วิธีรับมือกับภัยพิบัติ - แผ่นดินไหวและสึนามิ
โดย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม
ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
• ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
• ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
• ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
• ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
• อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
• ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
• ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง
• สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
• อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
• ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
• หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
• ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
• อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
• ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
• ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
• หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
ในอาคาร
-
ใช้ช่องประตูเป็นที่หลบภัยถ้าอยู่ใกล้ อยู่ชิดผนังด้านในอาคาร
-
ให้อยู่ในอาคารจนกว่าการสั่นสะเทือนหยุด จึงออกไปภายนอกบริเวณที่ปลอดภัย อันตรายส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งของหล่นใส่
-
คาดว่าหรือตระหนักเสมอว่า ไฟฟ้าอาจดับ หรือสปริงเกอร์อาจท างาน หรือมีเสียงเตือนไฟไหม้
-
อย่าใช้ลิฟต์ ขณะมีการสั่นไหว ถ้าอยู่ในลิฟต์ กดทุกปุ่มและออกจากลิฟต์ทันที
-
อย่ากรูกันวิ่งออกนอกอาคาร
-
เมื่อการสั่นไหวหยุดแล้ว ถ้าเกิดไฟไหม้ช่วงแรก ให้รีบดับไฟ
-
ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายของอาคาร หากปลอดภัยสามารถกลับเข้าในอาคารได้ หากเป็นแผ่นดินไหวใหญ่อาจเกิดแผ่นดินไหวตามมา
After Shock หลังแผ่นดินไหว
• เตรียมรับมือ Aftershocks ซึ่งทั่วไปมีความรุนแรงน้อยกว่า แต่ก็อาจสร้างความเสียหายเพิ่มเติม เปิดวิทยุ โทรทัศน์ฟังข่าวเพิ่มเติม
• เปิดตู้ด้วยความระมัดระวัง ระวังสารเคมีที่ตกหล่น และสายไฟฟ้าช ารุด
• ใส่รองเท้า หลีกเลี่ยงบริเวณสิ่งก่อสร้างที่เสียหาย หรือพังทลายยกเว้นได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่
• แจ้งเจ้าหน้าที่ถึงจ านวนและต าแหน่งที่มีผู้ติดอยู่ในอาคาร หากทราบ
• หากอยู่ชายฝั่งใกล้ปากแม่น้ำ ให้รีบขึ้นที่สูง บริเวณที่ปลอดภัย โดยเฉพาะบริเวณที่เคยมีประวัติการเกิดอันตรายจากสึนามิ
• อย่าเชื่อข่าวลือ และอย่าแพร่ข่าวลือ
หลังเกิดแผ่นดินไหว
• ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
• ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
• ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
• ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
• ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
• ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
• เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
• สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
• อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
• อย่าแพร่ข่าวลือ
ข้อปฏิบัติกรณีเกิดภัยสึนามิ
-
หากท่านอยู่ในบ้านและได้ยินประกาศเตือนภัยคลื่นสึนามิ ท่านต้องแจ้งให้สมาชิกในครอบครัวทุกท่านทราบว่ามีการเตือนภัยเกิดขึ้นแล้ว
-
ถ้าบ้านท่านอยู่ใน "เขตที่ต้องอพยพเมื่อเกิดสึนามิ" ครอบครัวของท่านต้องอพยพออกจากบ้านทันที โดยเคลื่อนย้ายด้วยความสงบ สุขุม และไม่เสี่ยงอันตราย รีบตรงไปยังสถานที่ปลอดภัย หรือ ออกไปอยู่นอกเขตที่ต้องอพยพ นอกจากนี้ให้ปฏิบัติตามค าแนะน าของหน่วยฉุกเฉินในท้องถิ่นหรือผู้มีอ านาจในการรักษากฏหมาย
-
หากท่านอยู่ในโรงเรียนและได้ยินประกาศเตือนภัยคลื่นสึนามิ ท่านควรปฏิบัติตามค าแนะน าของครูหรือเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน
-
หากท่านอยู่ที่ชายหาดหรือใกล้มหาสมุทรและท่านรู้สึกว่าแผ่นดินสั่นสะเทือนให้ท่านย้ายไปยังพื้นที่สูงกว่าทันที โดยไม่ต้องรอเสียงประกาศเตือนภัย
-
หากท่านอยู่ใกล้แม่น้ำหรือลำธารที่ไหลลงมหาสมุทร ท่านต้องย้ายขึ้นที่สูง
-
เช่นเดียวกันคลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวบริเวณใกล้ๆ สามารถเข้าถล่มบางพื้นที่ได้ก่อนที่จะมีการประกาศเตือน
-
คลื่นสึนามิในสถานที่แห่งหนึ่งอาจไม่เป็นอันตราย แต่อีกแห่งอาจเป็นอันตรายขึ้นกับลักษณะของภูมิประเทศ และต้องตระหนักว่าคลื่นสึนามิมีหลายระลอก ซึ่งอาจกินเวลาหลายชั่วโมงกว่าจะหยุด รอฟังประกาศจากทางราชการ
-
ต้องทราบตำแหน่งที่ปลอดภัยจากสึนามิล่วงหน้า วางแผนก่อนว่าจะอพยพหรือวิ่งไปสถานที่ใดที่ปลอดภัยที่ใกล้ที่สุด
-
ซักซ้อมตามแผนอพยพของหน่วยราชการ
-
เตรียมวิธีการติดต่อ ตรวจสอบกับทางหน่วยราชการในกรณีฉุกเฉิน
-
ชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างแนวป้องกันคลื่นซึ่งอาจเป็นโครงสร้างทางวิศวกรรม หรือโดยธรรมชาติเช่น ปลูกป่าชายเลนเป็นต้น
เรียบเรียงจาก
- https://202.129.59.73/nana/160354/tsunami.htm
- https://www.seismology.tmd.go.th/file_downloads/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%20%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%20%E0%B8%AA%E0%B8%B6%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4.pdf