บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 15.1K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

1. การค้าระหว่างประเทศ
    ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ผ่านเขตแดนของชาติ มี 2 ลักษณะ ได้แก่
        – การส่งสินค้าออก ทำให้เกิดรายได้ซึ่งเงินตราต่างประเทศ
        – การนำสินค้าเข้า เป็นการเพิ่มการลงทุน

 

  

 

    สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ มีดังนี้
        – ความแตกต่างด้านภูมิศาสตร์
        – ความแตกต่างด้านทรัพยากรธรรมชาติ
        – ความได้เปรียบด้านการผลิต

 

 

    การกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
        – การผลิตสินค้าหลายชนิดหรือหลายสาขา เพื่อให้ประเทศพึ่งตนเองและมีสินค้าอย่างเพียงพอทั้งชนิดและปริมาณ
        – การคุ้มกันสินค้าที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ใช้กำแพงภาษีขาเข้าในอัตราที่สูงขึ้น
        – การเก็บภาษีหลายอัตรา
        – การกำหนดข้อจำกัดทางการค้า เป็นการสร้างอุปสรรคในการค้าระหว่างประเทศ

2. การลงทุนระหว่างประเทศ
    ความหมายของการลงทุนระหว่างประเทศ การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยไปยังประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า
    ประเภทของการลงทุนระหว่างประเทศ มี 2 ประเภท คือ
    การลงทุนระหว่างประเทศทางตรง ผู้ได้รับผลประโยชน์ ได้แก่
        – ประเทศผู้ลงทุน
        – ประเทศผู้รับการลงทุน

 

 

    การลงทุนระหว่างประเทศทางอ้อม ประโยชน์ของการลงทุน มีดังนี้
        – เกิดการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        – ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
        – ประเทศผู้รับการลงทุนมีการพัฒนาเศรษฐกิจ

 

            


3. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
    บทบาทความสำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือ สร้างประโยชน์ทางการค้าให้กับประเทศ โดยยึดหลักการได้ประโยชน์จากการค้า แม้ประเทศต่าง ๆ มีนโยบายร่วมกัน แต่ผลประโยชน์ยังไม่เท่าเทียมกัน
    ลักษณะของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ5 ระดับ คือ
        – เขตการค้าเสรี
        – สหภาพศุลกากร
        – ตลาดร่วม
        – สหภาพเศรษฐกิจ
        – สหภาพเหนือชาติ
    กลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ประกอบด้วย
    กลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย–แปซิฟิก ส่วนสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า เพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าระดับพหุภาคี สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และ ลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย–แปซิฟิก เป็นตลาดใหญ่และมีศักยภาพในการขยายการค้าและการลงทุน


            


    กลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคยุโรป ได้แก่ สหภาพยุโรป มีสมาชิกรวม 27 ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร กรีซ โปรตุเกส สเปน ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกีย สโลวีเนีย บัลแกเรีย และโรมาเนีย เพื่อรวบรวมระบบเศรษฐกิจ ยกระดับการดำรงชีวิต และ จัดตั้งสหภาพศุลกากรโดยการขจัดอุปสรรค
    กลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอเมริกา เป็นเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ มีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับกลุ่มประเทศอื่น ๆ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th