วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๘ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานการประชุมกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) ได้แถลงข่าวประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาคัดเลือก ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๗ จำนวน ๑๒ คน ดังนี้ |
|
๑. สาขาทัศนศิลป์ จำนวน ๕ คน ได้แก่ |
|
![]() |
๑.๑ นายจรูญ อังศวานนท์ (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์) |
![]() |
๑.๒ นายชวลิต เสริมปรุงสุข (จิตรกรรม) |
![]() |
๑.๓ นายนิจ หิญชีระนันทน์ (การออกแบบผังเมือง) |
![]() |
๑.๔ นายบุญช่วย หิรัญวิทย์ (ประณีตศิลป์) |
![]() |
๑.๕ นายปัญญา วิจินธนสาร (จิตรกรรม) |
๒. สาขาวรรณศิลป์ จำนวน ๑ คน ได้แก่ |
|
![]() |
๒.๑ นางชมัยภร บางคมบาง |
๓. สาขาศิลปะการแสดง จำนวน ๖ คน ได้แก่ |
|
![]() |
๓.๑ นายณรงค์ จันทร์พุ่ม (หนังตะลุง ) |
![]() |
๓.๒ นางดุษฎี บุญทัศนกุล (ดนตรีสากล) |
![]() |
๓.๓ นายพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา (ดนตรีไทยลูกทุ่ง) |
![]() |
๓.๔ นางภัทราวดี มีชูธน (ละครเวทีและภาพยนตร์) |
![]() |
๓.๕ นายสะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ (โทรทัศน์และภาพยนตร์) |
![]() |
๓.๖ นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ (ดนตรีไทย) |
สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วย ๓ หลักเกณฑ์ใหญ่ ดังนี้ เกณฑ์ที่ ๑. คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ ซึ่งมี ๖ ประการ ได้แก่ เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันประกาศยกย่อง / เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะในสาขานั้น / เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะในสาขาที่ได้รับการประกาศยกย่อง / เป็นผู้ผดุง ถ่ายทอด เผยแพร่ หรือเป็นต้นแบบศิลปะในสาขาที่ได้รับการประกาศยกย่อง / เป็นผู้มีคุณธรรม ทุ่มเท และเสียสละเพื่องานศิลปะ / และเป็นผู้มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
ผลงานต้องสื่อให้เห็นถึงคุณค่าในความดี ความจริง ความงาม อารมณ์ และคุณค่าทางจิตวิญญาณ แสดงออกถึงแนวคิด สร้างพลังความรู้และพัฒนาสติปัญญาแก่มนุษยชาติ ก่อให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ และส่งเสริมจินตนาการ และเป็นผลงานสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์ มีทักษะสูงส่ง มีกลวิธีเชิงสร้างสรรค์ ไม่แสดงเจตนาหรือจงใจคัดลอกหรือเลียนแบบผลงานของผู้อื่นทั้งเปิดเผยและแอบแฝง
ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นศิลปินแห่งชาติ จะต้องมีการเผยแพร่ผลงานและได้รับการยอมรับ คุณค่าในผลงาน ดังนี้ เป็นผลงานที่ได้รับการจัดแสดง ถ่ายทอดหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐาน อ้างอิง โดยเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด พัฒนาการทางงานศิลปะอย่างเด่นชัด และเป็นผลงานได้รับรางวัล หรือเกียรติคุณระดับภูมิภาค ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ
๑. สาขาทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา แบ่งเป็น วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ วิจิตรศิลป์ ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม และภาพถ่าย ส่วนประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ สถาปัตยกรรมแบบประเพณีและร่วมสมัย / มัณฑศิลป์ / การออกแบบผังเมือง / การออกแบบอุตสาหกรรม และประณีตศิลป์ เป็นต้น ๒. สาขาวรรณศิลป์ หมายถึง บทประพันธ์ที่แต่งอย่างมีศิลปะทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความรู้สึกสะเทือนใจ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและกลวิธีเสนอเรื่องที่น่าสนใจ ๓. สาขาศิลปะการแสดง หมายถึง ศิลปะที่มีการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งวิจิตรศิลป์ ประยุกต์ศิลป์ รวมทั้งศิลปะพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดง ดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้ ๓.๑ ดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย ๓.๒ ดนตรีสากลและนาฏศิลป์สากล ๓.๓ ภาพยนตร์และละคร
|