คำที่มาจากภาษาเขมร
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 577.3K views



ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาเขมร

ภาษาเขมร มีลักษณะควรสังเกตดังนี้

๑.เป็นคำ ๒ พยางค์ พยางค์ต้นจะเป็น บัง บัณ บัญ บัน บำ บรร เช่น บรรทัด บรรจบ บำเพ็ญ บำรุง บันทึก บันเทิง เป็นต้น

๒.คำที่มีเสียงควบกล้ำและอักษรนำ เช่น

โตนด จมูก ไถง (ดวงอาทิตย์) เขนย

ขนาด ไพร (ป่า) ฉนำ (ปี) เขลา

ตลบ ขจี ไผท กระบือ

๓.คำภาษาเขมรมักใช้ตัว จ ร ล ญ เป็นตัวสะกด เช่น

เผด็จ เสด็จ อาจ

อำนาจ สำรวจ ขจร

เดิร จร ถวิล

ตำบล เมิล(ดู) เจริญ

เชิญ ชาญ

๔.คำ ๒ พยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า บรร บัง บัน กำ คำ ชำ ดำ ตำ ทำ สำ มักเป็นภาษาเขมรเช่น

กำเนิด คำนับ ชำรุด บรรทม บรรจุ บังเอิญ บังคม บังอาจ

ดำริ ตำรวจ ทำเนียบ บันทึก กำจัด ทำนูล(บอก)

สำเร็จ สำราญ สำคัญ เป็นต้น

๕.คำเขมรที่ใช้เป็นราชาศัพท์ในภาษาไทยมีมาก เช่น สรง เสวย โปรด บรรทม เสด็จ ฯลฯ

๖.คำเขมรที่เป็นคำโดด มีใช้ในภาษาไทยจนคิดว่าเป็นคำไทยเช่น

แข(ดวงจันทร์) มาน(มี)

อวย(ให้) บาย(ข้าว)

เลิก(ยก)

๗.คำเขมรมักไม่ใช้รูปวรรณยุกต์ยกเว้นบางคำ เช่น เสน่ง(เขาสัตว์) เขม่า

๘.คำที่มี ข และ ผ นำไม่ประวิสรรชนีย์ มักมาจากภาษาเขมร เช่น ขจี ขจัด เผอิญ ผสมผสาน ฯลฯ
หลักสังเกตคำเขมร

คำเขมรส่วนมาก เรานำมาใช้โดยเปลี่ยนรูปและเสียงใหม่ตามความถนัด ซึ่งเป็นเหตุให้รูปผิดไปจากคำเดิม และทำให้เกิดการแผลงอักษรขึ้น เช่น

คำเขมร อ่านว่า ไทยใช้ แปลว่า

กรุบี กรอ – เบย กระบือ ควาย

เกลีร เกลอ เกลอ เพื่อน

เฌอ เฌอ เฌอ ต้นไม้

ตรกง ตรอ – กอง ตระกอง กอด

เขมาจ ขม้อจ โขมด ผี

ผดาจ ผดั้จ เผด็จ ตัด, ขจัด

เป็นต้น

วิธีที่เรานำคำเขมรมาใช้

๑.ใช้ตามรูปเดิม เช่น คำว่า

กังวล(ห่วงใย) แข(ดวงเดือน) ถกล(ก่อสร้าง)

ขจร(ฟุ้งไป) ฉนำ(ปี) ขจาย(ฟุ้งไป)

ฉงาย(ไกล, ห่าง)

๒.เปลี่ยนตัวสะกดให้ผิดไปจากเดิม เช่น คำว่า

กราล กราน (ปู, ลาด)

เผอิล เผอิญ (จำเพาะเป็น, หากเป็น)

สำราล สำราญ (สบายใจ, เบาใจ, เย็นใจ)

ขนล ขนน (หมอนอิง)

ลงาจ ละงาด (เย็น, เวลาเย็น)

๓.เปลี่ยนรูปและเสียงไปจากเดิม เช่น คำว่า

กรสวง กระทรวง (ราชการแผนกส่วนใหญ่)

กัญฌูส กระฉูด (พุ่งออก)

ครัวส กรวด (ก้อนหินเล็กๆ)

กรุ กรม (ระทม, กลัด, ลำบาก)

ถ้าถูกใจอย่าลืมโหวตให้ด้วยนะคะ