บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง รัฐบาลกับระบบเศรษฐกิจ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 5K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้


1. รัฐบาลกับการพัฒนาประเทศ
    บทบาทของรัฐบาลกับการพัฒนาประเทศ ได้แก่ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี ชนบท เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง ซึ่งเป็นหลักการแห่งนโยบายหลักให้รัฐปฏิบัติตามในการบริหารประเทศมี 10 ด้าน ได้แก่


            

        – ด้านทั่วไป
        – ด้านความมั่นคงของรัฐ
        – ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
        – ด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
        – ด้านกฎหมายและการยุติธรรม
        – ด้านการต่างประเทศ
        – ด้านเศรษฐกิจ
        – ด้านที่ดิน
        – ด้านวิทยาศาสตร์
        – ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน 



  


    บทบาททางเศรษฐกิจ มีดังนี้
        – การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคม
        – กระจายรายได้และความมั่งคั่งของสังคม
        – รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
        – เร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
        – อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสภาพแวดล้อม



    รัฐบาลยังมีบทบาทแทรกแซงราคาและควบคุมราคา รวมทั้งจัดเก็บภาษี ดังนี้
    แทรกแซงราคาและการควบคุมราคา รัฐบาลจำเป็นต้องแทรกแซงการทำงานของกลไกราคา เป็นผู้กำหนดราคาชนิดนั้นให้สูงหรือต่ำกว่าระดับราคาดุลยภาพในตลาด ดังนี้
    การประกันราคาขั้นต่ำ คือ การกำหนดราคาสินค้าไม่ให้ต่ำเกินไป โดยการประกันราคาสินค้าทำให้รัฐบาลต้องรับภาระหนัก รัฐบาลจึงแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น คือ
        – การลดปริมาณการผลิต
        – การให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกร


  


    การกำหนดราคาขั้นสูง คือ การกำหนดราคาสินค้า ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด
    การจัดเก็บภาษี แบ่งเป็นรายได้ที่เป็นภาษีอากร และรายได้และรายรับที่มิใช่ภาษีอากร จะกล่าวถึงรายได้ที่เป็นภาษีอากร แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
    ภาษีอากรโดยทั่วไป
        – การจัดเก็บภาษีจากรายได้และซื้อขายสินค้าบริการ
        – การจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินหรือการโอนเปลี่ยนมือ
    ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เป็นรายได้ที่นำไปใช้ตามที่วัตถุประสงค์
2. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
    นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่สำคัญ 6 ประการ ได้แก่
    นโยบายเศรษฐกิจมหภาค มี 7 ประการ ดังนี้
        – การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
        – การให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน
        – การพัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศ
        – การปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ
        – การส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง

        – การปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ        

 


 


        – การบริหารสินทรัพย์ของประเทศ
    นโยบายสร้างรายได้ มี 8 ประการ ดังนี้
        – การส่งเสริมการท่องเที่ยว
        – การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร
        – การให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสร้างรายได้
        – การยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
        – การขยายการลงทุน
        – การดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศ
        – การสร้างอาชีพ สร้างงาน
        – การขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ


   

 

    นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ มี 4 ภาคส่วน คือ
    ส่วนที่ 1 ภาคเกษตร
        – การสนับสนุนสภาเกษตรกรแห่งชาติ
        – การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช
        – การเพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์
        – การพัฒนาการประมง
        – การเสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกร
        – การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกร
        – การเร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร
        – การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่ม
        – การส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่


  


    ส่วนที่ 2 ภาคอุตสาหกรรม
        – การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ
        – การเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
        – การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
        – การสร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
        – การกำหนดมาตรฐานและคุณภาพสินค้าอุตสาหกรรม
        – การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่
        – การพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
        – การมีมาตรการทางภาษีในการพัฒนาอุตสาหกรรม
        – การประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
        – การหาแหล่งแร่ทางเศรษฐกิจ



    ส่วนที่ 3 ภาคการท่องเที่ยว การบริการ และการกีฬา
        – การพัฒนาการท่องเที่ยว
        – การพัฒนาการบริการ
        – การพัฒนาการกีฬา
    ส่วนที่ 4 ภาคการตลาด การค้า และการลงทุน
        – การส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
        – การสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
        – การลงทุนในต่างประเทศ
        – การปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุน
        – การขยายตลาดเชิงรุก
        – การพัฒนาสินค้าและบริการ
        – การขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ
        – การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
    นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน
        – พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
        – ขยายการให้บริการน้ำสะอาด
        – พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก
        – พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง
        – เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า
        – พัฒนาการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวี
        – พัฒนาท่าอากาศยานสากล


  


    นโยบายพลังงาน
        – ให้อุตสาหกรรมพลังงานสร้างรายได้ให้ประเทศ
        – สร้างเสริมความมั่นคงทางพลังงาน
        – กำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสมเป็นธรรม
        – พัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
        – อนุรักษ์พลังงาน
    นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ
        – พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
        – การเข้าถึงการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะ
        – ใช้คลื่นความถี่
        – ใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง
        – พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์
    กิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล มีดังนี้
        กิจกรรมตามนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
        กิจกรรมตามนโยบายสร้างรายได้
        กิจกรรมตามนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
        กิจกรรมตามนโยบายพลังงาน
        กิจกรรมตามนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ


 
 

    แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th