กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ Adverb of Frequency
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 25.2K views



กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ Adverb of Frequency

Adverb of Frequency มีหน้าที่บอกถึงความถี่ของการกระทำหรือเหตุการณ์ใดๆ โดยเป็นอีก 1 เรื่องที่ข้อสอบ TOEIC ชอบออกสอบ ซึ่งถ้าเราจำหลักการใช้ (ซึ่งง่ายมาก) ของมันได้ รับรองว่าจะทำข้อสอบที่ถามถึงไวยากรณ์ตัวนี้ได้อย่างถูกต้องแน่นอน

เราแบ่ง adverb of frequency ออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งแตกต่างกันที่ตำแหน่งของการวางมันในประโยค

1) Adverb of Definite Frequency (แบบที่บอกความถี่ชัดเจน)

กลุ่มแรกนี้จะบอกเราได้ชัดๆ เลยว่าการกระทำหรือเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนถี่แค่ไหน เช่น

hourly (ทุกชั่วโมง), daily (ทุกวัน), monthly (ทุกเดือน) และ yearly หรือ annually (ทุกปี)

once a month (เดือนละครั้ง), every month (ทุกเดือน), และ every other month (ทุกๆ 2 เดือน) หรือจะเปลี่ยนจาก month เป็น day หรือ year ก็ได้

และคำอื่นๆ ที่บอกได้ชัดเจนว่าความถี่ของการกระทำเป็นอย่างไร

ตำแหน่งที่อยู่ของกลุ่มนี้คือต้นประโยคหรือท้ายประโยคเท่านั้น จะไม่แทรกอยู่ในหมู่คำกริยา เช่น

Most companies pay taxes yearly.

Every day, more than two thousand people use this road.

2) Adverb of Infinite Frequency (แบบที่บอกความถี่ไม่ชัดเจน)

กลุ่มนี้สามารถบอกเราได้แค่คร่าวๆ ว่าเหตุการณ์หรือการกระทำใดๆ เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน เช่น

always (เป็นประจำ), usually (โดยปกติ), often (บ่อยๆ), very often (บ่อยมากๆ), rarely (แทบจะไม่), sometimes (บางครั้ง), seldom (นานๆ ครั้ง), once in a while (นานๆ ครั้ง), repeatedly (ซ้ำๆ), hardly (ไม่ค่อย), occasionally (เป็นบางครั้งบางคราว)

ตำแหน่งที่อยู่ของกลุ่มนี้จะแตกต่างออกไปจากกลุ่มแรก โดยมักจะแทรกตัวอยู่ในหมู่คำกริยา นั่นคือ

1) อยู่หน้ากริยาหลัก (ยกเว้นเมื่อกริยาหลักคือ verb to be) เช่น

We usually go shopping on Saturday.

I often ask people for help.

2) หากกริยาหลักคือ verb to be จะวางอยู่หลัง verb to be

She is always late.

The manager is usually the first person to arrive.

3) หากในประโยคมีกริยาช่วย (have, will, must, might, could, would, can เป็นต้น) จะอยู่ระหว่างกริยาหลักกับกริยาช่วย

We could occasionally be heard laughing.

They might never see each other again.

ในข้อสอบ TOEIC นั้น นานๆ ครั้งจะถามเกี่ยวกับความหมายของแต่ละคำ แต่ส่วนใหญ่จะถามถึงเรื่องตำแหน่งการวาง adverb of frequency เท่านั้นเอง เช่น

ตัวอย่างข้อสอบที่เจอใน TOEIC

1) You should check your message _____.

(A) usually

(B) twice a day

(C) seldom

(D) rarely

จะเห็นได้ว่าช่องว่างที่เว้นให้เติมนั้นอยู่ท้ายประโยค เราจึงเติมได้เฉพาะแบบชัดเจนเท่านั้น ซึ่งมีอยู่ตัวเลือกเดียวคือข้อ (B) นั่นเอง

2) A customer service representative ______ at our catalogue number.

(A) always is available

(B) is always available

(C) is available always

(D) being always available

adverb of frequency ที่ให้มาในตัวเลือกเป็นแบบไม่ชัดเจน กริยาหลักของประโยคคือ is ดังนั้น always จะต้องตามหลัง verb to be คำตอบคือข้อ (B) นั่นเอง ส่วนข้อ (D) ถึงแม้ always จะตามหลัง verb to be แต่ข้อนี้ใช้ being ไม่ได้เพราะว่ากริยารูปเติม -ing ต้องตามหลัง verb to be อีกต่อหนึ่ง

 

PornpanAcademy
www.pornpanacademy.com