ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. บุคคลสำคัญที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยและประวัติศาสตร์ไทย
การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทยเป็นหน้าที่ของทุกคน มีบุคคลสำคัญจำนวนมากที่มีส่วนร่วมสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยและประวัติศาสตร์ไทย เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ประวัติของบุคคลสำคัญเพื่อยึดถือเป็นแบบอย่าง ดังนี้
1.1 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านศิลปะและวัฒนธรรม เช่น สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี และวรรณคดี เนื่องจากทรงสนพระราชหฤทัย ทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เอง และทรงนำให้ผู้อื่นปฏิบัติ
1.2 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต ที่ประชุมเสนาบดีพร้อมใจกันเชิญพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 พระราชภารกิจที่สำคัญของพระองค์
1.3 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงเป็นกรมขุนพินิตประชานาถขณะพระชนมายุ 13 พรรษา เสวยราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะพระชนมพรรษาเพียง 15 พรรษา โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะ พระชนมพรรษาครบ 20 พรรษา จึงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ทรงครองราชย์ 42 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ จึงทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า พระปิยมหาราช หมายความว่า ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย
1.4 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม 2453 มีพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมุ่งมั่นพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ความเจริญทัดเทียมบรรดาอารยประเทศ ทั้งด้านการศึกษา วรรณกรรม นาฏศิลป์ ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งยังทรงริเริ่มสิ่งต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้สร้างธงไตรรงค์ ให้ใช้คำนำหน้านามสตรีและเด็ก การสร้างเมือง ดุสิตธานี เพื่อเป็นการปูพื้นฐานระบบประชาธิปไตยให้มั่นคง
1.5 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรอบรู้ภาษาต่าง ๆ หลายภาษาทั้งภาษาบาลี สันสกฤต อังกฤษ และฝรั่งเศส ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี โท เอก หลักสูตรบาลีไวยากรณ์ และพระราชนิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาบาลีกว่า 200 เรื่อง ทรงชำระคัมภีร์บาลีไวยากรณ์กว่า 20 คัมภีร์ ทรงวางรากฐานการศึกษาพระพุทธศาสนาสมัยใหม่ใน
1.6 หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูร)
เจ้าฟ้ามงกุฎสนใจศึกษาภาษาอังกฤษ หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ศึกษาตามพระราชนิยมกับมิชชันนารีจนมีความรู้ภาษาอังกฤษอย่างดี และยังเข้ารับราชการเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนได้เลื่อนเป็นหม่อมราโชทัยด้วยความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
1.7 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีอเมริกัน ทรงแต่งตำราสรรพคุณสมุนไพรไทย 166 ชนิด และยังจารึกคำประพันธ์บรรยายการบำบัดรักษาโรคและการออกกำลังกายในท่าต่าง ๆ ที่เรียกว่า ฤๅษีดัดตน ไว้ในแผ่นหินวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม พระองค์ทรงสนพระทัยทั้งการแพทย์โบราณและสมัยใหม่ โดยศึกษาจากหมอบรัดเลย์
1.8 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ และเป็นกรมหลวง ในรัชกาลที่ 5 ได้เลื่อนเป็นกรมพระยาในรัชกาลที่ 6 และได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพในรัชกาลที่ 7
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์และจงรักภักดี
1.9 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการต่าง ๆ หลายแขนง และมิได้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของไทยแต่เพียงเท่านั้น ยังทรงเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติอีกด้วย ใน พ.ศ. 2506 ซึ่งเป็นวาระครบรอบร้อยปีแห่งวันประสูติ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก จึงได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลก
1.10 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้จัดให้รัชกาลที่ 5 ทรงได้รับการฝึกหัดการเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี และให้ทรงเรียนรู้ศิลปวิทยาสมัยใหม่ควบคู่กัน ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ. 2416 ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เป็นการแสดงว่าจะทรงว่าราชการบ้านเมืองเอง และโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในพระราชพิธีนี้
1.11 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)
พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้เป็นที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เจ้าเมืองตรังในปี พ.ศ. 2433 เนื่องจากได้แสดงความสามารถในการสร้างบ้านบำรุงเมืองให้เป็นที่ปรากฏ และใน พ.ศ. 2455 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
1.12 บาทหลวงปาลเลอกัวซ์
ท่านเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาบาลีจนมีความรู้ทั้งสองภาษาเป็นอย่างดี และยังแต่งหนังสืออีกจำนวนมาก นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี
ท่านมีความชำนาญทางด้านการถ่ายรูปและชุบโลหะ และยังเป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปมาในประเทศไทย
1.13 พระยากัลยาณไมตรี (ดร. ฟรานซิส บี. แซร์)
พระยากัลยาณไมตรี (ดร. ฟรานซิส บี. แซร์) พยายามแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบนี้มาโดยตลอด ซึ่งสหรัฐอเมริกายอมแก้ไขโดยมีข้อแม้บางประการใน พ.ศ. 2463 และญี่ปุ่นยอมแก้ไขใน พ.ศ. 2466 สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงแต่งตั้งให้ ดร.แซร์ เป็นผู้แทนประเทศไทยเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศในยุโรป โดยเริ่มเดินทางไปปฏิบัติงานใน พ.ศ. 2467 แต่การเจรจาเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ด้วยความที่ ดร.แซร์ เป็นผู้มีความวิริยะอุตสาหะ ความสามารถทางการทูต และการเป็นบุตรเขยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา จึงทำให้ ดร. แซร์เจรจา
1.14 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นามเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรจี ร่วมก่อตั้งโรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง ต่อมาเป็นโรงเรียนประณีตศิลปกรรมในกรมศิลปากร ภายหลังเลื่อนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ต่อมาศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้เข้ารับราชการกระทรวงวัฒนธรรม นอกจากนี้ ท่านยังได้รับหน้าที่จากรัฐบาลไทยให้นำผลงานศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก
2. บุคคลสำคัญที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย
2.1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ระหว่างทรงศึกษาได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร กับหม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ณ เมืองโลซาน สวิตเซอร์แลนด์
วันที่ 28 เมษายน โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ในปีนี้ วันที่ 5 พฤษภาคม โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
2.2 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อสังคมไทยนานัปการ เช่น การฟื้นฟูพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทย การก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ การปลูกฝังคุณธรรมแก่ประชาชน ทั้งด้านการศึกษา ทรงสอนหนังสือราษฎรด้วยพระองค์เอง พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการศึกษาแก่เยาวชน ทรงรับนักเรียนไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ โปรดเกล้าฯ ให้รับครอบครัวของเด็กฝึกอบรมให้ประกอบอาชีพ โดยใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน
2.3 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระนามเดิม “สังวาลย์” ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านการศึกษา ศาสนา และการสงเคราะห์ประชาชน คือ พระราชทานพระราชานุเคราะห์แก่ตำรวจตระเวนชายแดน ทหารพิการ ชาวเขา เด็กยากจน และคนในชุมชนแออัด ทรงตั้งมูลนิธิสงเคราะห์ตำรวจตระเวนชายแดนและครอบครัว ทรงสร้างโรงเรียนชายแดนและท้องถิ่นทุรกันดารเกือบ 200 แห่งทั่วประเทศ
2.4 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญ
พระราชกรณียกิจแก่ประเทศชาติเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์มากมาย
คำสำคัญ
บุคคลสำคัญที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยและประวัติศาสตร์ไทย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
หม่อมราโชทัย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี
บาทหลวงปาลเลอกัวซ์
พระยากัลยาณไมตรี
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th