วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 42.5K views



รูปแบบของวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน
วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าที่จะไหลไปตามส่วนต่าง ๆ ของวงจรที่เป็นตัวนำ
การต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน หมายถึง การต่อความต้านทาน ซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือ
1.การต่อความต้านทานแบบอันดับหรือแบบอนุกรม
เป็นการต่อความต้านทานเรียงกันไปตามลำดับ โดยที่ปลายสายของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่หนึ่งต่อกับต้นสายของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอด) ของตัวที่สอง และอีกปลายหนึ่งของความต้านทานหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าตัวที่สองต่อกับต้นสายของความต้านทาน หรืออุปกรณ์ตัวที่สามเรียงต่อกันไปอย่างนี้จนครบวงจร

คุณสมบัติของวงจรแบบอันดับหรืออนุกรม
1. กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน
2. แรงดันกระแสไฟฟ้าของวงจรทั้งหมดเท่ากัน แรงดันกระแสไฟฟ้าตกคร่อมของแต่ละความต้านทานรวมกัน
2.การต่อความต้านทานแบบขนาน

2.การต่อความต้านทานแบบขนาน
เป็นการต่อสายของความต้านทานแต่ละตัวไว้ที่เดียวกัน และปลายสายอีกด้านหนึ่งต่อร่วมกันไว้ที่เดียวกัน

คุณสมบัติของการต่อวงจรแบบขนาน
1. ความต้านทานแต่ละตัวได้รับแรงดันกระแสไฟฟ้าเท่ากัน
2. กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานแต่ละตัวมีค่าไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้านทานนั้น ๆ คือ ถ้ามีความต้านทานมากกระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อย ถ้ามีความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้าจะไหลได้มาก
3. ผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่แยกไหลผ่านแต่ละความต้าน เมื่อรวมกันแล้วจะเท่ากับกระแสไฟฟ้าของวงจร
4. ความต่างศักย์ไฟฟ้าบนความต้านทานแต่ละเส้น จะมีค่าเท่ากัน และเท่ากับความต่างศักย์ไฟฟ้ารวมทั้งวงจร

3.การต่อความต้านทานแบบผสม
เป็นการต่อความต้านทานที่มีทั้ง 2 แบบในวงจรเดียวกัน

วงจรไฟฟ้าภายในบ้านนิยมแบบขนาน เนื่องจากถ้ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งขาด อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหลือก็จะใช้งานได้

4.แผนผังการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้าน
การต่อไฟฟ้าในบ้านเริ่มต้นจากสายไฟฟ้าใหญ่ลงมาที่มาตรไฟฟ้าจากมาตรไฟฟ้าต่อเข้าคัตเอาท์และฟิวส์ สายที่ต่อจากฟิวส์เป็นสายประธาน ซึ่งสามารถต่อแยกไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารได้



ที่มา https://dnfe5.nfe.go.th/ilp/electric/Elec-4.htm