การทดสอบเชิงจิตวิทยาด้วยรอยหมึก - แบบทดสอบบุคคล Rorschach Technique
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 22.8K views



 Hermann Rorschach 01.jpg
Hermann Rorschach แฮร์มันน์ รอร์สชาค คือ จิตแพทย์ชาวสวิสส์


               Hermann Rorschach แฮร์มันน์ รอร์สชาค คือ จิตแพทย์ชาวสวิสส์ ฟรอยด์ ซึ่งผลงานอันโดดเด่นที่สร้างชื่อให้กับเขานั่นคือ การทดสอบเชิงจิตวิทยาด้วยรอยหมึก หรือ แต้มหมึกรอชแชช 
 

การทดสอบเชิงจิตวิทยาด้วยรอยหมึก Inkblot  Technique  - Rorschach  Technique  หรือแบบทดสอบบุคลิกภาพ Rorschach  Test

 
            เทคนิคหยดหมึกทำโดยให้บุคคลดูภาพหยดหมึกที่หยดบนกระดาษที่พับครึ่งแล้วคลายออก จะได้หยดหมึกบนกระดาษที่คล้ายกันทั้งสองข้าง เป็นภาพหมึกเลอะๆๆ มีหลายนัย  เห็นเป็นภาพอะไรก้อได้ขึ้นกับว่าจะคิดเชื่อมโยงกับอะไรในใจของผู้ถูกทดสอบ

 
            เทคนิคนี้ดำเนินการเป็นคนแรกโดยจิตแพทย์ชาวสวิส ชื่อ เฮอร์มานน์  รอร์สชาช (Hermann  Rorschach)  เกิดที่ซูริกเมื่อปี 1884  และเสียชีวิตเมื่ออายุเพียง  38 ปี      

 
             โดยเขานำเทคนิคนี้มาใช้ในการประกอบการวินิจฉัยโรคทางจิต เชื่อว่าได้รับแนวคิดมาจากบิดาของเขาซึ่งเป็นจิตรกร รอร์สชาช ได้เขียนตำราเทคนิคหยดหมึกไว้ ชื่อว่า Psycho  diagnostik โดยจัดเป็นตำราพื้นฐานให้นักจิตวิทยารุ่นหลัง พัฒนาเทคนิคให้สามารถทดสอบบุคลิกภาพได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากขึ้น และยังนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน
 

  เกร็ดความรู้ -- การประยุกต์เทคนิคหยดหมึกในภาพยนตร์เรื่อง บอดี้ศพ 19 

 
             ใครที่ได้ดูภาพยนตร์เรื่อง บอดี้ศพ 19 คงจะจำฉากหนึ่งที่เป็นฉากที่ ชลสิทธิ์ ตัวเอกของเรื่องต้องเข้ารับการรักษาโดยจิตแพทย์อุษา  เนื่องจากไม่สามารถนอนหลับได้ เพราะเห็นภาพหลอนของคนฆ่ากัน โดนจิตแพทย์ใช้วิธีทดสอบบุคลิกภาพ  เพื่อเปิดเผยสิงที่อยู่ในใจของผู้ถูกทดสอบ โดยการใดภาพของหยดหมึก แล้วตอบคำถามจากภาพที่เห็น การทดสอบนั้นเรียกว่า เทคนิคหยดหมึก  Inkblot  Technique หรือเรียกเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้คิดค้นว่า Rorschach  Technique  หรือแบบทดสอบบุคลิกภาพ Rorschach  Test      
 

เทคนิคหยดหมึก    

            ทำโดยให้บุคคลดูภาพหยดหมึกที่หยดบนกระดาษที่พับครึ่งแล้ว คลายออก จะได้หยดหมึกบนกระดาษที่คล้ายกันทั้งสองข้าง เป็นภาพหมึกเลอะๆๆ มีหลายนัย   

           ภาพหยดหมึกมาตราฐานมี 10 ภาพ พิมพ์ไว้บนกระดาษการ์ดแข็ง ขนาด 7x 9.5 นิ้ว เป็นภาพขาวดำ 5 ภาพ ที่เหลือเป็นภาพสี ซึ่งเป็นได้ทั้ง สองสีและสารพัดสี



 

ภาพและที่มาเรียบเรียงจาก : 
https://www.oknation.net/blog/print.php?id=153352 
https://webboard.edtguide.com/