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
               2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1526–ปัจจุบัน)
               ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน
                    1) ประวัติของอักบาร์ (Akbar Namah)
                    2) พระราชโองการของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

 

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

 

               3. หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน
               ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน ได้แก่
                    1) คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง (Declaration des droits de I’homme et du citoyen) เป็นเอกสารคำประกาศของคณะปฏิวัติฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789

 

ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ฝรั่งเศส

 


                     2) สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ด้วยการยอมจำนนของฝ่ายเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 918

 

คำสำคัญ
ยุคหิน (Stone Age)
ยุคโลหะ (Metal Age)
สมัยพระเวท
อารยธรรม
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)
อารยธรรมพระเวท
มหากาพย์
ทะเบียนราษฎร (Domesday Book)
ประวัติของอักบาร์ (Akbar Namah)
สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles)

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th