บทเรียนออนไลน์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ดีไซน์ผลิตภัณฑ์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 14K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
 


การออกแบบ
แบบเป็นผลงานจากการออกแบบซึ่งเกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของนักออกแบบ มีทั้งภาพ แบบร่าง แบบจำลอง


  


ความสำคัญของการออกแบบ
1. เป็นตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด
2. ช่วยจัดระเบียบของสาระข้อมูลเกี่ยวกับงานหรือชิ้นงานให้ชัดเจน
3. ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. ช่วยให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน
5. ช่วยควบคุมการเลือกใช้สิ่งต่างๆ โดยเฉพาะงานออกแบบอาคารและงานตกแต่งภายใน
6. ช่วยจัดลำดับความสำคัญและแสดงเส้น สี ระยะ ลักษณะผิว รูปทรง และรูปร่างให้กลมกลืน

ประเภทของการออกแบบ
1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อก่อสร้างอาคาร



2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของผลิตภัณฑ์
3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) ต้องออกแบบให้ผลิตภัณฑ์มีประโยชน์ใช้สอยและมีความปลอดภัยเป็นสำคัญ 

 


4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) ตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย

 


5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design)



วิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์
เป็นปัจจัยสำคัญที่จูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการที่จะจ่ายเงินซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีดังนี้
1. การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์
2. การออกแบบที่สัมพันธ์กับวัสดุและกระบวนการผลิต
3. การออกแบบที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้บริโภค
4. การออกแบบที่มีคุณค่าทางความงาม
การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึง
หน้าที่ใช้สอย (Function) ความปลอดภัย (Safety) ความแข็งแรง (Construction) ความสะดวกสบายในการใช้ (Ergonomics) ความสวยงาม (Aesthetics) ราคาพอสมควร (Cost) ซ่อมแซมได้ง่าย (Ease of Maintennance) วัสดุและวิธีการผลิต (Materials and Production) การขนส่ง (Transportation)



การเขียนแบบ
เป็นการแสดงรายละเอียดของการออกแบบ โดยนำแบบที่ร่างไว้แล้วมาเขียน สัดส่วนเป็นรูป 2 มิติ และ 3 มิติ การเขียนแบบแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1. การเขียนแบบรูปด้าน (2 มิติ)
2. การเขียนแบบทัศนียภาพ ( 3 มิติ)
การเขียนภาพในงานเขียนแบบ
1. ภาพฉาย (Orthographic Projection จะเขียนรายละเอียดสัดส่วนของวัตถุหรือชิ้นงานไว้ทุกด้าน



2. การเขียนภาพแบบไอโซเมตริก (Isometric) เป็นการเขียนภาพ 3 มิติ นิยมใช้เขียนแบบบรรจุภัณฑ์

 

  


3. การเขียนภาพแบบออบลิค (Oblique) เป็นการเขียนภาพบนพื้นระดับ เส้นของทุกด้านจะขนานกันและกัน

 


4. การเขียนภาพแบบเพอร์สเปกทีฟ (Perspective) เป็นการเขียนภาพแบบที่สายตามองเห็นเหมือนของจริง มองเห็นมิติ นิยมใช้ร่างแบบเขียนภาพประกอบโฆษณากล่องบรรจุภัณฑ์และเขียนแบบผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ


 


การเขียนแบบจำลอง
จะมีการกำหนดมาตราส่วน(Scale)ขึ้น ถ้าวัตถุที่เขียนแบบนั้นมีขนาดเหมาะสมกับกระดาษเขียนแบบก็ทำการเขียนแบบเท่าของจริง
มาตราส่วน (Scale) มี 3 รูปแบบ ดังนี้
1. มาตราส่วนจริง คือ มาตราส่วนที่ภาพเขียนแบบกับชิ้นงานจริงมีขนาดเท่ากัน
2. มาตราส่วนย่อ คือ มาตราส่วนที่ภาพเขียนแบบย่อเล็กลงจากชิ้นงานจริง
3. มาตราส่วนขยาย คือ มาตราส่วนที่ภาพเขียนแบบขยายใหญ่กว่าชิ้นงานจริง



การใช้ซอฟต์แวร์ในงานออกแบบ
โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ
1. โปรแกรม Adobe Illustrator
เป็นโปรแกรมช่วยออกแบบภาพ 2 มิติ



2. โปรแกรม Blender เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบงาน 3 มิติ


  


แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th