วันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 51.9K views



วันมหาปวารณา หรือ วันออกพรรษา
 

 ภาพ : https://www.mahamongkol.com/content.php?id=319


              วันมหาปวารณา หรือที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นวันออกพรรษา คือ วันที่พระภิกษุสงฆ์สามารถว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยความเมตตา ในเรื่องของความประพฤติเพื่อให้ศีลบริสุทธิ์ และเกิดความสามัคคีกันในหมู่สงฆ์ นอกจากนี้ยังเป็นวันครบกำหนดทางพระวินัยที่พระภิกษุอยู่จำพรรษาประจำที่ตลอดฤดูฝน ๓ เดือน


เหตุผลที่ให้พระภิกษุสงฆ์ทำปวารณา

              มีสาเหตุมาจากเมื่อสมัยพุทธกาลที่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงเสด็จมาประทับ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล รวมถึงทรงจำพรรษาที่วัดเชตวันมหาวิหารแห่งนั้นด้วย ส่วนพระภิกษุสาวกต่างแยกย้ายเข้าจำพรรษา ณ วัดรอบๆ กรุงสาวัตถี

              ภิกษุเหล่านั้นเมื่อต้องมาอยู่รวมกันในระหว่างเข้าพรรษา ก็เกรงว่าอาจเกิดขัดแย้งทะเลาะวิวาทกันได้ จนไม่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุข ภิกษุเหล่านั้นจึงตกลงที่จะไม่พูดกันตลอดเข้าพรรษา เมื่อถึงวันออกพรรษาภิกษุเหล่านั้นจึงนำความไปกราบทูลให้พระพุทธเจ้าได้ทรงทราบ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบทรงตำหนิภิกษุเหล่านั้นว่าอยู่กันเหมือนฝูงปศุสัตว์ พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตให้พูดตักเตือน พร้อมทั้งกำหนดเป็นพระวินัยว่า

    "อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง วุตถานัง ภิกขูนัง ตีหิ ฐาเนหิ ปะวาเรตุง ทิฏเฐนะวา ปะริสังกายะ วา
 ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะ
คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี"

 

 



ในการปวารณานั้น มีสาระสำคัญที่พุทธศาสนิกชนสามารถนำมาปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน

                การสร้างระเบียบวินัยเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน เพราะการอยู่ร่วมกันนั้นย่อมต้องมีระเบียบวินัยที่เอื้อประโยชน์ให้เกิดกิจกรรมทั้งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม การปวารณาของพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการสร้างระเบียบวินัยเพื่อการอยู่ร่วมกัน

 

               การยอมรับการว่ากล่าวตักเตือนจากคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยไม่ถือว่าเป็นการล่วงเกินดูหมิ่น จึงเป็นพฤติกรรมที่ดีและน่ายกย่อง ควรที่เราจะยึดถือไว้เป็นแบบอย่างในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในการทำงาน ถ้าเรายอมรับคำว่ากล่าวตักเตือนจากเพื่อนร่วมงาน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น การทำงานก็จะไม่มีอุปสรรคและก่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นใน
 

 


ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาและนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมา  

 

                การตักบาตรเทโว ซึ่งจะตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือหลังจากออกพรรษาแล้ว ๑ วัน ประเพณีการตักบาตรเทโวในสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร

 

                 การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากชั้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวสืบทอดกันมาถึงทุกวันนี้

 

                  สำหรับของที่นำมาใส่บาตรอาจแตกต่างกันบ้าง บางแห่งนิยมทำข้าวต้มลูกโยน ซึ่งทำจากข้าวเหนียว ห่อด้วยใบมะพร้าว ไว้หางยาว เพื่อสะดวกในการโยนใส่บาตร

 

                  พิธีทอดกฐิน ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ ๓๐ รูป ชาวเมืองปาฐา ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกในแคว้นโกศลเดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต รษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร

 

                 การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากชั้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนะองค์ตรัสถามจึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระบรมศาสดาดำริถึงความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้น จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ สำหรับในเมืองได้ผ่านวันออกพรรษาแล้ว นางวิสาขาได้ทราบพุทธานุญาตจึงได้เป็นผู้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก

 

                 พิธีทอดผ้าป่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าที่ห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวรสบง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างยุ่งยากหรือเป็นงานใหญ่

 

                   ครั้นชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์จึงนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบ ก็นำเอามาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าก็มีความเป็นมาดังที่กล่าวมา

 

                สำหรับเมืองไทยพิธีทอดผ้าป่าได้รื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ด้วยทรงมีพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนาไว้

 

                ประเพณีการเทศน์มหาชาติ เป็นการทำบุญที่สำคัญและมีความหมายที่สุดในสังคมไทย เนื่องจากเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่สืบทอดมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เพราะความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติแล้วจะได้กุศลแรง และหากตั้งใจฟังให้จบในวันเดียวจะได้เกิดร่วมและพบพระศรีอริยเมตตรัยโพธิสัตว์ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

 

                 ในท้องถิ่นโดยในภาคอีสาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ของปีจะจัดขึ้นในราวเดือน ๔ เรียกว่า บุญพระเวส ทั้งยังมีประเพณีเกี่ยวเนื่องกับเทศกาลนี้ด้วย เช่น พิธีแห่พระเวสเข้าเมืองและพิธีแห่ข้าวพันก้อนเพื่อบูชาคาถาพัน ทางภาคเหนือก็ให้ความสำคัญกับการเทศน์มหาชาติมาก เห็นได้จากมีประเพณีสร้างหลาบเงินหรือแผ่นเงินแกะลาย แขวนห้อยรอบฉัตร ถวายเป็นเครื่องขันธ์ตั้งธรรมหลวงในงาน ทางภาคใต้นั้นประเพณีเทศน์มหาชาติได้คลี่คลายไปเป็นประเพณีสวดด้าน ซึ่งคล้ายคลึงกับการสวดโอ้เอ้วิหารรายอย่างที่กรุงเทพฯ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม




ที่มา : https://www.m-culture.go.th/ckfinder/userfiles/files/people/Day/0002.pdf