ประเภทของคำนามและคำลักษณะนาม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 190.6K views



ใบความรู้เรื่อง คำนาม

คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม

คำนาม แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

    สามายนาม หรือ คำนามไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อทั่วๆไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น พ่อ บ้าน ปู รถ ทหาร ถนน ลม

    วิสามยนาม หรือ คำนามชี้เฉพาะเจาะจง เป็นคำเรียกชื่อที่เจาะจงว่าเป็นคนใด สิ่งใด สถานที่ใด เช่น  ด.ช.ทัศนา จ.จันทบุรี น้ำตกไทรโยก โรงเรียนอัจริยะวิทย์

    สมุหนาม หรือ คำนามบอกหมวดหมู่ เป็นคำที่ใช้เติมหน้านามเพื่อบอกหมวดหมู่ของคำนาม เช่น โขลงช้าง ฝูงนก กองหนังสือ คณะลูกเสือ

    อาการนาม หรือ คำนามบอกอาการ เป็นคำนามที่สร้างจากคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ โดยเติมคำว่า ความ หรือ การ ข้างหน้า เช่น ความรัก ความร้อน ความดี การพูด การเล่น การอ่าน

    ลักษณะนาม หรือ  นามบอกลักษณะ เป็นคำบอกลักษณะของบุคคล สัตว์ หรือ สิ่งต่างๆ มักอยู่หลังคำบอกจำนวน เช่น

คำนามทั่วไป

ลักษณะนาม

ภิกษุ สามเณร

ยักษ์ ฤๅษี ปีศาจ

ปี่ ขลุ่ย

สมุด หนังสือ เกวียน มีด

ประตู หน้าต่าง กระจก

รถ ช้อน ส้อม

แห อวน สวิง

กระจาด กระเป๋า กระสอบ

บ้าน ตึก อาคาร โกดัง

กระดาษ กระดาน กระเบื้อง

 

 

*ถ้าความหรือการนำหน้าคำนามทั่วไป ไม่จัดว่าเป็นอาการนาม แต่จะจัดเป็น สามายนามหรือวิสามายนาม เช่น ความ อาญา ความแพ่ง การประปา การเงิน การแพทย์*

รูป

ตน

เลา

เล่ม

บาน

คัน

ปาก

ลูก ใบ

หลัง

แผ่น

 

*สมุหนามจะคล้ายกับลักษณะนาม แต่

สมุหนาม จะวางอยู่หน้าคำนามทั่วไป เช่น ฝูงนก โขลงช้าง

ส่วนลักษณะนามจะวางอยู่หลังจำนวนนับหรือนามทั่วไป เช่น ช้าง 1 โขลง นก 1 ฝูง