คำสันธาน
คำสันธาน เป็นคำที่ใช้ต่อ หรือเชื่อมคำ ข้อความ หรือประโยคให้ต่อเนื่องกัน
ลักษณะการต่อหรือเชื่อมมี ดังนี้
๑. ต่อคำ ต่อความ หรือประโยคที่เวลาต่อเนื่อง เป็นเหตุเป็นผลกัน หรือไปในทางเดียวกันไม่ขัดแย้งกัน
ตัวอย่าง
- พอถึงบ้านฝนก็ตก
- เขาจองบัตรล่วงหน้าจึงได้ที่นั่งในร่ม
- พอจับหนูเสร็จฝ้ายก็วิ่งกลับมานั่งเฝ้านก
- เขาไม่คบเพื่อนเพราะไม่ชอบเกี่ยวข้องกับใคร
- น้อยกับอ้อยรับประทานอาหารด้วยกัน
๒. ต่อคำ ต่อความ หรือประโยคที่ข้อความขัดแย้งกัน
ตัวอย่าง
- พ่ออยากจะไปงานเลี้ยงแต่แม่ไม่ให้ไป
- เขานั่งอ่านหนังสือแทนที่จะไปเล่นกับเพื่อน
- ทุกคนอ่านหนังสือนอกจากเธอ
- ต๋อยทำแบบฝึกหัดแต่ต้อยนั่งหลับ
๓. ต่อคำ ต่อความ หรือประโยคที่ข้อความให้เลือกเอง คาดคะเน หรือแบ่งรับแบ่งสู้
ตัวอย่าง
- เธอต้องการอันไหน ใหญ่หรือเล็ก
- ถ้าเธอไม่ไป ฉันก็ไม่ไป
๔. ต่อความให้ได้เนื้อความบริบูรณ์ และได้ความไพเราะ
ตัวอย่าง
- อนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าศาสนามีความสำคัญแก่คนเราไม่น้อย
- ข่าวที่ปรากฏสำหรับเรื่องนี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนข่าวคืบหน้าจะได้นำเสนอต่อไป
ที่มา : https://www.kr.ac.th/ebook2/surang/05.html