อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า " เหมือน "
เช่น ดุุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง
เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ
( ระวังนะคะ ไม่ใช่ว่าเห็นคำเหล่านี้แล้วรีบตัดสินว่าเป็นอุปมา .... ต้องดูด้วยนะคะว่ามีความเปรียบหรือไม่ ถ้ามีความเปรียบละก็ o.K. ค่ะ )
ตัวอย่างเช่น
- ปัญญาประดุจดังอาวุธ
- ไพเราะกังวานปานเสียงนกร้อง
- ท่าทางหล่อนราวกับนางพญา
- จมูกเหมือนลูกชมพู่ ปากเธอเหมือนกระจับอ่อนๆ |
ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ ฟันเรียงสลอนเหมือนข้าวโพดพันธุ์ดี |
- ตาเหมือนตามฤคมาศ ประดุจแก้วเกาทัณฑ์ |
พิศคิ้วพระลอราช ก่งนา |
- สูงระหงทรงเพรียวเรียวลูด พิศแต่หัวจรดเท้าขาวแต่ตา คิ้วก่งดังก่งเขาดีดฝ้าย หูกลวงดวงพักตร์หักงอ สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม |
งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า สองแก้มกัลยาดังลูกยอ จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ . ลำคอโตตันสั้นกลม โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม มันน่าเชยน่าชมนางเทวี |