ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในการพัฒนาและบริหารประเทศในทางสายกลาง
ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทย ทรงเน้นย้ำแนวทางพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม
2. หลักแนวคิด/หลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องนึกถึงคุณลักษณะ 3 ประการ ได้แก่
- พอประมาณ
- มีเหตุผล
- มีภูมิคุ้มกันในตัว
นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไข 2 ประการ คือ
- มีความรู้
- มีคุณธรรม
หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีหลักการทรงงาน 8 ประการ ได้แก่
- ระเบิดจากข้างใน
- องค์รวม
- ประชาพิจารณ์
- ขาดทุนคือกำไร
- พออยู่พอกิน
- พึ่งตนเอง
- เศรษฐกิจพอเพียง
- ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการตามพระราชดำริ มีหลักการคือ
- แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
- พัฒนาตามขั้นตอน
- พึ่งพาตนเอง
- เรียบง่ายและประหยัด
- ส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่
- อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
3. ทฤษฎีใหม่
ความเป็นมาและแนวคิดทฤษฎีใหม่ เกิดจากพระราชดำริเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งแนวทางการดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้น คือ
- ผลิต
- รวมพลังในรูปกลุ่ม
- ติดต่อประสานงานเพื่อหาทุน
ซึ่งแบ่งที่ดินในอัตราส่วน 30: 30:30:10 เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ
ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- โครงการตามพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” จังหวัดอุบลราชธานี
4. การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีหลักพึ่งตนเอง 5 ด้าน ได้แก่
- ด้านจิตใจ คือ ต้องเข้มแข็ง
- ด้านสังคม คือ ต้องช่วยเหลือกัน
- ด้านเศรษฐกิจ คือ ต้องช่วยกันเพิ่มรายได้
- ด้านเทคโนโลยี คือ เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้และจัดการทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและรอบคอบ
การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ แบ่งได้ดังนี้
- ระดับบุคคลและครอบครัว ดำเนินชีวิตได้โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
- ระดับชุมชนและธุรกิจ รู้จักรวมกลุ่มทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
- ระดับสังคมและประเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา
5. ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย
ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคง ซึ่งการพัฒนาที่มุ่งสร้างความสมดุลมี 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยให้รอบคอบและระมัดระวังตลอดจนคำนึงถึงคุณธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิถีปฏิบัติที่จะก่อให้เกิดสังคมแห่งความพอเพียง
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th