โคลงสี่สุภาพ
ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์ บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้
ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)
๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง
หลักการจำตำแหน่งวรรณยุกต์ แบบฉบับลุงอ่ำ
กากากาก่าก้า กากา (00)
กาก่ากากากา ก่าก้า
กากาก่ากากา กากา (00)
กาก่ากากาก้า ก่าก้ากากา
๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้เอกโทษ และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?
คำเอกคำโท หมายถึง พยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับอยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้
คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด (ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)
คำตาย คือ
1. คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โปีะ ฯลฯ
2. คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ
คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน
คำเอกคำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท "โคลง" และ "ร่าย" และถือว่าเป็นข้อบังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้เอกและโทได้ เช่น "เล่น" นำมาเขียนใช้เป็น "เหล้น" ได้ เรียกว่า โทโทษ
"ห้าม" "ข้อน" นำมาเขียนเป็น "ฮ่าม" "ค่อน" เรียกว่า เอกโทษ
**เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ
ที่มา : https://www.st.ac.th/thaidepart/poemt2.php#chan6
หากแต่งโคลงสี่สุภาพ ตามกระทู้หรือตามหัวข้อเรื่อง จะเรียกโคลงนั้นว่าโคลงกระทู้ โดยผู้แต่งจะเขียนกระทู้แยกออกมาด้านข้าง หากแยกออกมา ๑ พยางค์ เรียกว่า กระทู้ ๑ คำหากแยกออกมา ๒ พยางค์ เรียกว่ากระทู้ ๒ คำ ดูตัวอย่างด้านล่าง หรือจากสุภาษิตคำโคลง บางสำนวน
ตัวอย่างคำประพันธ์ที่นิยมท่องเป็นต้นแบบเพื่อง่ายต่อการจดจำแผนผัง ลิลิตพระลอ
ครูภาทิพ ศรีสุทธิ์
๏ มาฆบูชาเทศน์ถ้อย ธรรมคุณ
คืนค่ำบำเพ็ญบุญ บาทเบื้อง
วารโอวาทคอยจุน จิตสว่าง ไสวเเล
เพ็ญพร่างทางธรรมเยื้อง ย่างย้ายขยายธรรม
๏ พันสองร้อยห้าสิบถ้วน พระสงฆ์
เผยแพร่ธรรมพุทธองค์ ออกเเคว้น
หมายมุ่งกลับคืนคง ราชคฤห์ พร้อมนา
เวฬุวันเหมือนแม้น ดั่งได้นัดหมาย
๏ โอวาทปาติโมกข์เน้น นำสอน
ละชั่วกรวดตะกอน กร่อนเนื้อ
ทำดีขจายขจร จบทั่ว สกนธ์แฮ
จิตผ่องผุดผาดเกื้อ ก่อให้โลกงาม
๏ ดอกบัวเทียนธูปน้อม นมัสการ
อรหังสัมมาขาน เเจ่มเเจ๋ว
นะโมตัสสะสาร สามขบ กระจ่างนา
อิติปิโสแล้ว สืบถ้วนจงเจริญ
๏ "องค์ใดพระสัมพุทธ" ซร้อง สืบเสียง
สวากขาโตเพียง เพราะล้ำ
"ธรรมะคือคุณากร"เคียง ขานสดับ จิตนา
สุปฏิปันโนย้ำ อย่าได้ลืมหลง
๏ "สงฆ์ใดสาวก"ผู้ ดำรง ศาสน์นอ
พาหุงสหัสฯผจง จิตตั้ง
ตาม"ปางเมื่อพระองค์" เอิมอิ่ม ฤทัยเเล
"อัชชายัง"ประจวบครั้ง เเต่เบื้องพุทธกาล
๏ "มาฏะนักขัตตะ"แล้ว เวียนชวา
สามจบทักษิณา นิ่งไว้
รำลึกพระพุทธา อิติ ปิโสเเล
พระธรรมพระสงฆ์ไซร้ เสร็จสิ้นมาฆวาร๚ ๛
อาจารย์ภาทิพ ศรีสุทธิ์ 23 กุมภาพันธ์ 2548