อายัน - วิษุวัต กับกำเนิดฤดูกาล
ความเชื่อเดิมๆ
ฤดูร้อนหรือฤดูหนาวถูกกำหนดจากระยะห่างของโลกกับดวงอาทิตย์ เมื่อโลกเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ก็จะเกิดฤดูร้อน แต่เมื่อโลกเคลื่อนออกไกลจากดวงอาทิตย์ก็จะเกิดฤดูหนาว เป็นความเชื่อแต่ดั้งเดิมและได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง แสดงได้โดยภาพดังนี้
ระยะห่างมากและน้อยที่สุดของโลกกับดวงอาทิตย์ |
เนื่องจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกไม่ได้เป็นวงกลมสมมาตร และดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ตรงกลางของวงโคจร แต่เป็นวงกลมรีและดวงอาทิตย์อยู่เยื้องไปทางขวาจากจุดกึ่งกลางวงโคจร ดังนั้นจึงเกิดระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน
โดยในช่วงเดือนกรกฎาคมโลกจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด และในช่วงเดือนมกราคมโลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งตามความเชื่อข้างต้น ในเดือนมกราคมโลกต้องมีอุณหภูมิสูงกว่าในเดือนกรกฎาคม แต่ในความเป็นจริงเดือนมกราคมคือฤดูหนาวและเดือนกรกฎาคมคือฤดูร้อน ดังนั้นความเชื่อเรื่องระยะห่างจากดวงอาทิตย์เป็นตัวกำหนดฤดูกาลจึงไม่เป็น ความจริง
ความจริงเกี่ยวกับการกำเนิดฤดูกาล
สิ่งที่เป็นตัวกำหนดฤดูกาลนั้นแท้จริงแล้วเกิดจากการที่แกนโลกเอียงไปจากแนว ตั้งฉากเป็นมุม 23.5° (ซึ่งเอียงคงที่ตลอดปี) อธิบายได้จากภาพดังนี้

จากรูปข้างต้น แม้ซีกโลกด้านขวาจะหันเข้าหาดวงอาทิตย์ แต่เพราะแกนโลกเอียง ซีกโลกเหนือจึงเอนเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่ซีกโลกใต้เอียงออกจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นซีกโลกเหนือจึงเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จึงเป็นฤดูหนาว
จนกระทั่งอีก 6 เดือนต่อมาเมื่อโลกโคจรไปอยู่อีกด้านหนึ่งของวงโคจร ในขณะที่แกนโลกยังเอียงด้วยมุมเท่าเดิม ซีกโลกใต้จึงเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์และซีกโลกเหนือเอียงออกจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นซีกโลกใต้จะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว ดังในภาพข้างต้น
การเกิด 4 ฤดูกาลและการโคจรของโลกในรอบ 1 ปี
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศุนย์สูตร
ซีกโลกเหนือ : เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
เวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวัน
เหตุการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่า “วันราตรีเสมอภาค” ภาษาอังกฤษบางครั้งก็เรียกว่า Spring equinox หรือ March equinox ในประเทศจีน เรียกวันวสันตวิษุวัตว่า วันชุนเฟินหรือ วันชุงฮุง (春分) และมีประเพณีการตั้งไข่มากว่า 4,000 ปี
"ครีษม" แปลว่า ร้อน ส่วน "อายัน" แปลว่า มาถึง เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่ละติจูด 23.5 องศาเหนือ
ซีกโลกใต้ : วันแรกที่เข้าสู่ฤดูหนาว โดยมีกลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุด
ในวันนี้ เวลากลางวันยาวที่สุดในประเทศทางซีกโลกเหนือ โดยดวงอาทิตย์จะอยู่สูงเลยเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด และถ้าใครมีโอกาสมองขึ้นไปบนท้องฟ้าจะเห็นว่า พระจันทร์มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เพราะโคจรใกล้กับเส้นศูนย์สูตรนั่นเอง
ถ้านับตามเวลาในประเทศไทย คือ มีกลางวันยาวที่สุดในรอบปี 13 ชั่วโมง และกลางคืน 11 ชั่วโมง ขณะที่ประเทศ อื่นๆ ถ้ายิ่งห่างเส้นศูนย์สูตร กลางวันกลางคืนจะยิ่งแตกต่าง อย่างเช่น เกิดพระอาทิตย์เที่ยงคืนในแถบขั้วโลกเหนือ นอกจากนี้ ยังเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ยังขึ้นห่างจากทิศตะวันออกไปทางเหนือมากที่สุดในรอบปีด้วย
องค์การนาซ่า อธิบายว่า พระจันทร์กับพระอาทิตย์ก็เหมือนกับเด็กๆ ที่เล่นไม้กระดก เมื่ออีกฝ่ายขึ้นสูง อีกฝ่ายต้องลงต่ำ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นอยู่สูง พระจันทร์จึงลงมาต่ำใกล้เส้นศูนย์สูตร เราจึงเห็นพระจันทร์ดวงใหญ่กว่าปกติ ทั้งยังเป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุดทางซีกโลกเหนือ
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศูนย์สูตร
ซีกโลกเหนือ : วันแรกในฤดูใบไม้ร่วง
ซีกโลกใต้ : วันแรกที่เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
เวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวัน
โดยเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่ละติจูด 23.5 องศาใต้

ซีกโลกเหนือ : วันแรกในฤดูหนาว โดยมีช่วงเวลากลางวันยาวที่สุด กับกลางคืนสั้นที่สุดในรอบปี
ซีกโลกใต้ : วันแรกที่เข้าสู่ฤดูร้อน โดยมีกลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุด ชาวบ้านเรียกกันว่า ตะวันอ้อมข้าว นั่นเอง

ชาวขอมที่สร้างปราสาทภูเพ็กรู้จักปรากฏการณ์ “เหมายัน” หรือไม่ ?
คำตอบ รู้จักดีครับ ดังตัวอย่างที่ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 พวกเขารู้จักปรากฏการณ์ดาราศาสตร์อย่างดี ทั้ง “วิษุวัต ครีษมายัน และเหมายัน” หากท่านที่สนใจมีโอกาศไปชมปราสาทนครวัด ตรงกับวันที่ 21 – 22 ธันวาคม ลองไปเดินดูระเบียงด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ในตอนพระอาทิตย์กำลังจะตก จะเห็นแสงอาทิตย์ส่องเข้ามายังภาพสลักเหตุการณ์ตอนที่ “บีสม่า” นักรบมือหนึ่งในสงคราม “มหาภารตะ” ยอมตายตามที่ได้ลั่นวาจาไว้ว่า ขอตายเมื่อถึงปรากฏการณ์ “เหมายัน” โดยนอนตายบนห่าธนูของพระอรชุน
ปราสาทภูเพ็ก จังหวัดสกลนคร เป็นโบราณสถานสมัยขอมเรืองอำนาจแห่งเดียวที่อยู่บนยอดภูเขาสูง ประมาณ 520 เมตร จากระดับน้ำทะเล ปราสาทขอมอื่นๆ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทตาเมือนธม ล้วนมีความสูงแค่ 300 เมตร ทั้งนี้ไม่นับปราสาทพระวิหารซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตกัมพูชา มีความสูงประมาณ 600 เมตร
- วิกิพีเดีย
https://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539364345
-https://teen.mthai.com/variety/60143.html
-https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=12-2010&date=23&group=94&gblog=77
-https://board.postjung.com/647906.html